การปรับปรุงสมบัติดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามด้วยการเติมดินเชื้อ

ผู้แต่ง

  • ลดา พันธ์สุขุมธนา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ศศิธร พละบุญ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ดนัย กิจชัยนุกูล กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.276

คำสำคัญ:

ดิน, มหาสารคาม, แกลบ, เครื่องปั้นดินเผา

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงสมบัติดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามด้วยการเติมดินเชื้อ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนําข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาเนื้อดินและผลิตภัณฑ์สําหรับการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนบ้านหม้อ ตําบลเขวา อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย โดยดินเชื้อเตรียมจากดินโคลนที่หนองเลิง ตําบลเขวา อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กับแกลบ นําดินเชื้อที่ผ่านการเผามา บด และร่อนผ่านตะแกรง 60 เมช ผสมกับดินจากแหล่งเดียวกัน ที่อัตราส่วน ดินต่อดินเชื้อ เป็น 80:20 70:30 60:40 50:50 ส่วนผสม ดังกล่าวผ่านกระบวนการหมัก การนวด การขึ้นรูป และเผาที่อุณหภูมิ 700-1200 องศาเซลเซียส โดยส่วนผสมตามอัตราส่วนที่ได้จะทดสอบ สมบัติกายภาพทั้งก่อนและหลังเผา ได้แก่ การหดตัว การดูดซึมน้ํา ความหนาแน่น ความต้านแรงดัด ทดสอบเฟส การขยายตัวเมื่อร้อน พร้อม ทั้งศึกษาโครงสร้างทางจุลภาค ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าการเพิ่มดินเชื้อจะเป็นการเพิ่มรูพรุนแบบเปิดในโครงสร้างทําให้การหดตัวเมื่อแห้ง ของดินตัวอย่างก่อนและหลังเผาลดลง การดูดซึมน้ําเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นลดลง สําหรับดินตัวอย่างที่เติมดินเปื้อนําไปเผาที่อุณหภูมิต่ำ 800 องศาเซลเซียส ในตัวอย่างจะมีรูพรุนและพบผลึก Quartz เป็นองค์ประกอบ มีความต้านแรงดัดและสมบัติการขยายตัวเมื่อร้อนต่ำ ในขณะที่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการเผาไปที่ 1200 องศาเซลเซียส ทําให้ดินตัวอย่างที่เติม และไม่เต็มดินเชื้อ มีรูพรุนลดลง การดูดซึมน้ำลดลง การหดตัว หลังเผา และความหนาแน่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบผลึกของ Cristobatite และ Mulite ในดินตัวอย่างส่งผลทําให้การขยายตัวเมื่อร้อนและ ความต้านแรงดัดเพิ่มขึ้นตามลําดับด้วย ผลการศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่าสามารถปรับปรุงสมบัติดินด้วยการเติมดินเชื้อจะเป็นการพัฒนาเนื้อดิน และผลิตภัณฑ์สําหรับการผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้

References

พันธ์ศักดิ์ พ่วงพงษ์. การทำ เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองฯ จังหวัดมหาสารคาม, ปริญญานิพนธ์ (ศศ.ม. ไทยคดีศึกษา เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2537.

โสภิดา ยงยอด. การปั้นหม้อที่บ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองฯ จังหวัดมหาสารคาม [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์2558]. เข้าถึงจาก: http://www.thumboon.com/readarticle.php?article_id=61

Thai Folk Pottery, [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์2558]. เข้าถึงจาก: http://faculty.tamucc.edu/lkatz/articles/tfp.html

ฤดี นิยมรัตน์, บทที่ 2 ผลงานวิจัยและงานเขียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงจาก: http://www.teacher.ssru.ac.th/reudee_ni/file.php/1/research-redclay2557/redclay-6-c-2.pdf

จินตนา จิตต์จํานง และปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. องค์ประกอบของดินปั้นที่เหมาะสมในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา, J. Sci. Technol. MSU, 2008, 27(1), 27-32. หรือ [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงจาก:http://thailand.digitaljournals.org/index.php/JSTMU/ article/viewFile/1648/1401

แกลบ แกลบดํา ขี้เถ้าแกลบ, [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงจาก: http://puechkaset.com/แกลบ

เกร็ดความรู้ จาก แกลบดิน ฟางข้าว และถั่วงา, [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงจาก: http://www.asoke.info/kudinfa/appendix/document02.html

คชินท์ สายอินทวงศ์, แกลบ วัตถุดิบมหัศจรรย์สําหรับงานเซรามิก, [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าถึงจาก: http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:x4umuBtyupkJ:thaiceramicsociety.com/rm_paint_chaff.php&hl=th&gl=th&strip=1

MAYNARD, P. Bauleke, How to Solve the Problems of Body Cracking and Glaze Popping in Stoneware Bodies [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 6 มีนาคม 2558]. เข้าถึงจาก: http://www.kgs.ku.edu/Publications/Bulletins/211 4/bauleke.html

MÄRQUEZ, Martin Jorg, et.al., Effect of microstructure on mechanical properties of porcelain stoneware, Journal of the European Ceramic Society, 2010, 30 (15), 3063-3069.

The Silica Group [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 12 มีนาคม 2558] เข้าถึงจาก: http://www.quartzpage.de/gen_mod.html

RAJAMANNAN, B. et.al., Effect of Grog Addition on the Technological Properties of Ceramic Brick, International Journal of Latest Research in Science and Technology, 2013, 2(6), 81-84 หรือ [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558] เข้าถึงจาก: http://www.mnkjournals.com/ijlrst_files/download/vol%202%20Issue%206/16-14-20112013%20B.%20Rajamannan.pdf

กราฟแสดงการขยายตัวเมื่อร้อนของดินตัวอย่าง BM BM2 และ BM4 หลังเผาที่ 800 และ 1200 องศาเซลเซียส

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2015

How to Cite

พันธ์สุขุมธนา ล., พละบุญ ศ., & กิจชัยนุกูล ด. (2015). การปรับปรุงสมบัติดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามด้วยการเติมดินเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 4(4), 9–17. https://doi.org/10.60136/bas.v4.2015.276