การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบปริมาณแคดเมียม และตะกั่วที่ละลายจากกระดาษสัมผัสอาหาร

ผู้แต่ง

  • จิตวิไล เวฬุวนารักษ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นุจรินทร์ พลหงษ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วรุณรัตน์ บูรณะกุล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วันดี ลือสายวงศ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v10.2021.145

คำสำคัญ:

กระดาษสัมผัสอาหาร, แคดเมียม, ตะกั่ว

บทคัดย่อ

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบปริมาณแคดเมียม และตะกั่วที่ละลายจากกระดาษสัมผัสอาหารด้วยเทคนิค Inductively Coupled plasma optical emission spectrometry ตามวิธีทดสอบมาตรฐาน EN 12498:2005 Paper and board-Paper and board intended to come into contact with foodstuffs-Determination of cadmium and lead in an aqueous extract พบว่า ช่วงใช้งานของเครื่องมือสําหรับการทดสอบแคดเมียม และตะกั่ว เท่ากับ 5-50 และ 50-500 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ค่าขีดจํากัดการตรวจหาของแคดเมียม และตะกั่ว เท่ากับ 0.5 และ 5.0 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าขีด จํากัดในการวัดเชิงปริมาณของแคดเมียม และตะกั่ว เท่ากับ 5.0 และ 50 ไมโครกรัมต่อลิตร และการศึกษาค่าความโอนเอียง และความเที่ยง มีช่วงร้อยละการคืนกลับ และร้อยละของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของทั้งสองธาตุอยู่ในช่วง 85.3-94.4 และอยู่ในช่วง 0.63-2.92 ตามลําดับ ค่าความไม่แน่นอนของแต่ละธาตุมีค่าไม่เกินร้อยละ 15 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

References

Industry guideline for the compliance of paper & board materials and articles for food contact. Issue 1, [online]. 2010. [viewed 12 January 2021]. Available from: https://www.contactalimentaire.fr/sites/default/files/media/file/field_media_file/paper_board_industry guideline-final_2010.pdf

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก. 2948-2562. กระดาษสัมผัสอาหาร. 2562.

EURACHEM. The fitness for purpose of analytical methods. A laboratory guide to method validation and related topics, Second edition. 2014.

BARWICK, VJ. and S.L.R. ELLISON. VAM Project 3.2.1 Development and harmonisation of measurement uncertainty principles. Part (d): Protocol for uncertainty evaluation from validation data. [online]. 2000.

NATA. Technical Note 17 Guidelines for the validation and verification of quantitative and qualitative test methods, October 2013.

แหล่งความไม่แน่นอนของการวัดและปริมาณที่คำนวณได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-09-2022

How to Cite

เวฬุวนารักษ์ จ., พลหงษ์ น., บูรณะกุล ว., & ลือสายวงศ์ ว. (2022). การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบปริมาณแคดเมียม และตะกั่วที่ละลายจากกระดาษสัมผัสอาหาร . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 10(10), 46–51. https://doi.org/10.60136/bas.v10.2021.145