การสํารวจคุณลักษณะน้ำทิ้งจากกระบวนการย้อมผ้าไหมด้วยสีเคมี : กรณีศึกษา สถานประกอบการโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อมรพล ช่างสุพรรณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เทพวิทูรย์ ทองศรี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุรัตน์ เพชรเกษม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วราภรณ์ กิจชัยนุกูล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ชนินทร์ เลิศคณาวนิชกุล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ณตะวัน ทิพย์วิเศษ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วสันต์ ธีระพิทยานนท์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • กัญญา ม่วงแก้ว กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นิมิต พาลี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จิระฉัตร ศรีแสน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วีรภัทร์ ทองอนันต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • พรวิภา นารถมณี กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.292

คำสำคัญ:

น้ำเสีย, น้ำทิ้ง, ไหมไทย, ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน, การย้อมสี

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ประสบความสําเร็จภายใต้โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่พอเพียงให้กับชุมชนได้ แต่กระบวนการผลิตผ้าไหมไทยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดน้ำเสียแม้ว่าจะเป็นการผลิตในครัวเรือนหรือในชุมชนก็ตาม โดยกระบวนการที่ก่อให้เกิดน้ำเสียคือกระบวนการย้อมไหม และน้ำเสียที่เกิดขึ้นถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำและแหล่งดินธรรมชาติในบริเวณท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่ได้รับการบําบัดอย่างถูกวิธี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณลักษณะของน้ำเสียจากกระบวนการย้อมไหมด้วยสีเคมีเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการน้ำเสียและออกแบบระบบบําบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสําหรับครัวเรือนและชุมชน โดยเก็บตัวอย่างจากสถานประกอบการ OTOP ประเภทผ้าทอ (ผ้าไหม) ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จากผู้ประกอบการ 4 รายใน 4อําเภอ การเก็บตัวอย่างน้ำเสียจะเก็บทุกขั้นตอนในกระบวนการย้อมสี ทั้งนี้ได้ตัวอย่างน้ำเสียทั้งหมด 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำเสียที่เก็บได้นํามาทดสอบ หาปริมาณ ความเข้มสี พีเอช (pH) ซีโอดี (Chemical oxygen demand; COD) ของแข็งแขวนลอย (Suspended solids; SS) ของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด (total dissolved solids; TDS) และโลหะหนัก ผลการทดสอบพบว่าน้ำเสียจากขั้นตอนการย้อมไหมมีพีเอช 1.7-8.8, ซีโอ ดี 1,847-3,439 มิลลิกรัม/ลิตร, ของแข็งแขวนลอย 271-1,200 มิลลิกรัม/ลิตร และของแข็งที่ละลายทั้งหมด 3,000-22,739 มิลลิกรัม/ลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานน้ำทิ้งของประเทศไทยพบว่า ซีโอดี ของแข็งแขวนลอย และของแข็งที่ละลายทั้งหมด มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน กําหนด สําหรับพีเอชมีตัวอย่างเดียวที่มีค่าไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สําหรับในกรณีปริมาณความเข้มสีซึ่งมีค่า 196-10,950 เอดีเอ็มไอ เมื่อ เทียบกับค่าแนะนําของประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศไทยยังไม่ได้กําหนดมาตรฐาน) พบว่ามีค่าความเข้มสีเกินค่าแนะนําในกรณีของปริมาณโลหะหนัก ผลการทดสอบตัวอย่างน้ำเสียพบว่ามีปริมาณโลหะหนักน้อยมาก และอยู่ในเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานน้ำทิ้งของประเทศไทย

References

AGRIFOOD CONSULTING INTERNATIONAL. Northeast Thailand silk value chain study. [Online]. [viewed 14 August 2014]. Available from: www.agrifoodconsulting.com.

MO, J., et al. Pretreatment of dyeing wastewater using chemical coagulants. Dyes and Pigments, 2007, 72(2), 240-245.

WANG, C.T., et al. Paired removal of color and COD from textile dyeing wastewater by simultaneous anodic and indirect cathodic oxidation. Journal of Hazardous Materials, 2009, 169(1-3), 16-22.

