การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบหาปริมาณปรอทในกากอุตสาหกรรมและในน้ำสกัด : กรณีศึกษาการหาปริมาณปรอทในเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและการหาปริมาณปรอทในกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ กิจชัยนุกูล กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.288

คำสำคัญ:

ปรอท, เถ้าลอย, วิธีทดสอบหาปริมาณปรอท

บทคัดย่อ

การทดสอบหาปริมาณความเข้มข้นของสารปรอททั้งหมด (Total Mercury) ในสิ่งแวดล้อมมีความสําคัญ เนื่องจากสารปรอทมีความเป็นพิษสูงและกฎหมายสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกําหนดให้ต้องทดสอบหาปริมาณความเข้มข้นของสารปรอททั้งหมดในสิ่งแวดล้อมที่ ความเข้มข้น ทั้งนี้ค่ามาตรฐานความเข้มข้นของปริมาณปรอททั้งหมดที่ยอมให้มีได้ในสิ่งแวดล้อมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเป็นค่ามาตรฐานใด เช่น น้ำผิวดินมีค่าไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อลิตร อากาศที่ระบายออกจากโรงงานที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงและไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงมีค่าไม่เกิน 2.4 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลําดับ และกากอุตสาหกรรมมีค่าไม่เกิน 0.200 มิลลิกรัมต่อลิตรน้ำสกัด (Soluble Threshold Limit Concentration, STLC) เป็นต้น วิธีการทดสอบหาปวิมาณความเข้มข้นของสารปรอทในปริมาณต่ำมีหลายวิธี ทั้งนี้การเลือกวิธีการทดสอบที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวอย่างและช่วงความเข้มข้นของปรอทที่ต้องการวัดกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นหน่วยงานทางด้านการทดสอบของประเทศ ผลการทดสอบต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล การวิจัยเปรียบเทียบผลการทดสอบปริมาณปรอททั้งหมดในวัสดุอ้างอิงและตัวอย่างกากของเสีย ด้วยวิธีการมาตรฐานตามศักยภาพที่มีของห้องปฏิบัติการ โดยงานวิจัยครั้งนี้จะใช้เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าเป็นตัวแทนของกากของเสียเพื่อศึกษาปริมาณปรอทในน้ำสกัดและใช้วัสดุอ้างถึงที่เตรียมจาก Matrix ของกากตะกอนจากระบบบําบัดน้ำเสียและเถ้าลอยเป็นตัวแทนกากของเสียเพื่อหาปริมาณปรอททั้งหมด โดยศึกษาเปรียบเทียบผลการทดสอบปริมาณความเข้มข้นของปรอททั้งหมดที่ได้จากที่มีการทดสอบ 2 วิธี EPA Method 7471 B: Mercury in Solid or Semisolid Waste (Manual Cold-Vapor Technique) was EPA Method 7473: Mercury in Solid and Solutions by Thermal Decomposition, Amalgamation, and Atomic Absorption Spectrophotometry ผลการศึกษา พบว่า เทคนิค Cold-Vapor Technique และ Thermal Decomposition, Amalgamation, and Atomic Absorption Spectrophotometry ให้ผลการทดสอบเชิงปริมาณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญในแง่ค่าความไม่แน่นอนเทคนิค Thermal Decomposition, Amalgamation, and Atomic Absorption Spectrophotometry มีค่าความไม่แน่นอนต่ำกว่า Cold - Vapor Technique และสารพิษที่เกิดขึ้นจากการทดสอบด้วยเทคนิค Thermal Decomposition, Amalgamation, and Atomic Absorption Spectrophotometry มีปริมาณและความเป็นพื้นที่ต่ำกว่า Cold-Vapor Technique

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา. 2548, 123 (ตอนพิเศษ 11 ง), 14.

UNITED STATES ENVIRONMENTAL PROTECTION AGENCY, US EPA (2007), EPA Method 7471 B: Mercury in solid or semisolid waste (Manual cold-vapor technique), pp.11.

UNITED STATES ENVIRONMENTAL PROTECTION AGENCY, US EPA (2007), EPA Method 7473: Mercury in solid and solutions by thermal decomposition, amalgamation, and atomic absorption spectrophotometry, pp.17.

UNITED STATES ENVIRONMENTAL PROTECTION AGENCY, US EPA (1994), EPA Method 7470 A: Mercury in liquid waste (Manual cold-vapor technique), pp.6.

แผนผังขั้นตอนวิธีดำเนินงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

กิจชัยนุกูล ว. (2016). การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบหาปริมาณปรอทในกากอุตสาหกรรมและในน้ำสกัด : กรณีศึกษาการหาปริมาณปรอทในเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและการหาปริมาณปรอทในกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 103–114. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.288