การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับ เทคนิค IDMS ในการแยกสารผสมเบนโซฟิโนน และอนุพันธ์ในกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหาร

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.221

คำสำคัญ:

เบนโซฟีโนน, แก๊สโครมาโทกราฟี, ไอโซโทปไดลูชันแมสสเปกโทเมตรี

บทคัดย่อ

รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับ Isotope Dilution Mass spectrometry (IDMS) เพื่อแยกสารผสมเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์ ได้แก่ 4-เมทิลเบนโซฟีโนน, 4-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 2-ไฮดรอกซีเบนโซฟีโนน, 4, 4'-บิส (ไดเมทิลอะมิโน) เบนโซฟีโนน และ 4,4'-บิส (ไดเอทิลอะมิโน) เบนโซฟีโนน สารก่อมะเร็งทั้ง 6 ตัวนี้มักใช้เป็นสารเริ่ม ปฏิกิริยาด้วยแสงชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของหมึกที่พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์กระดาษ ในการศึกษานี้ได้ใช้เบนโซฟีโนน-D10 เป็น สารมาตรฐานภายใน และ ใช้แคปปิลาลีคลอลัมน์ ชนิด 50% ไดฟีนิล/50% ไดเมทิล พอลิไซลอกเซน เป็น GC-MS คอลัมน์ การ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมนี้ได้โดยการเปลี่ยน อุณหภูมิเริ่มต้น อุณหภูมิสุดท้าย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิของตู้อบคอลัมน์ เมื่อ ใช้โหมด GC-MS full scan ผลการศึกษาพบว่ามี 3 วิธีที่สามารถแยกสารอันตรายทั้ง 6 สาร ได้ภายในเวลา 24, 29 และ 41 min ตามลําดับ ได้เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับตู้อบคอลัมน์โดยเลือกจากวิธีที่ใช้เวลาในการทดสอบสั้นที่สุด คือ 24 min และ เปลี่ยนโหมดในการทดสอบจากโหมด GC-MS full scan ไปเป็นโหมด selective ion monitoring (SIM) เพื่อให้เห็นความแตก ต่างของพีกที่ใช้การคํานวณหาปริมาณของเบนโซฟีโนน (m/z = 105) และ ของเบนโซฟีโนน-D10 (m/z = 110) สุดท้ายสภาวะ ที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนําไปใช้เพื่อทดสอบหาปริมาณสารเบนโซฟีโนนและอนุพันธ์อีก 5 ชนิด ในตัวอย่างกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเปรียบเทียบปริมาณกับกราฟมาตรฐานซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์อยู่ใน เกณฑ์การยอมรับได้ ( R2gif.latex?\geq0.990)

References

RHODES, M.C., et al. Carcinogenesis studies of benzophenone in rats and mice. Food and Chemical Toxicology. 2007, 5, 843-851.

THE EUROPEAN PAPER AND BOARD FOOD PACKAGING CHAIN. Industry guideline for the compliance of paper and board materials and articles for food contact [online]. 2012 [viewed 26 June 2013]. Available from: http://www.cepi.org/system/files/public/documents/publications/foodcontact/2012/Industry%20guideline-updated2012final.pdf

CASTLE, L., et al. Migration studies from paper and board food packaging materials. Part 2. Survey for residues of dialkylamino benzophenone UV-cure ink photoinitiators. Food Additives and Contaminants. 1997, 14, 45-52.

JOHNS, S.M., et al. Studies on Functional Barriers to Migration 1 Transfer of Benzophenone from Printed Paperboard to Microwaves Food. Deutsche Lebensmittel-Rundschau. 1995, 91, 69-73.

SARGENT, M., et al. Guidelines for Achieving High Accuracy in Isotope Dilution Mass Spectrometry (IDMS). Cambridge: The Royal Society of Chemistry. 2002, pp. 1-49.

VAN HOECK, E., et al. Analysis of benzophenone and 4-methyl benzophenone in breakfast cereals using ultrasonic extraction in combination with gas chromatography-tandem mass spectrometry (GC-MS"). Analytica Chimica Acta. 2010, 663, 55-59.

VAN DEN HOUWE, K., et al. Evaluation of the migration of 15 photo-initiators from cardboard packaging into Tenax® using ultra-performance liquid chromatography-tandem mass spectrometry (UPLC-MS/MS). Food Additives & Contaminants: Part A. 2014, 31, 767-775.

SAESAENGSEERUNG, N. Comparison of solvent and techniques for extraction of benzophenone from paper intended to come into contact with foodstuffs. Bulletin of Applied Sciences. 2016, 5, 97-102.

TECHNICAL DIVISION ON REFERENCE MATERIALS OF AOAC INTERNATIONAL. Standard format and guidance for AOAC standard method performance requirement documents [online]. 2011. [viewed 26 January 201]. Available from: http://stakeholder.aoac.org/SPIFAN/SMPR_Guidelines_v13.pdf

โครงสร้างทางเคมีของเบนโซฟีโนน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

แสแสงสีรุ้ง ห. (2022). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเทคนิค GC-MS ร่วมกับ เทคนิค IDMS ในการแยกสารผสมเบนโซฟิโนน และอนุพันธ์ในกระดาษบรรจุภัณฑ์อาหาร . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 7(7), 104–116. https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.221