AMERICAN PUBLIC HEALTH ASSOCIATION, THE AMERICAN WATER WORKS ASSOCIATION, and THE WATER ENVIRONMENT FEDERATION. Standard methods for the examination of water and wastewater, 21st ed. Washington, DC : American Public Health Association, 2005.

UNITED STATES ENVIRONMENTAL PROTECTION AGENCY. Mercury in solids and solutions by thermal decomposition amalgamation and atomic absorption spectrophotometry. Method 7473.2007.

กระทรวงอุตสาหกรรม, ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่องกําหนดคุณลักษณะของน้ําทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน, 2539.

ASTHMA AND ALLERGY FOUNDATION OF AMERICA. Global Textile Effluent Guidelines. [Online]. [viewed 22 August 2014). Available from: https://www.wewear.org/assets/1/7/EffluentGuidelines.pdf.

TEXTILE LEARNER. Degumming/Scouring process of silk. [Online]. [viewed 23 August 2014]. Available from:http://textilelearner.blogspot.com/2012/03/degummingscouring-process-of-silk.htm.

CHATTHONG THAI SILK. Thai silk weaving methods. [Online]. [viewed 23 August 2014]. Available from: http://www.chattongthaisilk.net/index.php?lay=show&ac=article&id=538850688.

XIAO, S., et al. Effective removal of dyes from aqueous solution using ultrafine silk fibroin powder. Advance Powder Technology, 2014, 25(2), 574-581.

GUPTA, D., et al. Cleaner process for extraction of sericin using infrared. Journal of Cleaner Production, 2013, 52, 488-494.

นฤมล ศิริทรงธรรม, การใช้สีและสารเคมีที่ปลอดภัยสําหรับการฟอกย้อมไหม. [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2557]. เข้าถึงจาก: WWW.qsds.go.th/qthaisilk/peacock_images/safety_chemi-color.pdf.

Paula Burch's site. All about hand dyeing. How to dye silk. [Online]. [viewed 23 August 2014]. Available from: http://www.pburch.net/dyeing/FAQ/silk.shtml.

REDDY S.S., B. KOTAIAH., and N.S.P. REDDY. Color pollution in textile dyeing industry effluents using tannery sludge derived activated carbon. Bulletin of Chemical Society Ethiopia, 2008, 22(3), 369-378.

KHAN, M.A., I. HUSSAIN, and E. A. KHAN. Effect of aqueous extract of Eucalyptus camaldulensis L. on germination and growth of Maize (Zea may L.). Pakistan Journal of Weed Science Research, 2007,13(3-4), 177-182.

SINGWANE, S.S., and P. MALINGA. Impacts of pine and Eucalyptus forest plantations on soil organic matter content in Swaziland-case of Shiselwentforest. Journal of Sustainable Development in Africa, 2012, 14(1), 137-151.

CHEN, J., et al. Research and application of biotechnology in textile industries in china. Enzyme and Microbial Technology, 2007, 40, 1651-1655.

BOONLERDPORN, N., B. NANTHAKOD, and P. WONGHAD. Azo dyes removal in water using vacuum ultraviolet process. Project report No.ENV2012-06. Khonkaen University. 2013.

ปริมาณโลหะหนักในตัวอย่างน้ำเสียจากขั้นตอนย้อมสี (มิลลิกรัม/ลิตร)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015

How to Cite

ช่างสุพรรณ อ., ทองศรี เ., เพชรเกษม ส., กิจชัยนุกูล ว. . ., เลิศคณาวนิชกุล ช., ทิพย์วิเศษ ณ., ธีระพิทยานนท์ ว., ม่วงแก้ว ก., พาลี น., ศรีแสน จ., ทองอนันต์ ว., & นารถมณี พ. (2015). การสํารวจคุณลักษณะน้ำทิ้งจากกระบวนการย้อมผ้าไหมด้วยสีเคมี : กรณีศึกษา สถานประกอบการโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดสุรินทร์ . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 45–51. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.292