การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย

ผู้แต่ง

  • ฐิตารินีย์ สุโรพันธ์ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.251

คำสำคัญ:

การผลิตกระดาษ, เศษผ้าฝ้าย, กระดาษหัตถกรรม, ลวดลาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้เศษผ้าฝ้ายเป็นวัตถุดิบทดแทนปอสาในการนํามาผลิตกระดาษหัตถกรรม เนื่องจากปอสามีราคาสูงขึ้นและต้องนําเข้าจากต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศไทยมีเศษผ้าเหลือจากการผลิตเป็น จํานวนมาก เพื่อการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งพัฒนาคุณสมบัติและลวดลายของผลิตภัณฑ์ สําหรับใช้ในงานศิลปะและผลิตของใช้ จาก การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมน้ําเยื่อและการนําไปขึ้นแผ่นด้วยเครื่องขึ้นแผ่นอัตโนมัติ คือ สภาวะการบดเศษผ้าฝ้ายโดยใช้ เวลา 20 นาที แบบใส่ตุ้มน้ําหนักถ่วง 6 กิโลกรัม ด้วยเครื่องบดเยือ แบบ Valley Beater ที่สภาพการระบายน้ําของเยื่อ (Freeness) คือ 252 ml เยื่อจากเศษผ้าฝ้ายมีการกระจายตัวของเส้นใยได้ดีขณะขึ้นแผ่น โดยไม่ต้องเติมสารช่วยกระจายเส้นใย กระดาษที่ผลิตในห้อง ปฏิบัติการมีสมบัติกระดาษ ดังนี้ ความหนาแน่นปรากฏ (Apparent density) 5.90 g/cm ดัชนีความต้านแรงดึง (Tensile index) 0.027 Nm/g ดัชนีความต้านแรงฉีกขาด (Tear index) 8.74 mNm/g และดัชนีความต้านแรงดันทะลุ (Burst index) 1.60 kPam/g ในสภาวะ การเตรียมน้ําเยื่อนี้สามารถนําไปขึ้นแผ่นแบบหัตถกรรมและสร้างลวดลายด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยแรงดันน้ํา ผลการวิจัยพบ ว่าเยื่อและกระดาษจากเศษผ้าฝ้ายที่ผลิตได้มีคุณภาพดีเป็นไปตามที่ผู้ประกอบการต้องการ และสามารถปรับปรุงคุณภาพให้เป็นตาม มาตรฐานชุมชนได้ ดังนั้นเศษผ้าฝ้ายจึงสามารถนํามาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษหัตถกรรมได้

References

บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์. ปอสา : วัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมกระดาษ [ออนไลน์]. 2545. [อ้างถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงจาก: http://posaa.kapi.ku.ac.th/Document/PDF/ISBN1521/1521_03.pdf

ข้อมูลเศรษฐกิจพื้นฐาน [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงจาก: http://cm.nesdb.go.th/cluster_ baseinfo.asp?ClusterID=C0066

Old clothes turned into paper [ออนไลน์]. 2558. [อ้างถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.deseretnews.com/article/590039536 /Old-clothes-turned-into-paper.html?pg=all

สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงจาก: http://www.oic.go.th/FILE WE /CABINFOCENTER2/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000020

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (มกราคม - มีนาคม 2558) (อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) [ออนไลน์]. 2558. [อ้างถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงจาก: http://www.ryt9.com/s/oie/2168495

ดรรชนี พัทธวรากร. เทคโนโลยีสิ่งทอ. (เอกสารการสอน) [ออนไลน์]. 2559. [อ้างถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงจาก: http://www.inc.science.cmu.ac.th/thai/upload/article/file/12-11-05-37a74.pdf

GULLICHSEN, J. and H. PAULAPURO. Papermaking Science and Technology : Chemical Pulping. USA : Tappi Press, 2000.

สมพร ชัยอารีย์กิจ. การผลิตกระดาษและสมบัติของกระดาษ. (เอกสารประกอบการเรียน). กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ. (เอกสารเผยแพร่). กรุงเทพฯ : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2539.

ประภาภรณ์ เครืองิ้ว. ปัญหาหนักอกผู้ผลิตกระดาษสา เสียงสะท้อน SME : วัตถุดิบขาด-ต้นทุนขยับ ปัญหาหนักอกผู้ผลิตกระดาษสา [ออนไลน์]. 2556. [อ้างถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงจาก: http://www.komchadluek.net/detail /20130606/160246/ปัญหาหนักอกของผู้ผลิตกระดาษสา.html

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มผช. 41/2546. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกระดาษสา. 3 หน้า.

แสดงการขึ้นแผ่นกระดาษจากเศษผ้าฝ้ายแบบหัตถกรรมและตกแต่งลวดลายในห้องปฏิบัติการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

สุโรพันธ์ ฐ. . (2022). การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 8(8), 25–33. https://doi.org/10.60136/bas.v8.2019.251