ผลกระทบของไฟฟ้าสถิตที่มีต่อค่าความถูกต้องของการชั่งน้ำหนัก

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ วัฒนหัตถกรรม กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ศักดิ์สิทธิ์ ดีอ่ำ กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • บุญธรรม ลิมป์ปิยพันธ์ กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.263

คำสำคัญ:

ไฟฟ้าสถิต, การชั่งน้ำหนัก, ความแม่นการวัด, ความเที่ยงการวัด

บทคัดย่อ

ไฟฟ้าสถิตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อค่าความถูกต้องของการชั่งน้ำหนัก เพียงแค่จับถูสัมผัสก็ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายเทประจุไฟฟ้าขึ้น มักเกิดกับวัตถุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าประเภทยาง แก้ว พลาสติก และสารชนิดผง ตัวอย่างที่นำมาทดสอบนี้มีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ แก้ว พลาสติก อลูมิเนียม ถุงมือยางธรรมชาติ และกระดาษ แต่พลาสติกและแก้วเป็นวัสดุที่มักเกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี triboelectric series  เมื่อเรานำตัวอย่างทั้งพลาสติกและแก้วที่มีไฟฟ้าสถิตและที่ได้รับการสลายไฟฟ้าสถิตมาทดสอบโดยการชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งประเภท analytical balance และ micro balance และนำผลการชั่งมาเปรียบเทียบกัน พบว่าตัวอย่างที่มีศักย์ไฟฟ้าแสดงค่าน้ำหนักเปลี่ยนแปลงตลอด เครื่องชั่งขาดความเสถียรทำให้ไม่สามารถอ่านค่าได้ ค่าการวัดผิดพลาดไม่ถูกต้องเนื่องจากค่าน้ำหนักที่ได้มีค่ามากกว่าน้ำหนักจริงของตัวอย่างนั้นอันเป็นผลมาจากแรงกระทำระหว่างวัตถุและเครื่องชั่ง และค่าความทวนซ้ำได้ของผลการวัดไม่ดีดังเห็นได้จากผลการวัดที่กระจายตัวมากกว่าการชั่งตัวอย่างที่ไม่มีไฟฟ้าสถิต

ดังนั้นการกำจัดไฟฟ้าสถิตหรือการทำให้ตัวอย่างที่นำมาทดสอบนั้นมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานควรตะหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดความเสถียรขณะชั่ง ความแม่นและความเที่ยงของการวัดมีมากขึ้น ทำให้ได้ค่าผลการวัดที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ

References

Weighing the right way, proper weighing with laboratory. Greifensee, Switzerland : Mettler-Toledo AG Laboratory & Weighing Technologies, 2008. 36 p.

CROSS, J. A. Electrostatics : principles, problems and applications. Bristol, UK : IOP Publishing, 1987. 500 p.

TEXTILE CENTRE OF EXCELLENCE. Antistatic [online]. 2017. [viewed 26 April 2019]. Available from: http://www.tikp.co.uk/knowledge/material-functionality/antistatic/.

SHIMADZU EXCELLENCE IN SCIENCE. Static electricity remover for electronic balances [online]. 2013. [cited 26 April 2019]. Available from: https://www.teopal.fi/wp-content/uploads/2015/10/Stablo-Ex_ionisaattori_Shimadzu.pdf.

METTLER-TOLEDO. Electrostatic charges and their effects on weighing [online]. [cited 26 April 2019]. Available from: https://www.mt.com/nz/en/home/library/collections/laboratory-weighing/electrostatic-and-weighing.html?smartRedirectEvent=true.

GUMKOWSKI, G. and A. STEINMAN. Mitigating electrostatic effects on measurement accuracy [online]. NRD – Advanced Static Control, July 2014. [cited 26 April 2019]. Available from: https://us.vwr.com/assetsvc/asset/en_US/id/22560272/contents.

อัจฉราวรรณ วัฒนหัตถกรรม และว่าที่ ร.ต. ศักดิ์สิทธิ์ ดีอ่ำ. การพัฒนาอุปกรณ์กำจัดไฟฟ้าสถิตเพื่อลดความผิดพลาดเครื่องชั่ง. เอกสารผลงานที่เสนอขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ระดับชำนาญการพิเศษ, กรุงเทพฯ : กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2560.

พูลพงษ์ บุญพราหมณ์. ไฟฟ้าสถิตในงานอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 2530. 168 หน้า.

SARTORIUS. Sartorius Micro : Analytical, Semi-micro- and Microbalances Installation and Operating Instructions. Goettingen, Germany : Sartorius.

NATER, R., et al. Dictionary of weighing terms : a guide to the terminology of weighing. Dordrecht, Switzerland : Springer, 2009. 269 p.

METTLER-TOLEDO. Electrostatic charges in weighing, innovative detection solution [online]. [viewed 28 August 2019]. Available from: https://www.mt.com/dam/P5/labtec/02_Analytical_Balances/10_Excellence_Line/WP_Antistatic_EN.pdf

แรงดึงดูดที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุกับเครื่องชั่ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

วัฒนหัตถกรรม อ., ดีอ่ำ ศ., & ลิมป์ปิยพันธ์ บ. (2022). ผลกระทบของไฟฟ้าสถิตที่มีต่อค่าความถูกต้องของการชั่งน้ำหนัก. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 8(8), 64–71. https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.263