การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอ
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.302คำสำคัญ:
ฟอร์มาลดีไฮด์, ฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอ, สิ่งทอ, โครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูงบทคัดย่อ
การทดสอบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอด้วยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีและตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดไดโอดอาร์เรย์ การเตรียมตัวอย่างตามมาตรฐาน ISO 14184-1 และ ST 2002 โดยการสกัดฟอร์มาลดีไฮด์อิสระจากตัวอย่างสิ่งทอด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทําปฏิกิริยาเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับ 2,4-dinitrophenylhydrazine แล้วทดสอบปริมาณด้วยเครื่องไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟ ซึ่งตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดไดโอดอาเรย์ที่ความยาวคลื่น 360 นาโนเมตร มีขีดจํากัดในการตรวจหาของวิธีทดสอบ (limit of detection, LOD) เท่ากับ 0.66 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีขีดจํากัดในการวัดเชิงปริมาณ (immit of quantitation, LOQ) เท่ากับ 7.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วงการทดสอบฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอเท่ากับ 7.6 ถึง 86.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถทดสอบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอตามข้อกําหนดของประเทศในสหภาพยุโรปซึ่งกําหนดให้เสื้อผ้าเด็กหรือเสื้อผ้าที่สัมผัสโดยตรงกับผิวหนัง พบฟอร์มาลดีไฮด์ได้ไม่มากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สําหรับประเทศญี่ปุ่นกําหนดให้เสื้อผ้าสําหรับเด็กอายุน้อยกว่า 24 เดือนพบฟอร์มาลดีไฮด์ได้ไม่มากกว่า 16 ไมโครกรัมต่อกรัม สําหรับเด็กอายุมากกว่า 24 เดือนพบได้ไม่มากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อกรัม การหาความใช้ได้ของวิธีทดสอบโดยศึกษาคุณลักษณะที่สําคัญของเทคนิคนี้ ได้แก่ความสัมพันธ์เชิงเส้น (Linearity) ขีดจํากัดการตรวจหา (limit of detection, LOD) ขีดจํากัดการวัด เชิงปริมาณ (limit of quantitation, LOQ) ความโอนเอียง (bias) ความเที่ยง (precision) ผลกระทบจากเนื้อสาร (matrix effect) และการประมาณค่าความไม่แน่นอน ผลการตรวจสอบความโอนเอียงมีค่าคืนกลับอยู่ในช่วงร้อยละ 90 ถึง 110 และการตรวจสอบความเที่ยงมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ 5 ข้อมูลจากการศึกษาความโอนเอียงสามารถสามารถนํามาประเมินผลกระทบจากเนื้อสาร พบว่าวิธีทดสอบนี้ไม่มีผลกระทบจากเนื้อสาร นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาความโอนเอียงและความเที่ยงสามารถใช้ประมาณค่า ความไม่แน่นอนของฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอด้วยวิธีทดสอบนี้ด้วย โดยความไม่แน่นอนขยายของฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอน้อยกว่าร้อยละ 20 ที่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ซึ่งสอดคล้องกับค่าความไม่แน่นอนเป้าหมาย ซึ่งวิธีทดสอบที่พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วพบว่า เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานห้องปฏิบัติการสามารถนําไปใช้เพื่อให้บริการทดสอบหาปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในสิ่งทอโดยเทคนิค ไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี
References
Textiles – Determination of formaldehyde – Part 1: Free and hydrolyzed formaldehyde (water extraction method). ISO 14184-1. 1998.
Toy safety standard ST 2002, The Japan Toy Association, 10th ed. 2010.
Leather - Chemical determination of formaldehyde content - Part 1: Method using high performance liquid chromatography. ISO 17226-1. 2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.