เชิญชวนส่งบทความ

กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (Bulletin of Applied Sciences) ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจส่งผลงานทางวิชาการเพื่อนำเสนอและเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (Bulletin of Applied Sciences) โดยรับบทความวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาเคมี ฟิสิกส์เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วัสดุศาสตร์ มาตรวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์

วัตถุประสงค์ของวารสาร

  1. เพื่อเป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
  2. เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ การอ้างอิง และการประกอบกิจการภาคการผลิตและอุตสาหกรรม

กระบวนการพิจารณาบทความ

บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ในระหว่างรอพิจารณาจากวารสารอื่น โดยบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ (double-blind peer review)

ประเภทของผลงานทางวิชาการ :

  1. บทความวิจัย (Research article) หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตาม

    กระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา หรือผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์

  2. บทความวิชาการ (Academic article) หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลสรุป เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ ฐานข้อมูลออนไลน์ ประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางการแก้ไขมีลักษณะ ดังนี้
    • Literature review หรือ Review article เป็นบทความจากการทบทวนเอกสาร เรียบเรียงโดยมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบวรรณกรรมที่มีการดำเนินการมาแล้วจนถึงปัจจุบัน สังเคราะห์ให้เกิดความรู้ที่แสดงให้เห็นภาพของงานวิจัยในหัวข้อเรื่องที่ศึกษา 
    • Technical paper เป็นบทความนำเสนอกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบภาคสนาม รวมไปถึงเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ ๆ

องค์ประกอบบทความ
บทความวิจัย
(Research article) ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อ-สกุล ผู้นิพนธ์ พร้อมทั้งตำแหน่งทางวิชาการ (หากมี) และสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ e-mail address
  3. บทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไม่เกิน 15 บรรทัด หรือ 200 คำ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ  การวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ช่วงเวลาทำวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ระบุคำสำคัญ (Keywords) จำนวนไม่เกิน 5 คำต่อภาษา (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
  4. เนื้อหาของบทความประกอบด้วย
    • บทนำ (Introduction): กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและแนวคิด ขอบเขตการวิจัย สมมติฐานการวิจัย
    • วิธีการวิจัย (Experimental methods): กล่าวถึงวิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปี พ.ศ. ที่ทำการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล)
    • ผลและวิจารณ์ (Results and Discussion): กล่าวถึงผลการวิจัย อภิปรายผล
    • สรุป (Conclusion): กล่าวถึงสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
    • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): กล่าวถึงบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการวิจัย
    • เอกสารอ้างอิง (References): ต้องอ้างอิงในระบบ Vancouver1 ใช้ระบบเรียงตามตัวเลข โดยใส่หมายเลขในวงเล็บเหลี่ยม [ ] เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเรื่อง เอกสารอ้างอิงทุกฉบับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ  

บทความวิชาการ (Academic article) ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อ-สกุล ผู้นิพนธ์ พร้อมทั้งตำแหน่งทางวิชาการ (หากมี) และสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ e-mail address 
  3. บทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษไม่เกิน 15 บรรทัด หรือ 200 คำ ระบุคำสำคัญ (Keywords) จำนวนไม่เกิน 5 คำต่อภาษา (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
  4. เนื้อหาของบทความ ประกอบด้วย
    • บทนำ (Introduction): กล่าวถึงความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ
    • เนื้อหาเป็นการแสดงรายละเอียดของเรื่องที่เขียนในแต่ละประเด็น
    • สรุป (Conclusion): กล่าวถึงสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ของเรื่องที่เขียนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ
    • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): กล่าวถึงบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการศึกษา
    • เอกสารอ้างอิง (References): ต้องอ้างอิงในระบบ Vancouver1 ใช้ระบบเรียงตามตัวเลข โดยใส่หมายเลขในวงเล็บเหลี่ยม [ ] เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเรื่อง เอกสารอ้างอิงทุกฉบับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ 

การเตรียมต้นฉบับและส่งต้นฉบับ: จำนวน 7-10 หน้า

  • เนื้อหาต้นฉบับ (ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ) โดยสามารถดูรายละเอียดได้จาก ข้อแนะนำผู้นิพนธ์
  • การใช้ภาษาอังกฤษ ควรใช้เฉพาะคำที่ยังไม่มีคำแปลภาษาไทยหรือแปลแล้วไม่ได้มีความหมายชัดเจน แล้วเขียนภาษาไทยทับศัพท์ และวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ
  • ส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ การส่งบทความ
  • 1 รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงดูเพิ่มเติมที่ ข้อแนะนำผู้นิพนธ์  

ติดต่อสอบถาม:

ฝ่ายประสานงาน

โทร.: 0 2201 7260 (จอย ผิวสะอาด) 0 2201 7288 (อุดมลักษณ์ เวียนงาม) 0 2201 7291 (ทิพย์วาที กกรัมย์)

อีเมล: joy@dss.go.th, udomlak@dss.go.th, thipwatee@dss.go.th

ฝ่ายเว็บไซต์     

โทร. 0 2201 7285 (พรรษชล รัตนปาณี)   อีเมล: passachon@dss.go.th