การสร้างแนวปฏิบัติการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐกานต์ เกตุคุ้ม สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ปัทมา นพรัตน์ สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ กองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สัตติญา ดีดวงพันธ์ สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.266

คำสำคัญ:

สารเคมี, การจัดการสารเคมี, ความปลอดภัย, ห้องปฏิบัติการ, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

บทคัดย่อ

อันตรายจากสารเคมี รวมทั้งผลกระทบของสารเคมียังคงเป็นประเด็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เคมี มีอัตราที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมอันเกิดจากอุตสาหกรรมในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงในการใช้สารเคมีอันตรายเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มอัตราเสี่ยงการเกิดอันตรายจากการใช้สารเคมีอันตรายในกลุ่มนี้ สูงขึ้นอย่างเป็นเท่าตัว รวมทั้งปัญหาจากการจัดการสารเคมีที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมเพียงพอ ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โครงการวิจัยเรื่อง การสร้างแนวปฏิบัติในการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกลไกการจัดการสารเคมี และป้องกันอันตรายจากสารเคมีในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมี และสถานประกอบการเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงสำรวจ และการใช้เครื่องมือการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการสารเคมี โดยการให้การฝึกอบรมที่ครอบคลุมกระบวนการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี และจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัยสำหรับหน่วยงานเฉพาะของกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ผลของโครงการวิจัย พบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสร้างแนวปฏิบัติในการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการของอุตสาหกรรมเคมี ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในองค์กร 2. มาตรการความปลอดภัยด้านสารเคมี 3. การบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ สำหรับข้อมูลเชิงลึกของผลการวิจัยยังพบว่า การบริหารจัดการด้านสารเคมี และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ซึ่งแนวโน้มของการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี จะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้ ถ้าผู้บริหารในองค์กรให้การสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้เป็นสำคัญ

References

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมพลาสติก. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์พริ้นติ้ง, 2557.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์พริ้นติ้ง, 2557.

ศุภวรรณ ตันตยานนท์. เคมีกับความปลอดภัย ตอนที่ 1 อุบัติเหตุและการป้องกันอันตรายในห้องปฏิบัติการ : แนวปฏิบัติทั่วไป [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 30 มีนาคม 2562] เข้าถึงจาก: http://www.chemsafety.research.chula.ac.th/html/content.html.

หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถิติอุบัติภัยสารเคมี (ม.ค.49 – มิ.ย.55) และบทวิเคราะห์ [ออนไลน์]. กันยายน 2555. [อ้างถึงวันที่ 6 มกราคม 2560]. เข้าถึงจาก: http://www.chemtrack.org/doc/f646.pdf

แสดงกิจกรรมการประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการวิจัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

เกตุคุ้ม ณ., นพรัตน์ ป., วรสรรพวิทย์ จ., & ดีดวงพันธ์ ส. (2022). การสร้างแนวปฏิบัติการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 8(8), 78–87. https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.266