ค่าความไม่แน่นอนของการวัดในการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรเนื่องจากปัจจัยของความแปรปรวนของแรงตึงผิวระหว่างของเหลวและแก้ว
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.246คำสำคัญ:
ค่าความไม่แน่นอนของการวัด, การสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรบทคัดย่อ
ค่าความไม่แน่นอนของการวัดในการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรมีปัจจัยจากหลายๆ แหล่ง เช่น ค่าความไม่แน่นอนของเครื่องชั่ง ค่าความไม่แน่นอนจากสภาวะแวดล้อม ค่าความไม่แน่นอนของอุณหภูมินํ้า ค่าความไม่แน่นอนของตำแหน่งท้องนํ้าหรือตำแหน่งเมนิสคัส
ในเอกสารฉบับนี้จะแสดงให้เห็นความสำคัญของปัจจัยของค่าความไม่แน่นอนหลักอีกปัจจัยหนึ่งที่ห้องปฏิบัติการอาจจะยังไม่ให้ความสำคัญในการนำเข้าไปรวมในการคำนวณค่าความไม่แน่นอนรวมนั่นคือค่าความไม่แน่นอนอันเนื่องมา จากความสะอาดของเครื่องแก้ววัดปริมาตร ซึ่งความสะอาดของเครื่องแก้วมีผลต่อแรงตึงผิวระหว่างของเหลวและแก้ว โดยมีความสัมพันธ์คือ แรงตึงผิวน้อยเมื่อความสะอาดน้อย มีผลให้มุมระหว่างของเหลวและแก้ว (contact angle) มีค่ามากและปริมาตรน้อยลง ในทางตรงกันข้ามแรงตึงผิวมากเกิดจากความสะอาดมากมีผลให้มุม ระหว่างของเหลวและแก้ว มีค่าน้อยและปริมาตรมากขึ้น ซึ่งมุมระหว่างของเหลวและแก้ว ที่มีผลต่อความไม่แน่นอน ของปริมาตรของเหลวจึงมีผลโดยตรงต่อการวัดและการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของค่าความไม่แน่นอนรวม ดังนั้นห้องปฏิบัติการจึงควรพิจารณาถึงแหล่งของค่าความไม่แน่นอนนี้เพื่อให้เกิดความสมเหตุสมผลของการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร
References
พจมาน ท่าจีน “ความผิดพลาดของการวัดปริมาตรที่เกิดจากตำแหน่งเมนิสคัสของเครื่องแก้วปริมาตร” วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 2547, 52(166), 39-40.
SEARS, Francis W., Mark W. ZEMANSKY, and Hugh D. YOUNG. University Physics. 5th ed., London : Addison Wesley, 1978, pp. 222-226
ASTM INTERNATIONAL. Standard practice for calibration of laboratory volumetric apparatus, ASTM E542-01, 2012, pp.106-113
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.