การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบปริมาณ แมงกานีส สังกะสี นิกเกิล โครเมียม โมลิบดินัม แคดเมียม และตะกั่วที่แพร่ออกมาจากภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียม
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.402คำสำคัญ:
ภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียม, วัสดุสัมผัสอาหาร, ธาตุที่แพร่หรือละลายบทคัดย่อ
ภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนเนื่องจากมีน้ำหนักเบา นำความร้อนได้ดี และราคาถูก อย่างไรก็ตามมีข้อด้อยของภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียม คือ เมื่อภาชนะสัมผัสกับอาหารที่เป็นกรด สามารถเกิดการแพร่หรือละลายออกมาของโลหะต่าง ๆ เข้าไปสู่อาหาร การพัฒนาวิธีทดสอบปริมาณโลหะที่แพร่ออกมาสู่สารที่เป็นตัวแทนอาหารจำเป็นต้องมีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ การศึกษานี้จึงเป็นการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบปริมาณแมงกานีส สังกะสี นิกเกิล โครเมียม โมลิบดินัม แคดเมียม และตะกั่วที่แพร่ออกมาจากภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียม ด้วยเทคนิคอินดักทีฟลีคัพเพิลพลาสมาออฟติคอลอิมิสชันสเปกโทรเมตรี (ICP-OES) ตาม Metals and alloys used in food contact materials and article. A practical guide for manufactures and regulators [1] พบว่าช่วงการใช้งานของเครื่องมือสำหรับการทดสอบแมงกานีส นิกเกิล โครเมียม โมลิบดินัม แคดเมียม ตะกั่ว เท่ากับ 0.05 – 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และสังกะสีเท่ากับ 0.10 – 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าขีดจำกัดการตรวจหาของแมงกานีส สังกะสี นิกเกิล โครเมียม โมลิบดินัม แคดเมียม และตะกั่ว เท่ากับ 1.0, 7.4, 0.6, 0.3, 0.3, 0.2 และ 2.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าขีดจำกัดในการวัดเชิงปริมาณของสังกะสีเท่ากับ 0.10 มิลลิกรัมต่อลิตร และธาตุที่เหลือเท่ากับ 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร การศึกษาค่าความโอนเอียงและความเที่ยงมีช่วงร้อยละการคืนกลับ และร้อยละของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ของทั้งเจ็ดธาตุอยู่ในช่วง 83.8 - 98.4 และ 0.45 - 4.17 ตามลำดับ และค่าความไม่แน่นอนขยายของแต่ละธาตุมีค่าไม่เกินร้อยละ ± 15 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ดังนั้นวิธีทดสอบปริมาณธาตุทั้งเจ็ดที่แพร่ออกมาจากภาชนะหุงต้มอะลูมิเนียมด้วยเทคนิค ICP-OES ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน
References
The Committee of Experts on Packaging Materials for Food and Pharmaceutical Products (P-SC-EMB), European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare. Metals and alloys used in food contact materials and article: A practical guide for manufactures and regulators. Strasbourg: Council of Europe; 2013.
The European Parliament and The Council of the European Union. REGULATION (EC) No 1935/2004 of the European Parliament and of the council of 27 October 2004 on materials and articles intended to come into contact with food and repealing Directives 80/590/EEC and 89/109/EEC [Internet]. 2004 [cited 2022 Dec 20]. Available from: https://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2004:338:0004:0017:en:PDF
Eurachem Method Validation Working Group. Eurachem guide the fitness for purpose of analytical methods- A laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. Belgium: Eurachem Secretary; 2014.
Barwick VJ, Ellison SLR. VAM Project 3.2.1 development and harmonisation of measurement uncertainty principles part (d): Protocol for uncertainty evaluation from validation data version 5.1 [Internet]. Teddington(UK): LGC (Teddington) Limited; 2000 [cited 2022 Dec 20]. Available from: http://www.demarcheiso17025.com/private/Protocol%20for%20uncertainty%20evaluation%20from%20validation%20data.pdf
ศศิธร หอมดำรงวงศ์, จตุรงค์ สินแก้ว, อุมา บริบูรณ์. การวิเคราะห์ตะกั่ว แคดเมี่ยม และอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาจากภาชนะหุงต้ม. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558;57:37-47.
Sander S, Kappenstein O, Ebner I, Fritsch K-A, Schmidt R, Pfaff K, et al. Release of aluminium and thallium ions from uncoated food contact materials made of aluminium alloys into food and food simulant. PLoS ONE [Internet]. 2018 [cited 2022 Dec 20];13:1- 15. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0200778
Stahl T, Falk S, Rohrbeck A, Georgii S, Herzog C, Wiegand A, et al. Migration of aluminum from food contact materials to food – a health risk for consumers? Part III of III: migration of aluminum to food from camping dishes and utensils made of aluminum. Environ Sci Eur. 2017;29:17. doi:10.1186/s12302-017-0117-x.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.