การสํารวจเบื้องต้น : คุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนพลาสติกเมลามีน

ผู้แต่ง

  • ธวัช นุสนธรา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ปวริศา สีสวย กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุภัตรา เจริญเกษมวิทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.278

คำสำคัญ:

เครื่องใช้ในครัวเรือน, เมลามีน, ฟอร์มาลดีไฮด์

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จําหน่ายในประเทศ โดยสุ่ม เก็บตัวอย่างในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2557 จากจังหวัดเชียงราย หนองคาย มุกดาหาร นครราชสีมา ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นครสวรรค์ สงขลา และกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้นจํานวน 71 ตัวอย่าง แยกตามประเทศผู้ผลิตได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม และที่ไม่ระบุแหล่งผลิตเป็น 20, 36, 2 และ 13 ตัวอย่างจากการตรวจสอบชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิตพลาสติกเมลามีนด้วยเทคนิค Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR) พบว่าเป็นพลาสติกเมลามีนชนิดเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 21 ตัวอย่าง ชนิดยเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ 8 ตัวอย่าง และชนิดยเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 42 ตัวอย่าง ซึ่งการระบุคุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนด้วยการทดสอบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์โดยเทคนิค UV-visible spectroscopy ตามวิธีทดสอบ DD CEN/TS 13130-23: 2005 และการทดสอบปริมาณสารเมลามีนโดยเทคนิค Ultra-High Performance Liquid Chromatography (UHPLC) ตามวิธีทดสอบ DD CEN/TS 13130-27: 2005 สภาวะทดสอบตัวอย่างสกัดด้วยสารละลายกรดแอซีติก ร้อยละ 3 โดยมวลต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 70°C เป็น เวลา 2 ชั่วโมง และแต่ละตัวอย่างสกัดซ้ําจํานวน 3 ครั้ง โดยใช้ผลการทดสอบของการสกัดครั้งที่ 3 สําหรับตรวจวัดสารฟอร์มาลดีไฮด์และสารเมลามีน โดยตามข้อกําหนดในมาตรฐาน Commission Regulation (EU) No. 10/2011 กําหนดค่าสารฟอร์มาลดีไฮด์ไม่มากกว่า 15.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารเมลามีนไม่มากกว่า 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จําหน่ายในประเทศชนิดเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 62 ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในช่วง 16.0-797.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณเมลามีนในช่วง 3.0-455.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สําหรับพลาสติกเมลามีนชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในช่วง 22.2-12,193.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณเมลามีนในช่วง 3.1-16.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพลาสติกเมลามีนชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 88 ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์และปริมาณเมลามีนในช่วง 15.2-5,247.6 และ 2.7-26.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่าเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จําหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณเมลามีนและปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นการนําเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนมาใช้งานควรให้ความระมัดระวังในการใช้

References

นันทิยา ตัณฑชุณห์, เมลามีน : มหันตภัยแห่งยุค. พุทธชินราชเวชสาร. 2552, 26(2),173-186.

บังอร ฉางทรัพย์, ฟอร์มาลดีไฮด์/ฟอร์มาลีน ภัยร้ายใกล้ตัว. ว. วิทย์ เทคโน. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 97.2558. 1(1), 1-13.

มงคล พันธุมโกมล, ปณตพร บุญเปี่ยมศักดิ์ และกฤตพัฒน์ จุ้ยเตย. คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูงฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde), กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2553, 132 หน้า

สุจิตรา แดงเรือง, การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานจากการรับสัมผัสสารฟอร์มาลดีไฮด์: กรณีศึกษาวัสดุปิด ผิวเคลือบเมลามีน, วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร 2554, 126 หน้า

BRITISH STANDARD. DD CEN/TS 13130-23, Materials and articles in contact with foodstuffs-Plastics substances subject to limitation-Part 23: Determination of formaldehyde and hexamethylenetetramine in food simulants. 2005, pp.1-16.

BRITISH STANDARD. DD CEN/TS 13130-27, Materials and articles in contact with foodstuffs-Plastics substances subject to limitation-Part 27: Determination of 2,4,6-triamino-1,3,5-triazine in food simulants. 2005, pp.1-13.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก. 524-2536, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีน. กรุงเทพฯ : สมอ., 2536. หน้า 1-15

CHIK, Z., et al. Analysis of melamine migration from melamine food contact articles. Food Additives and Contaminants : Part A. 2011. 88(7), 967-973.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, การสํารวจคุณภาพของภาชนะที่ใช้บนโต๊ะอาหารทําด้วยพลาสติกราคาถูกที่วาง จําหน่ายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. รายงานประจํา ปี 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, นนทบุรี : กรม, 2556. หน้า 73-74

SIMONEAU, C., et al. Technical guideline on testing the migration of primary aromatic amines from polyamide kitchenware and of formaldehyde from melamine kitchenware. JRC Scientific and Technical Reports. 2011, pp. 1-58.

Commission Regulation (EU) No. 10/2011. Plastic materials and articles intended to come into contact with food. Official Journal of the European Union, 2011. pp. L12/1-L12/89.

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กระทรวงสาธารณสุข. บัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ, เล่มที่ 123 ตอนที่ 1 ง. ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2549

จำนวนตัวอย่างและประเภทของภาชนะเมลามีนที่ดำเนินการสุ่มเก็บแยกตามประเทศผู้ผลิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

นุสนธรา ธ., สีสวย ป., & เจริญเกษมวิทย์ ส. (2016). การสํารวจเบื้องต้น : คุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนพลาสติกเมลามีน. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 19–30. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.278