การปรับปรุงคุณภาพด้านกายภาwและเชิงกลของวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ด้วยเศษกระดาษเหลือใช้

ผู้แต่ง

  • ก่อพงศ์ หงษ์ศรี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ขวัญใจ สมบุญ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.277

คำสำคัญ:

ปูนซีเมนต์, เศษกระดาษเหลือใช้, วัสดุผสมเยื่อกระดาษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพด้านกายภาพและเชิงกลของวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ด้วยเศษกระดาษเหลือใช้ โดยการนําเยื่อจากกระดาษประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษและเศษกระดาษรวม ผสมลง ในปูนซีเมนต์ ยิปซั่ม ทราย น้ำ ซึ่งได้กําหนดอัตราส่วนของเยื่อกระดาษ ปูนซีเมนต์ ยิปซั่ม ทราย และน้ำ เป็น 0.1 : 1 : 0.25 : 0.25 : 4 ตามลําดับ เพื่อหาชนิดของเยื่อจากกระดาษที่เหมาะสมในการผลิตเป็นวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ด้วยเศษกระดาษเหลือใช้ ผลจากการ ศึกษาวิจัยพบว่าเมื่อเติมเยือจากเศษกระดาษลงไปในวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ทําให้วัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์มีค่าความหนาแน่น และมอดูลัสการตกร้าวลดลง การดูดซึมน้ำ การพองตัวทางความหนาและมอดูลัสยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าเยื่อจากเศษกระดาษสามารถ นํามาใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ได้ ทําให้มีน้ำหนักเบาและเพิ่มความยืดหยุ่น และเมื่อเปรียบเทียบชนิดของเยื่อจาก กระดาษที่นํามาผสม พบว่า เยื่อจากเศษกล่องกระดาษ มีความเหมาะสมที่สุดเพราะทําให้วัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์มีความหนาแน่น เท่ากับ 2,215 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร การดูดซึมน้ำเท่ากับ 44.1 % การพองตัวทางความหนาเท่ากับ 1.56 % มอดูลัสการตกร้าวเท่ากับ 1.384 เมกะพาสคัล และมอดูลัสยืดหยุ่นเท่ากับ 2,424 เมกะพาสคัล ผลการศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่าวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ที่ผสมเยื่อ จากเศษกระดาษสามารถนําไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ทําให้ขึ้นรูปแบบได้หลากหลายมากขึ้น มีน้ำหนักเบา การตัด ตัด เจาะและ ยึดทําได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตเพราะมีการนําวัสดุเหลือใช้มาเป็นวัตถุดิบอีกด้วย

References

กิตติศักดิ์ บัวศรี. การพัฒนาแผ่นกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ผสมเส้นใยมะพร้าวและเส้นใยชานอ้อย : เอกสารเผยแพร่ ผลงานวิชาการ 2557. วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรีอําเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี

กรมโยธาธิการและผังเมือง, มยผ. 1211-50. มาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง. 2550. มาตรฐานการทดสอบกําลังต้านทานแรงดัดของคอนกรีต

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก. 15 เล่ม 1-2555 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์, กรุงเทพฯ : สมอ., 2555.

วชิระ แสงรัศมี. การพัฒนาบล็อกประสานน้ำหนักเบาจากเยื่อกระดาษเหลือทิ้ง, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ Built Environment Research Associates Conference, BERAC 3, 2012

วชิระ แสงรัศมี, วัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์เยื่อกระดาษเหลือใช้ทางใหม่, วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/ผังเมือง. 2555, 95-104.

JAPANESE INDUSTRIAL STANDARD. JIS A 5098:2003. Particleboard, Translated and Published by Japanese Standard Association.

KHEDARI, J., et al., New lightweight composite construction materials with low thermal conductivity. Cement and Concrete Composites, 27(1), 111-116.

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ที่ผสมเยื่อจากเศษกล่องกระดาษผลิตภัณฑ์ประเภทดอกไม้ตั้งโต๊ะ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

หงษ์ศรี ก., & สมบุญ ข. (2016). การปรับปรุงคุณภาพด้านกายภาwและเชิงกลของวัสดุตกแต่งประเภทปูนซีเมนต์ด้วยเศษกระดาษเหลือใช้ . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 9–18. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.277