https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
2024-12-06T15:00:57+07:00
ดร. ภูวดี ตู้จินดา (Poovadee Tuchinda) บรรณาธิการวิชาการ
bas@dss.go.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ</strong> (ชื่อเดิม วารสารผลงานวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ) Bulletin of Applied Sciences เป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ การอ้างอิง และการประกอบกิจการภาคการผลิตและอุตสาหกรรม </p> <p> ISSN 2822-1532 (Print)<br /> ISSN 2822-1540 (Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป</li> <li>เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ การอ้างอิง และการประกอบกิจการภาคการผลิตและอุตสาหกรรม</li> </ol>
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/1273
การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีกายภาพของไข่เค็มในระหว่างกระบวนการซูสวีด
2024-05-16T09:26:21+07:00
ปัทมา สุภาผล
supaphon.pattama@gmail.com
ธนวัฒน์ ศิริพิทักษ์โยธิน
sthanawat@dss.go.th
สุทธชยา ชื่นวัฒนา
cartoon-sutachaya@outlook.com
ธัญวลัย วงษ์สวรรค์
baibua4142@gmail.com
ขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์
Khanittha@dss.go.th
<p>งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติด้านเคมีและด้านกายภาพของไข่เค็มที่ผ่านการดองร่วมกับการใช้เทคนิคซูสวีด ที่ความเข้มข้นของสารละลายเกลือร้อยละ 28-30 (โดยน้ำหนัก) อุณหภูมิ 50±2 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลาในการดองที่ 0 (ไข่ดิบ), 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 วัน พบว่าการใช้เทคนิคซูสวีดร่วมกับกระบวนการดองไข่ส่งผลให้ค่าสมบัติด้านเคมีและด้านกายภาพของไข่เค็มที่ระยะเวลาในการดองต่างกัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อระยะเวลาในการดองนานขึ้นส่งผลให้ไข่แดงเปลี่ยนจากสีเหลือง-แดง ในไข่ดิบ เป็นสีแดงและมีสีแดงที่เข้มขึ้น มีความกลมนูนสูงขึ้น และมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่แข็งขึ้น ในขณะที่ไข่ขาวชั้นในมีความหนืดลดลงและไข่ขาวชั้นนอกและชั้นในมีความขุ่นมากขึ้น จากผลการเปรียบเทียบค่าสีของไข่แดงด้วย Munsell book และการตรวจวัดค่าความสูงของไข่แดงด้วยเครื่องเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ พบว่าไข่แดงมีค่าสีอยู่ในช่วงเหลืองแดง-แดง และมีค่าความสูงอยู่ในช่วง 16.16-26.27 มิลลิเมตร นอกจากนี้จากผลการตรวจวัดลักษณะเนื้อสัมผัสของไข่แดงด้วยวิธีทดสอบแบบ TPA แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาในการดองนานขึ้น ส่งผลให้ค่าความแข็ง ค่าความยืดหยุ่น และค่าความเหนียวและความหยุ่นตัว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p<0.05) แต่ไม่ส่งผลต่อค่าการยึดเกาะกันภายในเนื้ออาหาร (p>0.05) ในขณะที่เมื่อระยะเวลาในการดองนานขึ้นปริมาณความเข้มข้นของเกลือที่ตรวจวัดได้ในไข่แดงและไข่ขาวมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น (p<0.05) โดยมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 0.42-0.97 และ 0.42-4.88 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังคงรักษาอัตลักษณ์ด้านรสชาติและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 27/2550 เรื่องไข่เค็ม) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/1085
