สมบัติของเส้นใยใบสับปะรดที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ ลี้ศิริสรรพ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.226

คำสำคัญ:

ใบสับปะรด, เส้นใย, การปรับสภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติของเส้นใยจากใบสับปะรดที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี โดยใช้วิธีสกัดด้วยสารละลายผสม ระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์และเอทานอลที่อัตราส่วนต่างๆ ที่อุณหภูมิ 95 °C และเวลาในการสกัดในช่วง 2 ถึง 4 ชั่วโมง ต่อจากนั้น นําเส้นใยที่ผ่านการปรับสภาพไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR TGA XRD และ SEM FTIR สเปกตราชี้ว่าองค์ประกอบส่วนที่ ไม่ใช่เซลลูโลสได้ถูกขจัดออก DTG เทอร์โมแกรมบ่งชี้ว่าอุณหภูมิการสลายตัวสูงสุดของเส้นใยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมีนี้ มีค่าใกล้เคียงกับเส้นใยเซลลูโลสทางการค้า ส่วนข้อมูลจาก XRD ทำให้ทราบว่าเส้นใยมีความเป็นผลึกสูงขึ้น 56% เมื่อเทียบกับเส้นใยที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ นอกจากนี้ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้แสดงให้เห็นว่าเส้นใยที่ได้มีการกระจายตัวแยกออกจากมัดเส้นใย

References

BISMARCK, A., S. MISHRA and T. LAMPKE. Plant fibers as reinforcement for green composites. In Mohanty, AK., Misra, M., and Drzal, LT. (Ed.). Natural Fibers, Biopolymers, and Biocomposites. New York: Taylor & Francis, 2005, pp. 37-108.

PUJARI, S., A. RAMAKRISHNA and MS. KUMAR. Comparison of jute and banana fiber Composites: A review. International Journal of Current Engineering and Technology. 2014, 121-126.

วิทยา ปันสุวรรณ. การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ของวัตถุดิบที่ไม่ใช่ไม้สําหรับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ การ ประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36. 3-5 กุมภาพันธ์ 2541. กรุงเทพฯ.

OKUBO, K., T. Fujii and Y. Yamamoto. Development of bamboo-based composites and their mechanical properties. Composites: part A. 2004, 35(3), 377-383.

RAJ, G., et al. Interfacial studies of polylactic acid (PLA)/flax biocomposite: from model surface to fibre treatment [online]. [viewed 10 December 2016]. Available from: http://iccm-central.org/Proceedings/ ICCM17proceedings/Themes/Materials/NATURAL%20 FIBRE%20COMPOSITES/D9.2%20Raj.pdf

SAHIN, H.T. Base-catalyzed organosolv pulping of jute. Journal of Chemical Technology and Biotechnology. 2003, 78, 1267-1273.

SINGH, K., et al. Determination of composition of cellulose and lignin mixtures using thermogravimetric analysis (TGA), 15th North American Waste to Energy Conference, May 21-23, 2007, Miami, Florida USA.

YANG, H., et al. Characteristic of hemicellulose, cellulose and lignin pyrolysis. Fuel. 2007, 86, 1781-1788.

KUSUMATTAQIIN, F. Preparation and characterization of microcrystalline cellulose (MCC) by acid hydrolysis using microwave assisted method from cotton wool. Macromolecule Symposium. 2015, 354, 35-41.

AKGUL, M. and A. TOZLUOGLU. Alkaline-ethanol pulping of cotton stalks. Scientific Research and Essays. 2010, 5(10), 1068-1074.

XRD ดิฟแฟรกโตแกรมของเส้นใยก่อนปรับสภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ลี้ศิริสรรพ์ ส. (2022). สมบัติของเส้นใยใบสับปะรดที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีทางเคมี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 7(7), 25–31. https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.226