การเตรียมเคลือบที่มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ํา สําหรับเนื้อดินภาชนะเซรามิกหุงต้มประเภทสัมผัสเปลวไฟโดยตรง

ผู้แต่ง

  • ปราณี จันทร์ลา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • กรองกาญจน์ ศิรินุกุลวัฒนา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v10.2021.155

คำสำคัญ:

ภาชนะเซรามิกหุงต้ม, เคลือบการขยายตัวทางความร้อนต่ำ, เคลือบเซรามิก, เนื้อดินเซรามิก

บทคัดย่อ

ภาชนะเซรามิกหุงต้มประเภทสัมผัสเปลวไฟโดยตรง มีสมบัติค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำ มีความ ต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันได้ดี มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ และมีค่าความแข็งแรงสูงสามารถนํามาใช้เป็น ภาชนะสําหรับปรุงอาหารบนเตาแก็สโดยไม่เกิดแตกร้าว ดังนั้นเคลือบสําหรับภาชนะเซรามิกหุงต้มประเภทนี้จะต้องมีค่า สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำกว่าหรือเท่ากับเนื้อดิน และต้องมีความเข้ากันได้ดีระหว่างวัสดุเนื้อพื้นและผิวเคลือบ ในงานวิจัยนี้ทดลองเตรียมสูตรเคลือบสําหรับเนื้อดินภาชนะเซรามิกหุงต้มคอมโพสิทคอร์เดียไรต์/สปอดูมีน ค่าสัมประสิทธิ์การ ขยายตัวทางความร้อนต่ำ 2.83x10-6 ต่อองศาเซลเซียส โดยคํานวณสูตรจากระบบ Li2O-CaO-MgO-AL2O3-SIO2 และแปรค่า อัตราส่วนจํานวนโมลของอะลูมินา ตั้งแต่ 0.483-0.653 และแปรค่าอัตราส่วนจํานวนโมลของซิลิกา ตั้งแต่ 4.308-4.508 โดย เตรียมจากวัตถุดิบตั้งต้นจาก แร่เพทาไลท์ แคลเซียมซิลิเกต ทัลค์ อะลูมินา ซิลิกา และเซอร์โคเนียมซิลิเกต บดผสมแบบเปียก ด้วยหม้อบด เคลือบชิ้นทดสอบ เผาที่อุณหภูมิ 1275 องศาเซลเซียส ยืนไฟ 1 ชั่วโมง จากนั้นนํามาวิเคราะห์องค์ประกอบทาง เฟสด้วยเครื่อง XRD หาค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนด้วยเครื่องไดลาโตมิเตอร์ ทดสอบความทนทานต่อการราน ตัวของเคลือบตามมาตรฐาน ASTM C424-80 ด้วยเครื่องหม้อนึ่งอัดแรงดันที่ความดัน 250 psi การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค และธาตุองค์ประกอบเชิงปริมาณทําโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเทคนิคเอนเนอร์จีดิสเพอร์ซีฟสเปกโทรสโกปีเอกซเรย์ ตามลําดับ ผลการทดลองพบเฟสหลัก 2 เฟส คือ เพทาไลท์และเซอร์คอน ที่มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำ ผิวเคลือบมีความเรียบเนียนและปราศจากการรานตัวของผิวเคลือบ

References

ปราณี จันทร์ลา, ความต้านทานการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันและสมบัติหลังเผาของวัสดุเชิง ประกอบสปอดูมีน/คอร์เดียไรต์, วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554

วรรณา ต.แสงจันทร์, ลดา พันธ์สุขุมธนา และปราณีจันทร์ลา. การพัฒนาภาชนะเซรามิกหุงต้มเนื้อ คอร์เดียไรต์, วารสารผลงานวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2555, 1(1), มกราคม - มิถุนายน, 59-71.

SAENGCHANTARA, WANNA T., LADA PUNSUKUMTANA and PRANEE JUNLAR. Development of low thermal expansion glaze cordierite body. Suranaree Journal of Science and Technology. 2013, 21(1), 21-25.

ปราณี จันทร์ลา, การเตรียมและลักษณะสมบัติของวัสดุเชิงประกอบคอร์เดียไรต์/สปอดูมีน/มุลไลต์สําหรับ ภาชนะเซรามิก ประเภทสัมผัสเปลวไฟโดยตรง วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, ภาควิชา วัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562

OLIVEIRA, F.A. COSTA, J.A. FRANCO, J. CRUZ FERNANDES and D. DIAS. Newly developed Cordierite-Zircon composites. Bristish Ceramic Transactions. 2020, 101(1), 14-21.

PARMALEE, C.W. Ceramic Glazes. 3rd edition, Boston : Cahners Books, 1973, pp. 250-251.

TECHNO FILE. Flameware [online]. 2011. [viewed 3 June 2020] Available from: https://ceramicartsnetwork.org/wp-content/uploads/2011/12/flamewaremay2011cmtechnofile.pdf.

CHECHOPOULOS, G. J. A discussion of flameware. Ceramics Technical. 2011, 32, 12-18.

nõuv avuôunari. Šiuszãngnysuurudiatasoin monušau mawAUUnVinyivalumuuaSÚIL. 2554. [poulau]. [ă să ajun 14 Taunuu 2564 ]. Lõhna 971: http://www.thaiceramicsociety.com/ch heat.php.

FISHWICK, J.H. Applications of lithium in ceramics. Boston : Cahners Books, 1974, 156 p.

KAVANOVÁ, M., A. KLOUŽKOVÁ and J. KLOUŽEK. Characterization of the interaction between glazes and ceramic bodies. Ceramics - Silikáty. 2017, 61(3), 267-275.

KINGERY, W.D., H.K. BOWEN and D.R. UHLMANN. Introduction to Ceramic. 2 nd edition. New York : John Wiley & Sons, 1976, pp. 603-611.

NORTON, F.H. Fine ceramic: Technology and appications. New York: McGrew-Hill, 1974, pp. 287-289.

EPPLER, RICHARD A. and DOUGLAS R. EPPLER. Glazes and Glass Coatings. Ohio : The American Ceramic Society, 2000, pp. 25-29.

RHODES, DANIEL. Clay and glazes for the potter, 3d edition. Revised and expanded by Robin Hopper. Wisconsin : Krause publications, 2000, pp. 111-113.

EPPLER, RICHARD ANDREW and O'CONOR, EUGENE F. Composition and process for glazing ceramic ware. United states patent application 3871890. 1975-03-18.

ผลการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วย SEM

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-09-2022

How to Cite

จันทร์ลา ป., ศิรินุกุลวัฒนา ก., & วาสนาเพียรพงศ์ ธ. (2022). การเตรียมเคลือบที่มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ํา สําหรับเนื้อดินภาชนะเซรามิกหุงต้มประเภทสัมผัสเปลวไฟโดยตรง. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 10(10), 62–70. https://doi.org/10.60136/bas.v10.2021.155