การหาปริมาณสารในกลุ่ม PBBs และ PBDEs ในชิ้นส่วนพลาสติกของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบ RoHS โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี

ผู้แต่ง

  • มาณพ สิทธิเดช กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.192

คำสำคัญ:

PBBs, PBDEs, พลาสติก, แก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาพัฒนาวิธีทดสอบหาปริมาณสารในกลุ่ม พอลิโบรมีเนเต็ดไบฟีนิล(PBBs) และพอลิโนรมิเนเต็ดได ฟีนิลอีเทอร์ (PBDES) ในพลาสติกชนิดต่างๆ ประกอบด้วยอะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอื่น-สไตรีนพอลิโพรพิลีนพอลิเอทิลีน ไฮอิมแพ็คพอลิสไตรีนและ พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตโดยการสกัดตัวอย่างพลาสติกด้วยวิธีตัวทําละลายแบบซอกเล็ต แล้วตรวจวัดปริมาณสารด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี พบว่าวิธีทดสอบนี้สามารถใช้วิเคราะห์ หาปริมาณสารในกลุ่ม PBBs และ PBDEs ในชิ้นส่วนพลาสติกชนิดต่างๆโดยมีช่วงความเข้มข้นของสารในกลุ่ม PBBs และ PBDEs ดังต่อไปนี้คือ โมโนโบรมีเนเต็ดไบฟีนิล ถึงเดคาโบรมิเนเต็ดไบฟีนิล, โมโนโบรมีเนเต็ดไดฟีนิลอีเทอร์ ถึง โนนาโบรมีเนเต็ดไดฟีนิลอีเทอร์ ในช่วงความเข้มข้น100 ถึง 1,750 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ เดคาโบรมีเนเต็ดไดฟีนิล อีเทอร์ในช่วงความเข้มข้น 100 ถึง 8,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมขีดจํากัดการตรวจพบอยู่ในช่วง 3.9-25.5 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม ขีดจํากัดการวัดปริมาณอยู่ในช่วง 13.1-85.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมความเที่ยงระบุในรูปร้อยละของส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 1.8-10.2 ยกเว้นกรณี เดคาโบรมีเนเต็ดไบฟีนิล (BB-209)ที่ระดับความเข้มข้นต่ําสุด (100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) เท่ากับ 17.0 ความแม่นระบุในรูปร้อยละของการคืนกลับอยู่ระหว่าง 80.9-116.8 ยกเว้น กรณี เด็ดตราโบรมิเนเต็ดไดฟีนิลอีเทอร์ (BDE-047)ที่ความเข้มข้นต่ําสุด (100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) เท่ากับ 130.1 ดังนั้นวิธีทดสอบนี้มีค่าความแม่นและความเที่ยงเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับของวิธีทดสอบมาตรฐานสากล IEC 62321: 2008ที่ได้กําหนดให้ค่าความแม่นของวิธีทดสอบต้องอยู่ระหว่างร้อยละ 70-130 และค่าความเที่ยงของวิธีทดสอบ ที่ระบุในรูปร้อยละของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ 20

References

Directive on the restriction of the use of certain hazardous substances in electrical and electronic equipment (RoHS) 2002/95/EC. Official Journal of the European Union, 2003.

SCHLUMMER, M., et al. Characterization of polymer fractions from waste elctrical and elctronic equipment (WEEE) and implications for waste management, Chemosphere, 2007, 67(9), 1866-1876.

ALTWAIG, A., M. WOLF., and R. van ELDIK. Extraction of brominated flame retardants from polymeric waste material using different solvents and supercritical carbon dioxide, Analytica Chimica Acta, 2003, 491(1), 111-123.

HUBER, S., and K. BALLSCHMITER, Characterization of five technical mixtures of brominated flame retardants, Fresenius Journal of Analytical Chemistry, 2001, 371, 882-890.

IEC 62321: 2008, Edition 1.0, International Standard: Electrotechnical products- Determination of levels of six regulated substances (lead, mercury, cadmium, hexavalent chromium, polybrominated biphenyls, polybrominated diphenyl ethers), 2008.

KEMMLEIN, S., D. HERZKE., and R. J. LAW. Brominated flame retardants in the European chemicals policy of REACH — Regulation and determination in material, Journal of Chromatography A, 2009, 1216(3), 320-333.

WU, H. Q., et al. Determination of polybrominated diphenyl ethers and polybrominated

biphenyls in electrical and electronic equipment by gas chromatography-mass spectrometry, Chinese Journal of Analytical Chemistry, 2007, 35(3), 325-329.

EBERT, J., and M. BAHADIR, Formation of PBDD/F from flame-retarded plastic materials under thermal stress, Environment International, 2003, 29(6), 711-716.

BOER, J. C. P. Capillary gas chromatography for the determination of halogenated micro-contaminants, Journal of Chromatography A, 1999, 843, 179-198.

BJÖRKLUND, J., et al. Influence of the Injection Technique and the column system on gas chromatographic determination of polybrominated diphenyl ethers, Journal of Chromatography A, 2004, 1041(1-2), 201-210.

COVACI, A., et al. Recent developments in the analysis of brominated natural compounds, Journal of Chromatography A, 2007, 1153(1-2), 145-171.

SCHLUMMER, M., et al. Characterisation of polymer fractions from waste electrical and electronic equipment (WEEE) and implications for waste management, Chemosphere, 2007, 67(9), 1866-1876.

SCHLUMMER, M., et al. Analysis of flame retardant additives in polymer fractions of waste of electric and elctronic equipment (WEEE) by means of HPLC-UV/MS and GPC-HPLC-UV, Journal of Chromatography, 2005, 1064(1), 39-51.

STAPLETON, H. M. Instrumental methods and challenges in quantifying polybrominated diphenyl ethers in environmental extracts: a review, Analytical Bioanalytical Chemistry, 2006, 386(4), 807-817.

VONDERHEIDE, A. P. A review of the challenges in the chemical analysis of the polybrominated diphneyl ethers, Microchemical Journal, 2009, 92(1), 49-57.

KORYTÄR, P., et al. Comprehensive two-dimensional gas chromatography of polybrominated diphenyl ethers, Journal of Chromatography A, 2005, 1100(2), 200-207.

แมสโครมาโทแกรมของไอออนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ (247.9, 327.8, 405.8, 325.8, 403.7 และ 483.6 m/z) สำหรับตรวจวัดสารocta-BB, nona-BB และdeca-BB ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

สิทธิเดช ม., & ปัญญวัฒนกิจ ณ. (2022). การหาปริมาณสารในกลุ่ม PBBs และ PBDEs ในชิ้นส่วนพลาสติกของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบ RoHS โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 3(3), 68–79. https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.192