ผลของปริมาณแป้งข้าวทับทิมชุมแพที่ใช้ทดแทนแป้งมันสำปะหลังบางส่วนต่อคุณลักษณะของข้าวเกรียบ
2024-01-31T10:52:10+07:00
จิราภรณ์ บุราคร
juntarama@yahoo.com
ปรานต์ ปิ่นทอง
pranpp11@gmail.com
อณุรัฐ รัมมะพันธ์
artoinegs@gmail.com
พรประภา ทองใบ
ponprapa865@gmail.com
มนทกานติ์ เอี่ยมแก้ว
montakan.ak@gmail.com
ณัฐชา ศิริวาริน
srwr.nc@gmail.com
<p>ข้าวทับทิมชุมแพเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ภายหลังการหุงสุกจะมีสีแดงใสคล้ายกับสีของทับทิม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง งานวิจัยนี้ได้นำปลายข้าวทับทิมชุมแพมาบดเป็นผงแป้งข้าวทับทิมชุมแพ จากนั้นนำแป้งข้าวทับทิมชุมแพไปทดแทนแป้งมันสำปะหลังในปริมาณต่าง ๆ ที่ร้อยละ 0 (สูตรควบคุม), 40, 50, 60 และ 70 ของน้ำหนักแป้งมันสำปะหลังทั้งหมด จากนั้นวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เมื่อเพิ่มระดับการทดแทนแป้งมันสำปะหลังด้วยแป้งข้าวทับทิมชุมแพ คุณลักษณะเนื้อสัมผัสด้านความกรอบมีความแตกต่างกัน (p≤≤0.05) โดยการเพิ่มปริมาณแป้งข้าวทับทิมชุมแพทำให้ค่าความกรอบลดลง เมื่อวิเคราะห์ค่าสี พบว่าข้าวเกรียบทดแทนแป้งมันสำปะหลังด้วยข้าวทับทิมชุมแพจะมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลอมแดง เมื่อทำการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านความชอบที่มีต่อข้าวเกรียบที่ทดแทนแป้งมันสำปะหลังด้วยแป้งข้าวทับทิมชุมแพ พบว่าผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบโดยรวมข้าวเกรียบทับทิมชุมแพสูตรที่ทดแทนแป้งมันสำปะหลังด้วยแป้งข้าวทับทิมชุมแพร้อยละ 40 มากที่สุด การทดแทนแป้งมันสำปะหลังด้วยแป้งข้าวทับทิมชุมแพมีผลต่อคะแนนความชอบในทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการข้าวเกรียบทับทิมชุมแพและข้าวเกรียบมันสำปะหลัง พบว่าข้าวเกรียบทับทิมชุมแพมีโปรตีนสูงกว่าข้าวเกรียบมันสำปะหลังกว่า 97.25 เท่า มีธาตุเหล็กมากกว่า 1.93 เท่า และมีใยอาหารมากกว่า 5.29 เท่า มีพลังงานทั้งหมดน้อยกว่า และมีพลังงานจากไขมันน้อยกว่าอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าข้าวเกรียบทับทิมชุมแพเหมาะสมที่จะบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากกว่าข้าวเกรียบมันสำปะหลัง</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/2980
การกำจัดยาโคลิสตินในน้ำโดยการดูดซับด้วยเกล็ดถ่านกัมมันต์ที่ดัดแปรด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์
2024-09-19T09:33:52+07:00
สินีนาฏ ไทยบุญรอด
sineenat@nanotec.or.th
ชญาณิลห์ หาญวลินโรจน์
chayanin010436@gmail.com
อัตถจรีย์ สมัตถะ
attajaree.s@gmail.com
อารีรัตน์ ขณะรัตน์
areerat.kanarat@gmail.com
เอกนรินทร์ ธนายุพงศ์
eknarin.tha@nanotec.or.th
พิทักษ์ งามเมืองตึง
sineenat@nanotec.or.th
พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ
fengpkba@ku.ac.th
เสาวลักษณ์ เฉลียวเลิศอำพล
saowaluk@nanotec.or.th
ณัฏฐพร พิมพะ
nuttaporn@nanotec.or.th
