การดูดซับปรอทในน้ำสังเคราะห์ด้วยเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ กิจชัยนุกูล กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.272

คำสำคัญ:

ปรอท, เถ้าลอย, การดูดซับปรอท

บทคัดย่อ

การนําเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ด้านการกําจัดของเสียทําได้หลายวิธี เช่น การนําไปเป็นวัสดุ ร่วมการหล่อแข็ง การนําไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในงานวิจัยนี้ได้นําเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์โดยใช้ เถ้าลอยเป็นสารดูดซับปรอทในน้ำสังเคราะห์ โดยศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของเถ้าลอยในการดูดซับปรอทที่ความเข้มข้นต่ำ ในน้ำสังเคราะห์ที่มีการปนเปื้อนสารปรอทที่ความเข้มข้นต่างๆ พบว่า ปฏิกิริยาการดูดซับของเถ้าลอยจะเข้าสู่สภาวะ สมดุลที่ระยะเวลา 96 ชั่วโมง สภาวะที่เหมาะสม คือปริมาณเถ้าลอย 10 กรัมต่อสารละลายปรอท 1 ลิตร ที่ pH 7.0-8.0 เถ้าลอยดังกล่าวสามารถดูดซับสารละลายปรอทได้ 3.5 มิลลิกรัมต่อกรัมเถ้าลอย (น้ำหนักแห้ง) เมื่อนําเถ้าลอยที่ผ่าน กระบวนการดูดซับปรอทมาทดสอบหาค่าการชะ พบว่าปริมาณปรอทที่ถูกชะออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกําหนดที่ กําหนดไว้ที่น้อยกว่า 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร จากผลการศึกษาแสดงว่าเถ้าลอยสามารถนํามาใช้เป็นตัวดูดซับสารละลาย ปรอทความเข้มข้นต่ำในน้ำสังเคราะห์ได้

References

Pacyna, E. G. & Pacyna, J. M. Global emission of mercury from anthropogenic sources in 1995. Water Air Soil Pollut. 2002, 137, 149-165.

Jaffe, D., Prestbo, E., Swartzendruber, P., Weiss-Penzias, P., Kato, S. & Takami, A. Export of atmospheric mercury from Asia. Atoms Environ 2005, 39, 3029-3038.

The United Stated Environmental Protection Agency, USEPA (1994) Background Information on Mercury Sources and Regulations.

กระทรวงอุตสาหกรรมกรมโรงงาน อุตสาหกรรม, ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การ กําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548, 54 หน้า

Equilibrium time for the adsorption of Hg from 100 ml solution of 0.5 mg l-1 of mercury onto 0.025 g of fly ash

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2013

How to Cite

กิจชัยนุกูล ว. (2013). การดูดซับปรอทในน้ำสังเคราะห์ด้วยเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2(2), 35–39. https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.272