การพัฒนาคุณภาพดินโดยใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ผู้แต่ง

  • สายจิต ดาวสุโข กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • โสรญา รอดประเสริฐ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.303

คำสำคัญ:

ถ่านชีวภาพ, การปรับสภาพดิน, วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพดินในพื้นราบที่สูงโดยใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นวัสดุปรับปรุงดินมีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการปรับปรุงคุณภาพของดินแทนการใช้สารเคมี ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน เปลือกกล้วย และเปลือกแมคคาดีเมีย ที่เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ (400 องศาเซลเซียส) โดยเตาชีวมวลแบบแก๊สซิไฟเออร์ (Anila Stove type) มีค่า pH อยู่ใน ช่วง 7-10 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เมื่อนําถ่านชีวภาพแต่ละชนิดที่ได้มาปรับปรุงความเป็นกรดของดินในที่ราบสูง ณ อ.ภูเรือ จ.เลย พบ ว่าการปรับปรุงดินโดยใช้ถ่านชีวภาพร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก สามารถปรับค่า pH ของดินจาก 6 เป็น 7 ได้ และดินที่ได้มีความเสถียรมากกว่า การใช้ปูนขาวที่อัตราส่วนเดียวกัน นอกจากนี้ได้มีการทดลองใช้ถ่านชีวภาพในอัตราส่วนร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ในแปลงปลูกต้นมะกอกน้ำมัน ที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูง อ.ภูเรือ จ.เลย หลังจากใส่ถ่านชีวภาพนาน 1 ปี จึงทําการเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ พบว่าดินที่ทําการปรับปรุงด้วย ถ่านชีวภาพมีค่า pH ที่เป็นกลางมากขึ้นรวมทั้งมีค่าความชื้น ปริมาณอินทรียวัตถุ และโปแทสเซียมในดินสูงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับดินที่ไม่ได้ใช้ถ่านชีวภาพ

References

LEHMANN, J., GAUNT, J. and RONDON, M. Bio-char sequestration in terrestrial ecosystems - a review. Mitigation and Adaptation Strategies for Global Change, 2006, 11(2), 395-419.

ATKINSON, C.J. and FITZGERALD, J. D. Portential mechanisms for achieving agricultural benefits from biochar application to temperate soils: a review. Plant Soil, 2010, 337(1), 1-18.

FREIBAUER, A. et al. Carbon sequestration in agricultural soil of Europe. Geoderma, 2004, 122(1): 1-23.

PRABHA, S. V. et al. A study of the fertility and carbon sequestration potential of rice soil with respect to the application of biochar and selected amendments. Annals of Environmental Sceince, 2013, 7, 17-30.

DEMIRBAS, A. Effects of temperature and particle size on bio-char yield from pyrolysis of agricultural residues. Journal of Analytical and Applied Pyrolysis, 2004, 72(2), 243-248.

PENG, X. et al. Temperature- and duration-dependent rice straw-derived biochar: Characteristics and its effects on soilproperties of an Ultisol in southern China. Soil an d Tillage Research, 2011, 112(2), 159-166.

WANG, L. et al. Effect of crop residue biochar on soil acidity amelioration in strongly acidic tea garden soils. Soil Use and Management, 2014, 30(1), 119-128.

ASAI, H. et al. Biochar amendment techniques for upland rice production in Norther Loas 1. Soil physical properties, leaf SPAD and grain yield. Field Crops Research, 2009, 111(1-2), 81-84.

AHMED KHAN, M. et al. Nutrient-impregnated charcoal: an environmentally friendly slow-release fertilizer. Environmentalist, 2008, 28(3), 231-235.

NOVAK, J. et al. Impact of biochar amendment on fertility of a southeastern coastal plain soil. Soil Science, 2009, 174(2), 105-112.

MUKHERJEE, A. et al. Surface chemistry variation among a series of laboratory-produced biochars. Geoderma, 2011, 163(34), 247-255.

สํานักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547. คู่มือวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ํา ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการตรวจวิเคราะห์เพื่อการรับรองมาตรฐานสินค้าเล่ม 1. [กรุงเทพฯ) : กรมพัฒนาที่ดิน. 184 หน้า

RICHARDS, L. A. Capillary conduction of liquids through porous mediums. Journal of Applied Physics, 1931, 1, 318-333.

YOUNG, B. C. Factors affecting the volatile-matter yield from chars. Fuel, 1980, 59(2), 107-111.

HAYNES, R. J. and NAIDU, R. Influence of lime fertilizer and manure applications on soil organic matter content and soil physical conditions: a review. Nutrient Cycling in Agroecosystems, 1998, 51(2). 123-37.

The effect of biochar addition on the NPK of soil. Biochars from durian shell (DB), banana peel (BB), and macadamia (MB) were added into the soil of olive tree experimental plot for 12 months.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015

How to Cite

ดาวสุโข ส., & รอดประเสริฐ โ. . (2015). การพัฒนาคุณภาพดินโดยใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 95–102. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.303