การพิสูจน์ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์แท้และผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ด้วยฟูเรียทรานส์ฟอร์มสเปคโทรสโกปี

ผู้แต่ง

  • ธนิษฐา ภูลวรรณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.291

คำสำคัญ:

พอลิเมอร์, หนังสัตว์, อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี, ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

บทคัดย่อ

การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหนังเทียมทําให้หนังเทียมจากพอลิเมอร์สังเคราะห์มีคุณสมบัติและรูปแบบที่ใกล้เคียงกับหนังสัตว์แท้มากขึ้น ดังนั้นการนําเอาเทคนิคทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์ประเภทผลิตภัณฑ์จึงสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ งานวิจัยนี้ได้ทําการ วิเคราะห์วัสดุตัวอย่างจากหนังจระเข้และหนังวัวโดยการเผา, ทดสอบด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์สังเกตพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการศึกษาโครงสร้างโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (FTIR) ผลการทดลองพบว่า การเผาหนังสัตว์แท้ให้กลิ่นคล้ายโปรตีนและหนังสัตว์แท้สามารถละลายได้บางส่วนใน NaOH ในขณะที่หนังเทียมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้พื้นผิวของหนังเทียมสามารถตกแต่งให้คล้ายกับหนังสัตว์แท้ซึ่งประกอบไปด้วยรูขุมขนบนแผ่นหนังได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาสเปกตรัมที่ได้จากหนังวัวและหนังจระเข้ปรากฏพีคที่มีความน่าสนใจ 5 ช่วง ด้วยกัน คือ ช่วงความยาวคลื่น ตําแหน่ง 3300-3250 cm-1 , 2960-2920 cm-1 , 1700-1600 cm-1, 1560-1540 cm-1 และ 1240-1230 cm-1 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหมู่ฟังก์ชั่นที่สําคัญต่างๆบนผิวหนัง เช่น หมู่เอไมด์จากโปรตีนบนหนัง อย่างไรก็ตามหนังเทียมจะมีรูปแบบสเปกตรัมที่แตกต่างกับหนังสัตว์แท้อย่างชัดเจน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทดสอบด้วยเทคนิค FTIR สามารถใช้ได้โดยง่ายเพื่อตรวจว่าวัสดุตัวอย่างนั้นทําจากหนังแท้หรือหนังเทียม อีกทั้งยังเป็นวิธีการทดสอบที่ประหยัดเวลาและไม่ทําลายชิ้นทดสอบอีกด้วย

References

ไพศาล นาคพิพัฒน์ และอรอุษา ศิริคุตต์. การสังเคราะห์วัสดุประกอบคล้ายหนังจากพิวีซีและเศษหนังสัตว์. วิศวสารลาดกระบัง, 2548, 22(3), 13-19.

Simple Difference between real and fake leather [Online]. [viewed 26 February 2015]. Available from: https://siodleather. wordpress.com/2011/12/20/simple-difference-between-real-and-fake-leather/.3

ELWATHIG, M., et al. Rapid Authentication of Leather and Leather Products. Advances in Natural and Applied Sciences, 2012, 6(5), 651-659.

BELL, R.J. Introductory Fourier Transform Spectroscopy. 2nd Ed. Academic Press, 1974, pp. 23-44.

QINGUO, F. Chemical testing of textiles. Cambridge : Woodhead publishing limited in association with the textile institute, 2005.

KONG, J., and S, YU. Fourier Transform Infrared Spectroscopic Analysis of Protein Secondary Structures. Acta Biochimica et Biophysica Sinica, 2007, 39(8), 549–559.

MALEA, E., C.S. BOYATZIS., and M. KEHAGIA. Cleaning of Tanned Leather : Testing with Infra Red Spectroscopy and SEM-EDAX. Multidisciplinary Conservation a Hollistic View for Historic Interiors. Joint Interim-Meeting of five ICOM-CC Working Groups. Rome, 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-10-2022

How to Cite

ภูลวรรณ ธ. (2022). การพิสูจน์ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์แท้และผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ด้วยฟูเรียทรานส์ฟอร์มสเปคโทรสโกปี . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 37–43. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.291