การหาปริมาณสารเมลามีนในวัสดุสัมผัสอาหาร โดยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ลาภวิบูลย์สุข กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สมภพ ลาภวิบูลย์สุข กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.294

คำสำคัญ:

เมลามีน, โครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูง, วัสดุสัมผัสอาหาร

บทคัดย่อ

วัสดุสัมผัสอาหารประเภทเมลามีนผลิตจากเมลามีนเรซินหรือเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันระหว่างเมลามีนและฟอร์มัลดีไฮด์ ทําให้สารเมลามีนอาจเกิดการตกค้างที่วัสดุสัมผัสอาหารและปนเปื้อนสู่อาหารได้ สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) No 1282/2011 จํากัดปริมาณสารเมลามีนหรือ specific migration limit (SML) คือ 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้นงานวิจัยนี้ศึกษาวิธีทดสอบสารเมลามีนที่เคลื่อนย้ายจากวัสดุสัมผัสอาหาร โดยใช้สารละลายตัวแทนอาหารเป็นกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 3 และตรวจวัดด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูง พบว่าวิธีการทดสอบที่เหมาะสมใช้เวลาการสกัดที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และจากการทวนสอบความใช้ได้ของวิธี พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นในระดับความเข้มข้น 2 ถึง 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขีดจํากัดการตรวจพบ (Limit of detection, LOD) เท่ากับ 0.60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขีดจํากัดการวัดปริมาณ (Limit of quantitation, LOQ) เท่ากับ 2.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยค่าความแม่น (accuracy)แสดงด้วยร้อยละการคืนกลับและความเที่ยง (precision) แสดงด้วยร้อยละของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (relative standard deviation %RSD) รวมทั้งค่าความไม่แน่นอนเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับของวิธีทดสอบสําหรับวัสดุสัมผัสอาหาร EUR 24105 EN: 2009 นอกจากนี้ได้สุ่มตัวอย่างภาชนะบรรจุอาหารประเภทชาม เมลามีนตามท้องตลาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครนํามาทําการทดสอบพบว่าสารเมลามีนมีค่าอยู่ระหว่าง ไม่พบ ถึง 15.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

References

LUTTER, P., et al. Screening and confirmatory methods for the determination of melamine in cow's milk and milk-based powdered infant formula: Validation and proficiency-tests of ELISA, HPLC-UV, GC-MS and LC-MS/MS. Food Control, 2011, 22, 903-913.

FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION AND WORLD HEALTH ORGANIZATION. Toxicological and Health Aspects of Melamine and Cyanuric Acid. Geneva : FAO/WHO, 2009, p.1-74.

FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION AND WORLD HEALTH ORGANIZATION. Codex Alimentarius Commission. Agenda Item 5, CX/CF 10/4/5: FAO/WHO, March 2010, p.1-25.

LAM, C.W., et al. Diagnosis and spectrum of melamine-related renal disease: Plausible mechanism of stone formation in humans. Clin. Chim. Acta., 2009, 402, 150-155.

TOLLESON, W.H., G.W. DIACHENKO, and D. HELLER. Background paper on the chemistry of melamine alone and in combination with related compounds. Prepared for the WHO Meeting on Toxicological and Health Aspects of Melamine and Cyanuric Acid, in collaboration with FAO and supported by Health Canada, 1-4 December 2008.

WORLD HEALTH ORGANIZATION. Melamine and Cyanuric acid: Toxicity, Preliminary Risk Assessment and Guidance on Levels in Food. 30 October 2008.

TITTLEMIER, S.A. Methods for the analysis of melamine and related compounds in foods: a review. Food Addit. Contam., 2010, 27, 129-145.

LU, J., et al. Study on Migration of Melamine from Food Packaging Materials on Markets. Biomed. Environ. Sci., 2009, 22, 104-108.

UNITED STATES DEPARTMENT OF AGRICULTURE FOOD SAFETY AND INSPECTION SERVICE, Office of Public Health Science. Determination and Confirmation of Melamine by LC/MS/MS. 12 February 2008. p.1-24.

BRADLEY, E.L., et al. Comparison of the migration of melamine from melamine-formaldehyde plastics ('melaware') into various food simulants and foods themselves. Food Addit. Contam.: Part A., 2010, 1755-1764.

CHIK, Z., D.E. MOHAMAD HARON, and E.D. AHMAD. Analysis of melamine migration from melamine food contact articles. Food Addit. Contam., 2011, 28, 967-973.

JIE, L., J. XIAO., and D.J. YANG. Study on migration of melamine from food packaging materials on markets. Biomed. Environ. Sci., 2009, 22, 104-108.

ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ 40 70 และ 100 องศาเซลเซียสกับปริมาณ เมลามีนที่เคลื่อนย้ายจากวัสดุสัมผัสอาหาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015

How to Cite

ลาภวิบูลย์สุข จ., & ลาภวิบูลย์สุข ส. (2015). การหาปริมาณสารเมลามีนในวัสดุสัมผัสอาหาร โดยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 53–59. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.294