การเปรียบเทียบชนิดของตัวทําละลายและเทคนิคการสกัดสารเบนโซฟีโนนจากกระดาษที่ใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.287

คำสำคัญ:

เบนโซฟีโนน, วัสดุสัมผัสอาหาร, กระดาษ

บทคัดย่อ

สารเบนโซฟิโนนเป็นสารเริ่มปฏิกิริยาด้วยแสง (photo-initiator) ชนิดหนึ่งที่ใช้ในหมึกพิมพ์สําหรับการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปแล้วกระดาษที่มีการพิมพ์ด้วยสีสันสดใสจะมีปริมาณเบนโซฟิโนนตกค้างอยู่เป็นจํานวนมากหากกระดาษเหล่านี้ถูกสกัดด้วยตัวทําละลายหรือวิธีการสกัดที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้การทดสอบปริมาณเบนโซฟิโนนได้น้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นเพื่อให้ได้วิธีสกัดที่มีประสิทธิภาพ กระดาษกล่องขนมเปี๊ยะเป็นตัวอย่างที่ถูกเลือกให้เป็นตัวอย่างในการทดสอบเนื่องจากมีปริมาณเบนโซฟิโนนตกค้างเป็นปริมาณสูงโดยนํามาสกัดด้วยตัวทําละลายต่างชนิดกัน ได้แก่ อะซิโตรไนไตรส์ เอทานอล และตัวทําละลายผสมระหว่างไดคลอโรมีเทนในอัตราส่วน 1:1 กับตัวทําสะสายดังต่อไปนี้ คือ เฮกเซน ไซโคลเฮกเซน และอะซิโตรไนไตรส์ ผลจากการศึกษาพบว่ากระดาษที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 สามารถสกัดสารเบนโซฟีโนนได้สูงสุดโดยสกัดได้มากกว่าเมื่อสกัดด้วยอะซิโตรไนไตรส์ หรืออะซิโตรไนไตรส์ผสมกับไดคลอโรมีเทนถึงร้อยละ 7 และมีประสิทธิภาพดีกว่าเมื่อเทียบกับการสกัดด้วยตัวทําละลายผสมระหว่างไดคลอโรมีเทนกับไซโคลเฮกเซนหรือเฮกเซนถึงร้อยละ 50 ส่วนผลการเปรียบเทียบปริมาณเบนโซฟิโนนที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 โดยการสกัดที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง การสกัดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสในอ่างควบคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และการสกัดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส พบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณเบนโซฟีโนนที่สกัดได้ทั้ง 3 วิธี มีค่าเท่ากับ 308 322 และ 320 ตามลําดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (One Way Anova, p = 0.397) แต่เทคนิคการสกัดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยกว่าอีกสองวิธี (n = 3) ผลการศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่าเทคนิคการสกัดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกและตัวทําละลายเอทานอล ร้อยละ 95 เป็นวิธีการที่ เหมาะสมในการสกัดสารเบนโซฟีโนนจากกระดาษที่ใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร

References

HOECK, E. Van., et al. Analysis of benzophenone and 4-methylbenzo- phenone in breakfast cereals using ultrasonic extraction in combination with gas chromatography-tandem mass spectrometry (GC-MSn). Analytica Chimica Acta. 2010, 633(1), 55-59.

PASTORELLI, S., et al. Study of the migration of benzophenone from printed paperboard packages to cakes through different plastic films. Eur. Food Res. Techno. 2008, 227(6), 1505-1590.

NATIONAL TOXICOLOGY PROGRAM (NTP). Toxicity Studies of Benzophenone (CAS No. 119-61-9). Administered in Feed to F344/N rats and B6C3F1 mice. Toxicol Rep. Series 2000, 1-53, A1-A13. [online]. Available from: http://ntp.niehs.nih.gov/ntp/htdocs/ST_pts/tox061.pdf.

CASTLE, L., et al. Migration studies from paper and board food packaging materials. Part 2. Survey for residues of dialkylamino benzophenone UV-cure ink photoinitiators. Food Additives and Contaminants. 1997, 14, 45-52

JOHNS, S.M., L. W., GRAMSHAW., L., CASTLE and S. M., JICKELLS. Studies on Functional Barriers to Migration 1 Transfer of Benzophenone from Printed Paperboard to Microwaves Food. Deutsche Lebensmittel-Rundschau. 1995, 91, 69-73

KOIVIKKO, R, et al. Rapid multi-analyte quantification of benzophenone, 4-methylbenzophenone and related derivatives from paperboard food packaging. Food Additives and Contaminants. 2010, 27, 1478-1486.

BRITISH STANDARD, BS EN 15519: 2007. Paper and board intended to come into contact with foodstuffs-Preparation of an organic solvent extract.

BARWICK, V.J. Strategies for solvent selection- a literature review. Trends in Analytical Chemistry. 1997, 16, 293-309.

NATIONAL TOXICOLOGY PROGRAM (NTP). Toxicity Studies of Benzophenone (CAS No. 119-61-9). Administered in Feed to F344/N rats and B6C3F1 mice. Toxicol. Rep. Series [online]. Available from: http://ntp.niehs.nih.gov/ntp/htdocs/ST_rpts/tox061.pdf

U.S. DEAPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES FOOD AND DRUG ADMINISTRATION. Guidance for Industry Q3C – Tables and List1” 2012, revision 2 [online]. Available from: http://www.fda.gov/downloads/drugs/guidancecomplianceregulatoryinformation guidances/ucm073395.pdf.

MELECCHI, M.I.S., et al. Optimization of the sonication extraction method of Hibiscus tiliaceus L. flowers. Ultranonics Sonochemistry. 2006, 13, 242-250.

GC -MS โครมาโตรแกรมแสดงพีกเบนโซฟีโนนที่ใช้ในการหา ปริมาณ (quantified peak) และ ยืนยันชนิดสาร (quanlified peak) จากการสกัดตัวอย่างกระดาษหมายเลข 10 ด้วยตัวทำละลายผสมได คลอโรมีเทนต่อเฮกเซนอัตราส่วน 1: 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

แสแสงสีรุ้ง ห. (2016). การเปรียบเทียบชนิดของตัวทําละลายและเทคนิคการสกัดสารเบนโซฟีโนนจากกระดาษที่ใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 97–102. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.287