การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเห็ดนางรมด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.269คำสำคัญ:
เห็ดนางรม, วัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ, ขี้เลื่อยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการเพิ่มค่าโภชนาการเห็ดนางรมด้วยวัสดุเหลือทิ้งกากกาแฟ เนื่องจากกากกาแฟประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนปริมาณสูงเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัสและสารอย่างอื่นอีกเล็กน้อยที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของเห็ด โดยใช้เป็นวัสดุเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฎานซึ่งเป็นเห็ดชนิดสีเทาที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ผลิตเชื้อ ทดลองเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฎานด้วยวัสดุปลูกจากกากกาแฟผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารา อัตราส่วนร้อยละ 50:50, 25:75 และ 0:100 พบว่าวัสดุปลูกอัตราส่วน 50:50 ให้ค่าทางโภชนาการด้านโปรตีนสูงกว่าวัสดุเพาะปลูกขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% มากกว่า 2 เท่า และการใช้วัสดุเพาะปลูกเห็ดจากกากเมล็ดกาแฟบดผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารา อัตราส่วนร้อยละ 25:75 ให้ค่าทางโภชนาการด้านค่าแคลอรีต่ำกว่าวัสดุเพาะปลูกขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% เท่ากับร้อยละ 51 นอกจากนี้การเพาะเห็ดนางรมภูฎานจากกากกาแฟผสมขี้เลื่อยไม้ยางพาราอัตราส่วนร้อยละ 50:50 ได้ผลผลิตดอกเห็ดที่มีปริมาณมากกว่าวัสดุเพาะปลูกขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100% ถึงร้อยละ 19-110 จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่ากากกาแฟเหมาะสมเป็นวัสดุเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฎานทดแทนวัสดุเพาะปลูกขี้เลื่อยไม้ยางพารา เนื่องจากผลิตเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น และวัสดุเพาะปลูกเห็ดชนิดใหม่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่ากากกาแฟที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งและลดปัญหาการกำจัดขยะกากกาแฟอีกนับหลายพันตันต่อปี
References
ณัฐพงษ์ สิงห์ภูงา และรัตนะ ยศเมธากุล. การเพิ่มผลผลิตของเห็ดนางรมที่เพาะเลี้ยงจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM). นครสวรรค์ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2553.
สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2552-2556 [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 29 มีนาคม 2555]. เข้าถึงจาก: http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/ strategics_2554/05_ coffee.pdf.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน). อุตสาหกรรมการแปรภาพกาแฟ [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 22 เมษายน 2555]. เข้าถึงจาก: http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/coffee/used/index.php.
ASSOCIATION OF OFFICIAL ANALYTICAL CHEMISTS. Official methods of analysis of the Association of Official Analytical Chemists. AOAC. 993.13, 958.01. Arlington, Virginia : Association of Official Analytical Chemists International, 2012.
SUISANSHO, NORIN, NOGYO KANKYO and GIJUTSU KENKYUJO. Official methods of analysis of fertilizers. Tsukuba-shi, Ibaraki-ken, Japan : National Institute of Agro-Environmental Sciences, Ministry of Agriculture, Forestry, and Fisheries, Official Method of Analysis Fertilizers JAPAN, 1987.
HORWITZ, W. and GEORGE W. LATIMER. Manual on Organic Fertilizer Analysis, APSRDO, DOA:4/2551, 2551.
ASSOCIATION OF OFFICIAL ANALYTICAL CHEMISTS. Official methods of analysis of the Association of Official Analytical Chemists. AOAC. 920.153, 981.10, 996.06, 985.29, 942.23, 984.27, 999.10. Arlington, Virginia : Association of Official Analytical Chemists International, 2012.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.