การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีกายภาพของไข่เค็มในระหว่างกระบวนการซูสวีด
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.1273คำสำคัญ:
ไข่เค็ม, คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ, เทคนิคซูสวีด, ออสโมซิสบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติด้านเคมีและด้านกายภาพของไข่เค็มที่ผ่านการดองร่วมกับการใช้เทคนิคซูสวีด ที่ความเข้มข้นของสารละลายเกลือร้อยละ 28-30 (โดยน้ำหนัก) อุณหภูมิ 50±2 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลาในการดองที่ 0 (ไข่ดิบ), 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 วัน พบว่าการใช้เทคนิคซูสวีดร่วมกับกระบวนการดองไข่ส่งผลให้ค่าสมบัติด้านเคมีและด้านกายภาพของไข่เค็มที่ระยะเวลาในการดองต่างกัน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อระยะเวลาในการดองนานขึ้นส่งผลให้ไข่แดงเปลี่ยนจากสีเหลือง-แดง ในไข่ดิบ เป็นสีแดงและมีสีแดงที่เข้มขึ้น มีความกลมนูนสูงขึ้น และมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่แข็งขึ้น ในขณะที่ไข่ขาวชั้นในมีความหนืดลดลงและไข่ขาวชั้นนอกและชั้นในมีความขุ่นมากขึ้น จากผลการเปรียบเทียบค่าสีของไข่แดงด้วย Munsell book และการตรวจวัดค่าความสูงของไข่แดงด้วยเครื่องเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ พบว่าไข่แดงมีค่าสีอยู่ในช่วงเหลืองแดง-แดง และมีค่าความสูงอยู่ในช่วง 16.16-26.27 มิลลิเมตร นอกจากนี้จากผลการตรวจวัดลักษณะเนื้อสัมผัสของไข่แดงด้วยวิธีทดสอบแบบ TPA แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาในการดองนานขึ้น ส่งผลให้ค่าความแข็ง ค่าความยืดหยุ่น และค่าความเหนียวและความหยุ่นตัว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (p<0.05) แต่ไม่ส่งผลต่อค่าการยึดเกาะกันภายในเนื้ออาหาร (p>0.05) ในขณะที่เมื่อระยะเวลาในการดองนานขึ้นปริมาณความเข้มข้นของเกลือที่ตรวจวัดได้ในไข่แดงและไข่ขาวมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น (p<0.05) โดยมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 0.42-0.97 และ 0.42-4.88 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังคงรักษาอัตลักษณ์ด้านรสชาติและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 27/2550 เรื่องไข่เค็ม) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการ
References
Li Q, Jin H, Zhang X, Hu G, Lei C, Sun H, et al. Effect of salt penetration and water migration on cooked salted egg yolk gel during storage: physicochemical properties, structural characteristics and flavor changes. Food Chem. 2023;404:134510.
Xu L, Zhao Y, Xu M, Yao Y, Nie X, Du H, et al. Changes in aggregation behavior of raw and cooked salted egg yolks during pickling. Food Hydrocoll. 2018;80:68-77.
ศุภัคษร มาแสวง, กุลพร พงษ์ไพร, อัมพวัน สุขนิล. กระบวนการผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2565;4(1):93-105.
Tan J, Liu T, Yao Y, Wu N, Du H, Xu M, et al. Changes in physicochemical and antioxidant properties of egg white during the Millard reaction induced by alkali. LWT. 2021;143:111151.
Taichan K, Asavasanti S, Tangduangdee C. Browning kinetics of egg white during high-temperature process. Bull App Sci. 2023;12(2):23-34.
ณัฐฌา เหล่ากุลดิลก, นภาพร ปันทอง, สาริกา กิตติพนาไพร, ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา, พรพิมล เตาคำ. การประยุกต์ใช้เทคนิคคลื่นอัลตราโซนิคสำหรับการดองไข่เค็มขมิ้น. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏกรุงเก่า “ท้องถิ่นก้าวไกล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม; วันที่ 12-13 ธ.ค. 2562; [พระนครศรีอยุธยา]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา; 2562. น. 324-330.
