เคลือบเซรามิกจากเถ้าชานอ้อย

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ รักไทยเจริญชีพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วราลี บางหลวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เอมวจี ปานทอง กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วรรณา ต.แสงจันทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.279

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยปริมาณเถ้าชานอ้อยในอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่มีจํานวนมาก ซึ่งนอกจากนําไปใช้ปรับปรุงดินแล้ว  ยังไม่มีการนําไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากเถ้าชานอ้อยเพื่อผลิตเคลือบเซรามิกโดยใช้วัตถุดิบหลัก 3 ชนิด ได้แก่ เถ้าชานอ้อย ดินดํา และแร่ฟันม้า จากผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี (X-ray fluorescence : XRF) พบว่า เถ้าชานอ้อยมีองค์ประกอบหลัก คือ ซิลิกา ร้อยละ 71 อะลูมินา ร้อยละ 9 และ แคลเซียมออกไซด์ ร้อยละ 8 ผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางแร่วิทยา (X-ray diffraction : XRD) พบเฟสหลักคือ ควอตซ์ กําหนดสูตรเคลือบโดยใช้วิธีแปรส่วนผสมในตารางสามเหลี่ยม (Tri-axial blend) เผาที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส ในการทดลองนี้พบว่าปริมาณเถ้าชานอ้อยที่เหมาะนําไปเคลือบผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ของประดับตกแต่ง อยู่ระหว่างร้อยละ 35-65 ดินดําร้อยละ 15-50 และแร่ฟันม้าร้อยละ 10-70 เมื่อเติมแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 10 พบว่าเคลือบสุกตัวได้ดีเคลือบที่ได้มีสีเหลืองถึงน้ำตาลเข้มขึ้นอยู่กับปริมาณเถ้าชานอ้อยที่ใช้ หากใช้เถ้าชานอ้อยปริมาณมากสีของเคลือบจะเข้มขึ้น เคลือบเซรามิกจากเถ้าชานอ้อยไม่ผ่านการทดสอบการรานโดยใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (autoclave) จึงเหมาะสําหรับผลิตภัณฑ์ประเภทของประดับแต่ไม่เหมาะสําหรับผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้บนโต๊ะอาหาร

References

ปรีดา พิมพ์ขาวขํา, เคลือบเซรามิก, กรุงเทพฯ : อักษร เจริญทัศน์, 2530.

ลดา พันธ์สุขุมธนา, เคลือบขี้เถ้า : เอกสารประกอบการฝึกอบรมวันที่ 27-28 มีนาคม 2547 ณ ศูนย์ศิลปาชีพ บ้านกุดนาขาม จ.สกลนคร. กรุงเทพฯ : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2547.

สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2553-2554 [ออนไลน์]. (อ้างถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2555]. เข้าถึงจาก: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-5062.pdf

CORDEIRO, G.C., et al. Influence of mechanical grind on the pozzolanic activity of residual sugarcane bagasse ash. Proceedings of the international conference on use of recycled materials in building and structure. Barcelona, 2004, pp. 342.

ROGERS, P. Ash Glazes, 2nd ed. London : A&C Black Publishing, 2003.

CORDEIRO, G.C., et al., Ultrafine grinding of sugar cane bagasse ash for application as pozzolanic admixture in concrete, Cement and Concrete Research, 2009, 39, 110-115.

รัฐพล สมนา และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. การใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดเพื่อปรับปรุงกําลังอัด การซึมผ่านน้ำ และความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากการย่อยเศษคอนกรีตเก่า, วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ต.ค.-ธ.ค. 2554, 34(4), 369-381.

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. การใช้เถ้าชานอ้อยเพื่อเป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต, วารสารคอนกรีต, ส.ค. 2555, (16), 1-11.

ศุภกา ปาลเปรม, เซลาดอน [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2555]. เข้าถึงจาก: http://designinnovathai.com/_file/files/Celadon.pdf

ภาณุเทพ สุวรรณรัตน์ และคณะ, การทดลองเคลือบขี้เถ้าจากอัตราส่วนผสมขี้เถ้าไม้มะม่วงหินฟันม้า และดินเหนียว ท้องนา เพื่อเคลือบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชนิดสโตน แวร์, วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, ม.ค.-มิ.ย. 2550, 1(1) , 45-52.

สนิท ปิ่นสกุล. การใช้ขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุแทนควอทซ์ในกระบวนการผลิตเซรามิกส์, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2554, 7(14), 56-65.

ISSENBERG, M., Spraying wood ash glazes. Ceramic art daily [online]. [viewed 7 October 2012]. Available from: http://www.ceramicartdaily.net/booksales/Glazes_PreWoodAsh.pdf

วรรณา ต.แสงจันทร์ และ ลดา พันธ์สุขุมธนา, เคลือบซรามิก : เอกสารประกอบการอบรม [ออนไลน์]. (อ้างถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2555]. เข้าถึงจาก: http://lib3.dss.go.th/ fulltext/dss_manual/M008.pdf

ผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องใช้ในห้องน้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

รักไทยเจริญชีพ ศ., บางหลวง ว., ปานทอง เ., & ต.แสงจันทร์ ว. (2016). เคลือบเซรามิกจากเถ้าชานอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 31–38. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.279