การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์หาปริมาณไมทราไจนีนในสารสกัดใบกระท่อมโดยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.621คำสำคัญ:
ไมทราไจนีน, กระท่อม, โครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ปริมาณไมทราไจนีนในใบกระท่อม และทดสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ที่ดัดแปลงมาจากวิธีของ AOAC (Mudge and Brown, 2017) และ Limsuwanchote และคณะ (2017) ในการหาปริมาณไมทราไจนีนในตัวอย่างสารสกัดใบกระท่อม ซึ่งพบว่าวิธีวิเคราะห์มีความจำเพาะเจาะจงและมีช่วงความเป็นเส้นตรงของวิธีวิเคราะห์ที่ดี โดยอยู่ในช่วง 5 - 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.9996 ความถูกต้องของวิธีซึ่งแสดงด้วยร้อยละการคืนกลับ พบว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 101.19 -103.26 ค่าความเที่ยงแสดงด้วยร้อยละของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ ที่วิเคราะห์ภายในวันและต่างวัน มีค่าน้อยกว่า 3% ค่าขีดจำกัดในการตรวจพบและขีดจำกัดในการวัดเชิงปริมาณของไมทราไจนีน เท่ากับ 0.108 มิลลิกรัมต่อกรัมและ 0.125 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับของวิธีทดสอบตามมาตรฐาน Standard Method Performance Requirements (SMPR) for Alkaloids of Mitragyna speciosa จากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างใบกระท่อมจากแหล่งต่าง ๆ จำนวน 15 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์ตามวิธีที่ผ่านการทดสอบความใช้ได้แล้ว พบว่า ตัวอย่างใบกระท่อมมีปริมาณไมทราไจนีน อยู่ในช่วง 2.30 - 25.54 mg/g ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าวิธีการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ และเหมาะสมสำหรับการตรวจหาปริมาณสารไมทราไจนีนในตัวอย่างสารสกัดใบกระท่อม
References
จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล. พืชกระท่อมในตำรับยาแผนไทยกับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์. วารสารสำนักงาน ปปส. 2562 มิถุนายน-กันยายน;35(3):19-22.
Flores-Bocanegra L, Raja HA, Graf TN, Augustinovic M, Wallace ED, Hematian S, et al. The chemistry of Kratom [Mitragyna speciosa]: Updated characterization data and methods to elucidate indole and oxindole alkaloids. J Nat Prod. 2020;83:2165-77. doi: 10.1021/acs.jnatprod.0c00257.
Halpenny GM. Mitragyna speciosa: Balancing potential medical benefits and abuse. ACS Med Chem Lett. 2017;8:897-9. doi: 10.1021/acsmedchemlett.7b00298.
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โอกาสและความท้าทายสำหรับการส่งออกพืชกระท่อมสู่สหรัฐอเมริกา [อินเทอร์เนต]. ตุลาคม 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฏาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/dc-news-files-441991791372
มัญชุสา ตั้งเจริญ. สถานะทางกฎหมายของพืชกระท่อมในอินโดนีเซียกับอนาคตพืชกระท่อมไทยในตลาดโลก [อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฏาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20220421202054.pdf
Takayama H. Chemistry and pharmacology of analgesic indole alkaloids from the rubiaceous plant, Mitragyna speciosa. Chem Pharm Bull. 2004;52:916-28. doi: 10.1248/cpb.52.916.
Mudge EM, Brown PN. Determination of mitragynine in Mitragyna speciosa raw materials and finished products by liquid chromatography with UV detection: Single-laboratory validation. J AOAC Int. 2017; 100(1):18-24.
Mudge EM, Brown PN. Determination of Alkaloids in Mitragyna speciosa (Kratom) Raw Materials and Dietary Supplements by HPLC-UV: Single-Laboratory Validation, First Action 2017.14. J AOAC Int. 2018; 100(4):964-5.
Limsuwanchote S, Putalun W, Keawpradub N, Tanaka H, Morimoto S, Wungsintaweekul J. Anti-mitragynine monoclonal antibody-based ELISA for determination of alkaloids in the kratom cocktail. Forensic Toxicol. 2017; 35(1):167-72.
Wungsintaweekul J. Methyl jasmonate and yeast extract stimulate mitragynine production in Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth. shoot culture. Biotechnol Lett. 2012;34(10):1945-50. doi: 10.1007/s10529-012-0968-6.
Itilmas C, Betz J, Brown P, Burdette C, Cain T, Collison M, et al. AOAC SMPR 2015:008 Alkaloids of Mitragyna speciosa. AOAC Int [Internet]. 2015 [cited 2023 July 3];98(4): 1106–08. Available from: https://doi.org/10.5740/jaoac.int.SMPR2015.008
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว (A practical guide for single laboratory methods validation of chemical method). นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
Sengnon N, Vonghirundecha P, Chaichan W, Juengwatanatrakul T, Onthong J, Kitprasong P, et al. Seasonal and geographic variation in alkaloid content of Kratom (Mitragyna speciose (Korth.) Havil.) from Thailand. Plants. 2023;12(4):949. doi: 10.3390/plants12040949.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.