การเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบ AOX ในน้ำทิ้งก่อนเข้าและออกจากระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูวดี ตู้จินดา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ก่อพงศ์ หงษ์ศรี กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.242

คำสำคัญ:

น้ำทิ้ง, สารประกอบ, โรงงานอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อและกระดาษจัดว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะน้ำทิ้งจากขั้นตอนการฟอกเยื่อ ซึ่งใช้คลอรีนและสารประกอบคลอรีนที่ก่อให้เกิด สารประกอบ AOX (Adsorbable Organic Halogen) มีความเป็นพิษสูง ไม่สลายตัวโดยธรรมชาติ และสามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 80 ใช้คลอรีนและสารประกอบคลอรีนในการฟอกเยื่อ งานวิจัยนี้จึงได้ทดสอบหาปริมาณสารประกอบ AOX ที่เกิดจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษในน้ำทิ้งก่อนเข้าและหลังออกจากระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลที่ได้ โดยเก็บตัวอย่างจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทุกโรงงานภายในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 5 โรงงาน ดำเนินการทุก 3 เดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี (2552-2554) พบว่า น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบในการผลิตมีปริมาณสารประกอบ AOX มากกว่าโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเป็นวัตถุดิบโดยที่ทั้งสองโรงงานใช้คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารเคมีในการฟอกขาวเหมือนกัน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษที่ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบ พบว่า โรงงานที่ใช้คลอรีนในการฟอกขาวจะมีปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างในน้ำทิ้งมากกว่าโรงงานที่ใช้คลอรีนไดออกไซด์ โดยที่ฤดูกาลหรือปริมาณน้ำฝนในธรรมชาติ ไม่มีผลต่อปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตและน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ เมื่อผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว ปริมาณสารประกอบ AOX ที่ตกค้างลดลง ซึ่งสำนักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียวได้นำข้อมูลจากงานวิจัยนี้ไปใช้ปรับปรุงข้อกำหนดฉลากเขียวผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีการทบทวนใหม่ในปี พ.ศ. 2554

References

การฟอกเยื่อ เล่ม 1. (เอกสารเผยแพร่) บริษัท สยามคราฟท์ จำกัด.

ณรงค์ วุทธเสถียร. เทคโนโลยีการผลิตกระดาษ คุณสมบัติของกระดาษ ภาค 4 คุณสมบัติด้านทัศนศาสตร์. (เอกสารเผยแพร่) บริษัท แอ็ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน).

โครงการฉลากเขียว. ข้อกำหนดฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์กระดาษ (Paper). (เอกสารเผยแพร่) สำนักงาน เลขานุการโครงการฉลากเขียว สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2554.

International Organization for Standardization. Paper, board and pulps - Determination of total chlorine and organically bound chlorine. ISO 11480, 1997.

International Organization for Standardization. Water quality-Determination of adsorbable organically bound halogens (AOX). ISO 9562:2004, 2004.

Scandinavian pulp, paper and board testing committee. Water-extractable organically bound chlorine. SCAN-W 9: 89, 1989.

The differences of average values of AOX in effluent between entering and leaving the treatment system (2009-2012).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ตู้จินดา ภ., & หงษ์ศรี ก. (2022). การเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบ AOX ในน้ำทิ้งก่อนเข้าและออกจากระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2(2), 48–54. https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.242