<p>ปัจจุบันมีการตรวจพบยาปฏิชีวนะปนเปื้อนในแหล่งน้ำมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยา โคลิสตินเป็นยาปฏิชีวนะชนิดสุดท้ายที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่ใช้รักษาโรคทั้งในมนุษย์และในสัตว์ แต่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ไม่สามารถดูดซึมยาโคลิสตินได้อย่างสมบูรณ์ จึงถูกขับออกและปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรพื้นผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ (m-GAC) ในการดูดซับยาโคลิสตินในน้ำ โดยใช้วิธีการดัดแปรพื้นผิวถ่านกัมมันต์ที่ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องกระตุ้นด้วยอุณหภูมิสูง จากนั้นทดสอบการดูดซับยาด้วยวิธีแบบกะที่ความเข้มข้นของยาโคลิสติน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร จากผลการดูดซับพบว่าถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรพื้นผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถดูดซับยาโคลิสตินได้สูงสุด 83.9 มิลลิกรัมต่อกรัมของถ่านกัมมันต์ ซึ่งสูงกว่าถ่านกัมมันต์ที่ไม่ได้ดัดแปรพื้นผิว (GAC, 31 มิลลิกรัมต่อกรัม) อย่างมีนัยสำคัญ ไอโซเทิร์มการดูดซับสอดคล้องกับสมการของฟรุนดลิชและจลนพลศาสตร์การดูดซับสอดคล้องกับปฏิกิริยาอันดับสองเทียม และมีอัตราเร็วในการดูดซับยาโคลิสตินสูงกว่าถ่านกัมมันต์ที่ไม่ได้ดัดแปรพื้นผิว ความเป็นไปได้ของกลไกการดูดซับยาโคลิสตินของถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการดัดแปรพื้นผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์คือการดูดซับทางกายภาพ เกิดผ่านแรงดึงดูดแบบไฟฟ้าสถิตและพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการดัดแปรพื้นผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ผลการศึกษานี้ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงประสิทธิภาพถ่านกัมมันต์ด้วยวิธีที่สามารถนำไปขยายการผลิตได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับการนำไปประยุกต์ใช้ในการกำจัดยาโคลิสตินที่ปนเปื้อนในน้ำ และเพื่อลดผลกระทบการเกิดการดื้อยาโคลิสตินของจุลชีพต่อไปได้</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/2991
การประเมินสมบัติของแหล่งน้ำธรรมชาติภาคกลางและภาคเหนือสำหรับการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพตามมาตรฐานสากล OECD 301A
2024-08-26T15:27:22+07:00
นิตยาพร สมภักดีย์
nidtayaporn@tistr.or.th
จันทนา พันธุ์พราน
jantana@tistr.or.th
มิรันตี ดีเจริญ
mirantee@tistr.or.th
นพวรรณ สระแสงตา
nopphawan_s@tistr.or.th
ชาญชัย คหาปนะ
chanchai@tistr.or.th
วิทวัส เยื่อใย
witthawat@tistr.or.th
ศิโรรัตน์ ตั้งสถิตพร
sirorat@tistr.or.th
อัญชนา พัฒนสุพงษ์
anchana@tistr.or.th
<p>ประเมินสมบัติของแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของเคมีภัณฑ์ตามมาตรฐาน OECD guideline for testing of chemicals, OECD 301A รวมการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ โดยใช้ตัวอย่างน้ำธรรมชาติเป็นกล้าเชื้อ ซึ่งเก็บรวบรวมจากพื้นที่ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี พื้นที่ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ลำปาง พะเยา พิจิตร และนครสวรรค์ โดยใช้สาร Sodium benzoate เป็นสารอ้างอิง