อัตราการอยู่รอดของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรในถ่านชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี แทนธานี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สายจิต ดาวสุโข กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.286

คำสำคัญ:

เชื้อจุลินทรีย์ทางการเกษตร, ถ่านชีวภาพ, การอยู่รอด, บาซิลลัส ซับทีลิส, ไตรโคเดอร์มา อาร์เซียนัม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุสายพันธุ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรที่เหมาะสมในการนําไปใช้งานร่วมกับถ่านชีวภาพ โดยได้ศึกษาอัตราการอยู่รอดของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร จํานวน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus subtilis TISTR 008, Azotobacter vinelandii TISTR 1096, Pseudomonas fluorescens TISTR 358 และ Trichoderma harzianum TISTR 3553 ที่ผสมในวัสดุรองรับที่มีส่วนผสมของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนและโปรตีนเกษตร (ผลิตจากถั่วเหลือง) ในอัตราส่วนต่าง ๆ และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน โดยติดตามการคงอยู่ของจุลินทรีย์ในวัสตุแต่ละสูตรทุกวัน พบว่าวัสดุรองรับที่มีส่วนผสมของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนมีความเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญบนวัสดุรองรับสูตรนี้ได้ทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ B. subtilis TISTR 008 และ T. harzianum TISTR 3553 ซึ่งสามารถเจริญและมีชีวิตอยู่รอดได้มากกว่า 104 CFU/ml และยังมีแนวโน้มของอัตราการอยู่รอดของเชื้อต่อไปได้ภายหลังจากครบกําหนดการทดลอง 14 วัน

References

CHIA, C.H. et al 2008. Development of Synthetic Terra Preta (STP): Characterization and initial research findings. [Online]. [Viewed 12 May 2016]. Available from: http://www.biochar-international.org/images/Joseph_IBI_poster_PM.pdf

CHAN, KY. et al. Agronomic values of greenwaste biochar as a soil amendment. Australian Journal of Soil Research, 2007, 45, 629-634.

HUNT, J. et al. The basics of biochar: A natural soil amendment. Soil Crop Management, 2010, 30,1-6.

GLASER, B., J. LEHMANN and W.ZECH. Ameliorating physical and chemical properties of highly weathered soils in the tropics with charcoal - a review. Biology and Fertility of Soils, 2002, 35, 219-230.

ดุสิต อธินุวัฒน์. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ด้านการเกษตร Beneficial Microbes in Agriculture. Thai Journal of Science and Technology, 2556, 2(1), 18-35.

สายจิต ดาวสุโข และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาถ่านจากเศษผลไม้ที่มีจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2554.

LUO, Y. et al. 2010. Impact of biochar on soil microbial activity and its mechanisms. [online]. [viewed 17 May 2016]. Available from: http://www.biochar-international.org/sites/default/files/ LuoYu.pdf

ปริมาณเชื้อ T. harzianum TISTR 3553 ในวัสดุรองรับสูตรต่าง ๆ เมื่อบ่มเป็นระยะเวลา 14 วัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

แทนธานี ส., & ดาวสุโข ส. (2016). อัตราการอยู่รอดของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรในถ่านชีวภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 89–96. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.286