การทํากลีเซอรอลดิบให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี

ผู้แต่ง

  • สุพะไชย์ จินดาวุฒิกุล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จิราภรณ์ บุราคร กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นงลักษณ์ บรรยงวิมลณัฐ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.301

คำสำคัญ:

ไบโอดีเซล, กลีเซอรอลดิบ, การทําให้บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการทําให้กลีเซอรอลดิบ (Crude glycerol) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซลให้มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของกลีเซอรอลดิบ ซึ่งกลีเซอรอลดิบมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดสีดํา จากการวิเคราะห์พบว่ามีกลีเซอรอลเพียงร้อยละ 54 จึงไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิง การทํากลีเซอรอลให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีนั้น จําเป็นต้องเตรียมกลีเซอรอลดิบตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ นํากลีเซอรอลดิบมาเติมเมทานอล เพื่อลดความหนืดของกลีเซอรอลดิบในเบื้องต้นจากนั้นจึงปรับค่าความเป็นกรด-เบสโดยใช้กรดซัลฟิวริกเพื่อแยกเกลือออกไป พบว่าที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 2 สามารถตกตะกอนเกลือได้ดีที่สุด จากนั้นกรองเกลือและสารเจือปนอื่นๆ ออก พร้อมทําการฟอกสีและกําจัดกลิ่นด้วยถ่านกัมมันต์ จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนค่าความเป็นกรด-เบส เพื่อตกตะกอนถ่านกัมมันต์ พบว่าใช้เวลาตกตะกอนถ่านกัมมันต์น้อยที่สุดที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 6 ซึ่งถ่านกัมมันต์จะถูกแยกออกด้วยชุดเครื่องกรองสุญญากาศ จากนั้นได้กําจัดเมทานอลและน้ำด้วยความร้อน 120 องศาเซลเซียส โดยแปรเวลาในการให้ความร้อน พบว่าที่เวลา 120 นาที จะได้กลีเซอรอลบริสุทธิ์ที่สุดที่ร้อยละ 89 จากนั้นจึงนํากลีเซอรอลมากรองด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่าสามารถเพิ่มความบริสุทธิ์ของกลีเซอรอลได้ถึงร้อยละ 92.19 มีความเหมาะสมที่จะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง เช่น สบู่ และโลชั่น สร้างมูลค่า เพิ่มแก่กลีเซอรอลให้มากยิ่งขึ้น

References

นพวรรณ ชนัญพานิช และคนอื่นๆ การทํากลีเซอรอลจากกระบวนการผลิตไบไอดีเซลให้บริสุทธิ์ (Purification of glycerine from biodiesel production), วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2552, 19(1) 66-72.

อมร อุนเสน , อมรศิริ กุมพล และอิวัฒน์ เจริญบุตร. การทํากลีเซอรอลจากผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

วรารัตน์ เลิศสนเมธากุล. กระบวนการผลิตกลีเซอรอลคาร์บอเนตจากกลีเซอรอลดิบที่ได้จากกระบวนการไบโอดีเซล (Production of Glycerol Carbonate from Crude Glycerol Produced from Biodiesel Production), ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, 2553.

สุธิดา อรรถยานันทน์ และอมรชัย อากรณ์วิชานพ. ทําความรู้จักกับกลีเซอรอลว่าที่พลังงานทดแทนในอนาคต, Technology Promotion, ธ.ค. 2555-ม.ค.2556, 39(226) 49-52.

เสาวลักษณ์ นกอยู่ และเอกพล หมื่นจํานงค์, กระบวนการปรับปรุงคุณภาพกลีเซอรอลจากไบโอดีเซล(2) Purification of Glycerol from Biodiesel (2), ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2553.

ปิยนาฏ อินทนกูล, การทํากลีเซอรอลที่ได้จากการผลิตน้ํามันชีวภาพให้บริสุทธิ์ (Purification of Glycerol From Biodiesel Production) ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวะกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2547.

คันธารส จักรตอน และคณะ. การทํากลีเซอรีนให้บริสุทธิ์จากผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตดีเซลชีวภาพ. ศูนย์นวัตกรรมวิศวกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม, ภาควิชาวิศวกรรม คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์, 2550

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครมาโตกราฟี (CHROMATOGRAPHY).[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://www.chemistry.Sc.chula.ac.th

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเทคนิคในห้องปฏิบัติการเคมี Chemical Laboratory Techniques. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://www.sci. ทน. th/chemistry/directionlab/media-doc/.../lab 1

Determination of Glycerine content, British standard 5711: Part 3. 1979.

Determination of Non-Volatile matter content, American Society for Testing and Materials, ASTM :E 1235-01. 2001.

OOI, T.L., et al. Crude glycerine recovery from glycerol residue waste from a plam kernel oil methyl ester plant. Journal of Oil Palm Research, 2011, 3(2), 16-22.

YONG, K.C., et al. Refine of crude glycerine recovered from glycerine by simple vacuum distillation. Journal of Oil Palm Research, 2001, 13(2), 1-6.

SWEARINGEN, T. 1999. Separating glycerine/ FFAs. [Online]. [viewed 15 December 2007]. Available from: http://www.journeytoforever.html

TOVBIN, I.M., M.N. ZALIOPO, and A.M. ZURAVLEV. 2005. Soap manufacturing and alternative method of glycerol purification. [Online]. [viewed 30 August 2007]. Available from: http://www.sciencemadness.org/talk/viewthread.php?tid

แสดงการแยกชั้นของกลีเซอรอลในการปรับค่าความเป็นกรด - เบสที่ 2 ด้วยกรดซัลฟิวริก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015

How to Cite

จินดาวุฒิกุล ส., บุราคร จ., & บรรยงวิมลณัฐ น. . (2015). การทํากลีเซอรอลดิบให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 81–88. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.301