ทั้งนี้ตัวอย่างน้ำธรรมชาติมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน อีกทั้งยังเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน OECD 301A นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยร้อยละการสลายตัวทางชีวภาพของสารอ้างอิง ในตัวอย่างน้ำธรรมชาติทั้ง 2 พื้นที่ ตลอดระยะเวลาการศึกษามีค่าร้อยละ 86.13-97.53 ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ระบุในมาตรฐาน OECD 301A ต้องมีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในระยะเวลา 28 วัน กล่าวได้ว่าน้ำธรรมชาติทั้ง 2 พื้นที่ มีสมบัติที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ประเมินการสลายตัวทางชีวภาพของเคมีภัณฑ์ตามมาตรฐาน OECD 301A โดยวิธีการทดสอบในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและต่างประเทศที่ต้องการพัฒนาสมบัติผลิตภัณฑ์ด้านการสลายตัวทางชีวภาพให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/1991
การนำน้ำกลับคืนมาจากการบำบัดน้ำระบายทิ้งเข้มข้นจากระบบแยกเกลือจากน้ำขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา
2024-07-05T14:22:03+07:00
สรัลภัค เชื้อสุวรรณ
saranbhak@gmail.com
หทัยรัศมิ์ เตชะปัญญารักษ์
saranbhak@gmail.com
นิรัตน์ ภูทัดหมาก
saranbhak@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำน้ำกลับคืนมาจากการนำน้ำระบายทิ้งเข้มข้นที่ปล่อยออกจากเครื่องแยกเกลือเข้าสู่ชุดกลั่นแสงอาทิตย์ โดยออกแบบให้สามารถกักเก็บอุณหภูมิภายในชุดกลั่นที่เอื้อต่อการเปลี่ยนสถานะของน้ำระบายทิ้งเข้มข้นที่กักเก็บอยู่ภายในชุดกลั่น ไอน้ำลอยตัวสูงขึ้นไปกระทบกับแผ่นกระจกใสที่เย็นกว่าด้านบน ทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำก่อนไหลตามความลาดเอียงลงสู่รางรับน้ำและนำกลับไปใช้ใหม่ ชุดกลั่นแสงอาทิตย์มีขนาดกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร สูง 0.5 เมตร มุมลาดเอียง 25 องศา ช่วยให้หยดน้ำไหลลงตามแนวลาดเอียงของกระจกโปร่งแสงได้โดยไม่หยดกลับลงไปในถาดของน้ำระบายทิ้งเข้มข้นที่ด้านล่างบรรจุแกลบดำ ซึ่งเลือกใช้เป็นวัสดุรองรับด้านล่างของถาดกักเก็บน้ำระบายทิ้งเข้มข้น เนื่องจากเป็นวัสดุสีดำช่วยดูดกลืนพลังงานความร้อนได้ดีหาได้ง่ายในท้องถิ่น และไม่เน่าเสีย เมื่อใช้กักขังกับน้ำระบายทิ้งเข้มข้นผลทดสอบการใช้งานของชุดต้นแบบในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาวพบว่า ค่าเฉลี่ยการนำน้ำกลับคืนประมาณ 150 มิลลิลิตรต่อวันต่อชุด ระดับอุณหภูมิภายในชุดกลั่นอยู่ในช่วง 30-70.1 องศาเซลเซียส ช่วง 14.00 น. มีอุณหภูมิสูงกว่าช่วงเวลาอื่น โดยมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ 70.1 องศาเซลเซียส ซึ่งระดับของอุณหภูมิภายในชุดกลั่นแสงอาทิตย์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำที่กลั่นได้ ความสามารถในการนำน้ำกลับคืนของชุดกลั่นต้นแบบอยู่ในช่วง 1,092–1,265 มิลลิลิตรต่อวันต่อชุด โดยค่าต่ำเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน และค่าสูงเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูหนาว อัตราการนำน้ำกลับคืน 45–55 มิลลิลิตรต่อตารางเมตรต่อวัน