การพัฒนาวัสดุป้องกันรังสีโดยใช้ยางธรรมชาติผสมโบรอนออกไซด์และโลหะออกไซด์

ผู้แต่ง

  • นิชาภา บัวสุวรรณ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อรวรรณ ปิ่นประยูร กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ศิริพร ช้างน้อย กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ธิติ เรืองสีสำราญ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.570

คำสำคัญ:

ยางธรรมชาติ, รังสี, ชุดป้องกันรังสี

บทคัดย่อ

แผ่นยางป้องกันรังสีสำหรับผลิตชุดป้องกันรังสีนิวตรอน รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา ถูกพัฒนาขึ้นจากยางธรรมชาติผสมโบรอนออกไซด์สำหรับป้องกันรังสีนิวตรอน ตะกั่วออกไซด์และทังสเตนออกไซด์สำหรับป้องกันรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา ผลการศึกษาสมบัติการป้องกันรังสีนิวตรอนจากต้นกำเนิดนิวตรอน 241Am-Be (Americium-Beryllium) พบว่า แผ่นยางป้องกันรังสีสูตรที่เติมสารโบรอนออกไซด์ 40 phr  ให้ค่าการลดทอนรังสีนิวตรอน ร้อยละ 18 ซึ่งดีกว่าวัสดุกำบังรังสีที่มีในท้องตลาดซึ่งทำมาจากพอลิเอทิลีน ที่ให้ค่าการลดทอนรังสีนิวตรอน ร้อยละ 11 ที่ความหนาเท่ากัน คือ 2 mm แต่แผ่นยางที่เติมโบรอนออกไซด์เมื่อขึ้นรูปแล้วตัวแผ่นยางเกิดเกล็ดสีขาวเล็กๆ ทั่วทั้งแผ่น และสมบัติทางกายภาพความต้านแรงดึงต่ำมาก แผ่นยางสูตรนี้จึงยังไม่เหมาะสมที่จะนำมาผลิตเป็นชุดป้องกันรังสี งานวิจัยยังได้ศึกษาสมบัติการลดทอนรังสีเอกซ์โดยใช้เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ และรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีแกมมา 137Cs พบว่า  ความสามารถในการลดทอนรังสีของแผ่นยางป้องกันรังสีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อปริมาณตะกั่วออกไซด์และทังสเตนออกไซด์ในแผ่นยางสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบค่าการลดทอนรังสีเอกซ์และรังสีแกมมา กับชุดป้องกันรังสีที่มีขายตามท้องตลาดที่ทำจากยางสังเคราะห์ พบว่า สูตรที่เติมตะกั่วออกไซด์ 500 phr มีค่าการลดทอนรังสีเอกซ์ ร้อยละ 87 ค่าการลดทอนรังสีแกมมา ร้อยละ 8.8 และสูตรที่เติมทังสเตนออกไซด์ 900 phr มีค่าการลดทอนรังสีเอกซ์ ร้อยละ 85 ค่าการลดทอนรังสีแกมมา ร้อยละ 8.3 ซึ่งดีกว่าชุดป้องกันรังสีที่มีขายตามท้องตลาด ที่มีค่าการลดทอนรังสีเอกซ์ ร้อยละ 84 ค่าการลดทอนรังสีแกมมา ร้อยละ 6.2 ที่ความหนาเท่ากัน คือ 2 mm จากผลการศึกษาสมบัติทางกายภาพพื้นฐานของแผ่นยางป้องกันรังสี ได้แก่ ความแข็ง ความต้านแรงดึง ความยืดเมื่อขาด และความต้านแรงฉีกขาด พบว่า แผ่นยางป้องกันรังสีสูตรที่เติมตะกั่วออกไซด์ 500 phr ที่มีปริมาณสารป้องกันรังสีสูงขึ้นจะมีค่าสมบัติทางกายภาพมีแนวโน้มลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่แผ่นยางป้องกันรังสี สูตรที่เติมทังสเตนออกไซด์ 900 phr มีสมบัติความต้านแรงดึงต่ำมากจึงต้องพิจารณาการใช้งานอย่างเหมาะสมต่อไป

References

สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. ความรู้เกี่ยวกับรังสีเบื้องต้น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.aoed.org/articles/2020/september/radiation/

เกียรติศักดิ์ แสนบุญเรือง, เอกชัย วิมลมาลา, ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ, กีรติกานต์ นิลยอง. การผลิตแผ่นกำบังอนุภาคนิวตรอนและรังสีแกมมาจากวัสดุเชิงประกอบยางธรรมชาติผสมผงขี้เลื้อยไม้ ระยะที่ 2: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2560.

อรสา อ่อนจันทร์, นิชาภา บัวสุุวรรณ. บล็อกยางกำบังนิวตรอนและรังสีแกมมาจากยางธรรมชาติ. Bulletin of Applied Sciences. 2017;6(6):80-87.

Picha R, Channuie J, Khaweerat S, Liamsuwan T, Promping J, Ratanatongchai W, et al. Gamma and neutron attenuation properties of barite-cement mixture. J Phys: Conf Ser. 2015;611:012002.

Kato M, Chida K, Munehisa M, Sato T, Inaba Y, Suzuki M, Zuguchi M, et al. Non-lead protective aprons for the protection of interventional radiology physicians from radiation exposure in clinical settings: An initial study. Diagnostics. 2021;11(9):1613.

Mori H, Koshida K, Ishigamori O, Matsubara K. Evaluation of the effectiveness of X-ray protective aprons in experimental and practical fields. Radiol Phys Technol. 2014;7(1):158–66.

Kim SC, Choi JR, Jeon BK. Physical analysis of the shielding capacity for a lightweight apron designed for shielding low intensity scattering X-rays. Sci Rep. 2016;1-7.

International Electrotechnical Commission (IEC). Protective devices against diagnostic medical X-radiation – Part 3: Protective clothing, eyewear and protective patient shields. IEC 61331-3:2014. London, UK: IEC; 2014.

Büermann L. Determination of lead equivalent values according to IEC 61331-1:2014—Report and short guidelines for testing laboratories. J Instrum. 2016;11:T09002. doi: 10.1088/1748-0221/11/09/T09002

แผนภาพแสดงชุดเครื่องมือสำหรับวัดการป้องกันรังสีแกมมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2023

How to Cite

บัวสุวรรณ น., ปิ่นประยูร อ., ช้างน้อย ศ., & เรืองสีสำราญ ธ. (2023). การพัฒนาวัสดุป้องกันรังสีโดยใช้ยางธรรมชาติผสมโบรอนออกไซด์และโลหะออกไซด์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 12(2), 35–54. https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.570