การเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนการวัดปริมาณปรอทในตัวอย่างน้ำที่ได้จากการประมาณค่าตามแนวทาง ISO/GUM และแนวทางการใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมพลของวิธี

ผู้แต่ง

  • นีระนารถ แจ้งทอง กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.185

คำสำคัญ:

ค่าความแน่นอนการวัด, ปรอท, กราฟมาตรฐาน

บทคัดย่อ

ผลการทดสอบทางเคมีต้องมีความน่าเชื่อถือทางมาตรวิทยาเคมี และต้องมีการรายงานค่าความไม่แน่นอนของการวัด เนื่องจากค่าความไม่แน่นอนของการวัดมีความสําคัญต่อการตัดสินค่าผลการทดสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ ค่าผลทดสอบที่ได้มีค่าใกล้เคียงกับเกณฑ์กําหนดที่ใช้ในการตัดสิน ข้อกําหนดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025:2005 จึงได้ กําหนดให้ห้องปฏิบัติการต้องมีวิธีดําเนินการในการหาค่าความไม่แน่นอนของการวัดเป็นแนวทางไว้สําหรับปฏิบัติ โดยต้องพิจารณาองค์ประกอบความไม่แน่นอนที่สําคัญทั้งหมดและใช้วิธีการคํานวณที่เหมาะสม บทความนี้จะกล่าวถึงการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนของการวัดปริมาณปรอทในตัวอย่างน้ำโดยเทคนิควิธี Flow Injection Atomic Absorption Spectrometry โดยใช้แนวทาง ISO/GUM และแนวทางการใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธี(method validation)

การศึกษาพบว่าแหล่งค่าความไม่แน่นอนตามแนวทาง ISO/GUM ได้แก่ ความเที่ยง ปริมาตรตัวอย่าง ปริมาตรแบลงค์ ความเข้มข้นของตัวอย่างที่วัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน ส่วนแหล่งค่าความไม่แน่นอนตามแนวทางการ ใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธี ได้แก่ ความเที่ยงและความลําเอียง ค่าความไม่แน่นอนขยายที่ ระดับความเชื่อมั่น 95% ที่ได้ค่าเท่ากับ 8.5 % และ 11% ตามลําดับ การประมาณค่าความไม่แน่นอนที่กล่าวในบทความนี้ สามารถนําไปประยุกต์ใช้กับวิธีทดสอบที่มีการวัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน

References

มลพิษจากโลหะหนัก. (Online). [อ้างถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557]. เข้าถึง: http://www. il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution 11.htm.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : มอก. 257-2549. น้ำบริโภค.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION/ INTERNATIONAL ELECTROTECHNICAL COMMISSION.ISO/IEC 17025:2005. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories.

EURACHEM/ CITAC. Guide CG4: quantifying uncertainty in analytical measurement. 3nd ed. (Online). 2012. (Viowed 18 April 2014). Available from: http://www.curachem.org.

BARWICK, V.J., and S.L.R. ELUSON. VAM Project 3.2.1 development and harmorisation of measurement uncertainty principles. Part(d) : protocol for uncertainty evaluation from validation data. Version 5.1.2000. (Viewed 18 April 2014). Available from: http://www.sademet.org/Waterpt/disc%202/measurement%20uncertainty/at01_VAM_uncertainty.pdf

AMERICAN PUBLIC HEALTH ASSOCIATION, AMERICAN WATER WORKS ASSOCIATION, and WATER ENVIRONMENT FEDERATION. Standard methods for the examination of water and wastewater. 22nd ed. Washington, D.C.: American Public Health Association, 2012, Part 3500-Hg

EURACHEM. Guide: the fitness for purpose of analytical methods, a laboratories guide for method validation and related topics. (Online). 1998 - (18 April 2014). Available from: http://www.eurachem.org.

แผนภูมิก้างปลาแสดงแหล่งค่าความไม่แน่นอนการวัดปริมาณปรอทในตัวอย่างนํ้าโดยใช้แนวทาง ISO/GUM [4]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2014

How to Cite

แจ้งทอง น. (2014). การเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนการวัดปริมาณปรอทในตัวอย่างน้ำที่ได้จากการประมาณค่าตามแนวทาง ISO/GUM และแนวทางการใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบความสมเหตุสมพลของวิธี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 3(3), 39–48. https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.185