ชุดกลั่นแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกที่เข้ามาช่วยลดผลกระทบจากน้ำระบายทิ้งเข้มข้นของเครื่องแยกเกลือออกจากน้ำที่เป็นปัญหาการกำจัดค่าความเค็มที่อาจส่งผลกระทบระยะยาวกับแหล่งน้ำที่ระบายออกได้ เป็นวิธีประหยัด ไม่เป็นภาระกับผู้ดูแลและงบประมาณ ปริมาณน้ำที่ได้นำกลับคืนมาได้เป็นน้ำกลั่นมีความจืดจึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำได้ซึ่งเป็นการสนับสนุนการใช้งานเครื่องแยกเกลือออกจากน้ำขนาดเล็กที่นำมาใช้งานบรรเทาปัญหาน้ำมีความเค็มให้กับพื้นที่ได้</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/BAS/article/view/2986
การตรวจวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วในกระดาษสัมผัสอาหารด้วยเทคนิคอินดักทีฟลีคัพเพิลพลาสมาแมสสเปกโทรเมตรี
2024-10-22T09:42:55+07:00
วรุณรัตน์ บูรณะกุล
warunrat@dss.go.th
เนตรศิรินทร์ กฤษวงศ์
netsirin@dss.go.th
วีรภัทร รามณี
rveerapat@dss.go.th
นุจรินทร์ พลหงษ์
nootjarin@dss.go.th
จิตวิไล เวฬุวนารักษ์
jitwilai@dss.go.th
วีระ สวนไธสง
weera@dss.go.th
<p>การศึกษานี้เป็นการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบหาปริมาณตะกั่วที่ปนเปื้อนในกระดาษสัมผัสอาหาร โดยย่อยตัวอย่างกระดาษด้วยไมโครเวฟในสภาวะที่เป็นกรด จากนั้นตรวจวัดปริมาณตะกั่วด้วยเครื่องอินดักทีฟลีคัพเพิลพลาสมาแมสสเปกโทรมิเตอร์ และได้ทำการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะที่แสดงสมบัติของวิธีทดสอบ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงเส้น (Linearity) ขีดจำกัดการตรวจหา (Limit of detection, LOD) ขีดจำกัดการวัดปริมาณ (Limit of quantitation, LOQ) ความโอนเอียง (Bias) ความเที่ยง (Precision) และผลกระทบจากองค์ประกอบของตัวอย่าง (Matrix effect) โดยกำหนดให้ค่าความไม่แน่นอนเป้าหมายของวิธีต้องไม่เกินร้อยละ ±15 จากการศึกษาพบว่าค่าขีดจำกัดการตรวจหาและขีดจำกัดการวัดปริมาณเท่ากับ 0.043 mg/kg และ 0.40 mg/kg ตามลำดับ ช่วงการใช้งานของวิธีทดสอบอยู่ในช่วง 0.40–4.0 mg/kg ค่าความโอนเอียงของวิธีประเมินจากค่าคืนกลับของสารมาตรฐานที่เติมลงไปในตัวอย่างกระดาษที่ไม่มีปริมาณตะกั่วที่ระดับความเข้มข้น ต่ำ กลาง และสูง ของช่วงการใช้งานของวิธี มีค่าร้อยละของค่าคืนกลับ 97.0–103.2 ความเที่ยงของการทดสอบโดยวิธีเติมสารละลายมาตรฐานความเข้มข้นเดียวกับการศึกษาความโอนเอียง มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ 10 และผลการตรวจยืนยันผลกระทบจากองค์ประกอบของตัวอย่าง โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นและปริมาณที่ตรวจวัดได้เฉลี่ยในสารละลายตัวอย่างกระดาษ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเข้าใกล้ 1 แสดงว่าไม่มีผลกระทบจากองค์ประกอบของตัวอย่าง และเมื่อนำข้อมูลจากการศึกษาความโอนเอียงและความเที่ยงมาใช้ในการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด พบว่าได้ค่าความไม่แน่นอนร้อยละ ±15 ของปริมาณที่ตรวจวัดได้ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ดังนั้นสรุปว่าวิธีนี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วในผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟท์ให้ผลการวัดมีทั้งความแม่น ความเที่ยง น่าเชื่อถือ และเหมาะกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