Kaewmanee T, Benjakul S, Visessanguan W. Effects of salting processes and time on the chemical composition, textural properties, and microstructure of cooked duck egg. J Food Sci. 2011;76(2):139-47.
Li X, Chen S, Yao Y, Wu N, Xu M, Zhao Y, et al. The quality characteristics formation and control of salted eggs: a review. Foods. 2022;11(9):2949.
Schellekens M. New research sous-vide issues in cooking. Trends Food Sci Technol. 1996;7:256-62.
Baldwin DE. Sous vide cooking: a review. Int J Gastron Food Sci. 2012;1(1):15-30.
เสาวภา ยุววุฑโฒ. การพัฒนาดินสำเร็จรูปในการผลิตไข่เค็ม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2538.
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. วิทยาศาสตร์น่ารู้ เรื่อง การแพร่ของสาร (Diffusion) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ngthai.com
สุพัฒตา โนทะนะ. การตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของไข่เค็มด้วยเทคนิคอัลทราโซนิก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
AOAC International. AOAC Official Methods of Analysis. Chloride in Eggs. 17th ed. Washington (DC): AOAC Publication; 2000.
Cheng S, Zhanga T, Wanga X, Songa Y, Wanga H, Wanga H, et al. Influence of salting processes on water and lipid dynamics, physicochemical and microstructure of duck egg. LWT. 2018;95:143-9.
สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์. การพอกไข่เค็มไชยาด้วยกากชาเพื่อทดแทนดินจอมปลวกบางส่วน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร. 2560;11(1):111-25.
Chi SP, Tseng KH. Physicochemical properties of salted pickled yolks from duck and chicken eggs. J Food Sci. 1998;63(1):27-30.
Dang KLM, Le TQ, Songsermpong S. Effect of ultrasound treatment in the mass transfer and physical properties of salted duck eggs. Kasetsart J Nat Sci. 2014;48:942-53.
ธนาวิทย์ กุลรัตนรักษ์. ผลของการประยุกต์ใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ต่อคุณสมบัติทางกายภาพและระยะเวลาในการผลิตไข่เค็ม. [รายงานการวิจัยสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร]. [นครราชสีมา]: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2563.
Kaewmanee T, Benjakul S, Visessanguan W. Changes in chemical composition, physical properties and microstructure of duck egg as influenced by salting. Food Chem. 2009;122(3):560-9.
Ai MM, Guo SG, Zhou Q, Wu WL, Jiang AM. The investigation of the changes in physicochemical, texture and rheological characteristics of salted duck egg yolk during salting. LWT. 2017;88(3):119-25.
Kaewmanee T, Benjakul S, Visessanguan W. Effects of salting processes and time on the chemical composition, textural properties, and microstructure of cooked duck egg. J Food Sci. 2011;74(2):139-47.
Wang X, Gao Z, Xiao H, Bai J. Enhanced mass transfer of osmotic dehydration and changes in microstructure of pickled salted egg under pulsed pressure. J Food Eng. 2013;117(1):141-50.
Lau MH, Tang J, Paulson AT. Texture profile and turbidity of 471 gellan/gelatin mixed gels. Food Res Int. 2000;33(8):665-71.
Xu L, Zhao Y, Xu M, Yao Y, Nie X, Du H, et al. Effects of salting treatment on the physicochemical properties, textural properties, and microstructures of duck eggs. PLoS One. 2017;12(8):e0182912.
ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ รักษาศิริ, สิรินพร คงเกิด, วัชรา ปิ่นทอง, มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, เสาวภา เขียนงาม, อภิญญา รัตนไชย, และคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่เค็มด้วยสารละลายเกลือปรุงรส. แก่นเกษตร. 2565;1:15-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.