การศึกษาสมบัติดินแดงท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมเพื่อการผลิตเซรามิก
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.367คำสำคัญ:
ดินแดง, สโตนแวร์, เซรามิก, นครปฐมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาใช้ดินแดงในท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมให้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสโตนแวร์ที่มีความแข็งแรงสูง สามารถขึ้นรูปงานปั้นลอยตัว ทำการเตรียมตัวอย่างดิน ได้แก่ ดินนครปฐม (ดินที่ผ่านการกรองสิ่งเจือปนออก) และ ดินนครปฐมผสมแกลบ (ดินที่มีเศษไม้และรากไม้ปะปนอยู่) นำมาวิเคราะห์ทดสอบเพื่อเปรียบเทียบสมบัติกับดินเชียงใหม่ ซึ่งเป็นดินที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ดินทั้ง 3 ชนิดถูกนำไปอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นงานสี่เหลี่ยมก่อนจะนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1005 ถึง 1248 องศาเซลเซียส จากนั้นวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางแร่วิทยาและองค์ประกอบทางเคมี และทดสอบสมบัติทางกายภาพ เช่น สีหลังเผา การหดตัวหลังเผา การดูดซึมน้ำ ความแข็งแรง ความแข็งและอัตราการขยายตัวเมื่อร้อน ผลการศึกษาพบว่าดินนครปฐมสามารถพัฒนาให้เหมาะสมเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสโตนแวร์ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเผาอยู่ในช่วง 1105 ถึง 1200 องศาเซลเซียส ซึ่งดินจะมีค่าอัตราการดูดซึมน้ำต่ำกว่าร้อยละ 3 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดสโตนแวร์ สีของดินนครปฐมหลังเผาให้สีน้ำตาลแดง โดยมีค่า L* a* และ b* เท่ากับ 34.84 20.22 และ 34.81 ตามลำดับ ผลทดสอบเฟสของดินนครปฐมตรงกับเฟสของดินเชียงใหม่ ปรากฏเฟส ควอตซ์ คริสโตบาไลต์ มุลไลต์ และเฮมาไทต์ ดินนครปฐมมีอัตราการดูดซึมน้ำร้อยละ 0.00 ในขณะที่ดินนครปฐมผสมแกลบมีอัตราการดูดซึมน้ำร้อยละ 10.20 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน ดินนครปฐมมีความแข็งแรงเท่ากับ 39.08 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ซึ่งมีความแข็งแรงสูงกว่าดินเชียงใหม่ที่มีค่าความแข็งแรงเท่ากับ 22.58 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ดินนครปฐมมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเมื่อร้อน สูงกว่าเคลือบมาตรฐานเพียงเล็กน้อย เมื่อนำผลิตภัณฑ์เซรามิก ดินนครปฐมที่ผ่านการขึ้นรูปแบบปั้นลอยตัวไปทดลองชุบและเผาเคลือบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีความแข็งแรงสูง ไม่แตกหักเสียหาย สามารถผลิตเป็นเซรามิกสโตนแวร์เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมได้
References
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
ไพจิตร กิ่งศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2541.
Dodd AE. Dictionary of ceramics. 3rd ed. London: The Institute of Materials; 1994.
โกมล รักษ์วงศ์. วัตถุดิบที่ใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผาและเนื้อดินปั้น. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูพระนคร; 2531.
Boch P, Niepce JC. Ceramic materials. Great Britain: John Wiley & Sons; 2007.
ทวี พรหมพฤกษ์. เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2523.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร: สโตนแวร์. มอก. 602-2546 กรุงเทพฯ: สมอ; 2546.
ASTM International. Standard test method for drying and firing shrinkages of ceramic whiteware clays. ASTM C326-09(2018) [Internet]. 2019 [cited 2023 Feb 28]. Available from: https://www.astm.org/c0326-09r18.html doi: 10.1520/C0326-09R18
Somrang P, Wannagon A, Sornlar W, Choeycharoen P, Prasanphan S, Shongkittikul W. Lampang raw material characterization to assess the suitability for ceramics industry. Key Eng Mater. 2016;690:187-93.
ทนารัช จิตชาญวิชัย. ขี้เถ้าแกลบแทนซิลิกาสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกอุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/44814
สุทธิชัย ทีปประสาน. เทคนิคการทำเคลือบลายคล้ายผลึก [อินเทอร์เน็ต]. 2538 [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2538_43_137_p3-4.pdf
ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. ผลของค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนของดินขาวลำปางที่เติมวัตถุดิบกลุ่มฟลักซ์ต่างกัน [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/download/9561/8149/28262
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.