การคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่สามารถผลิตกรดแลคติกโดยใช้กลีเซอรอลเป็นแหล่งคาร์บอน
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.240คำสำคัญ:
กรดแลคติก, กลีเซอรอล, ไบโอดีเซล, จุลินทรีย์บทคัดย่อ
คัดเลือกจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตกรดแลคติกโดยใช้กลีเซอรอลเป็นแหล่งคาร์บอนเพียงชนิดเดียว โดยนำตัวอย่างที่คาดว่าจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีสมบัติที่ต้องการจากแหล่งต่าง ๆ จำนวน 14 แหล่ง ได้แก่ น้ำฮอร์โมนน้ำดำ น้ำผักดอง น้ำหน่อไม้ดอง น้ำเอนไซม์ผสมน้ำผลไม้รวม ปุ๋ยน้ำ น้ำหมักชีวภาพยี่ห้อน้องเดือน น้ำหมักชีวภาพยี่ห้อเทศบาล น้ำหมักชีวภาพ EM ดินที่ปนเปื้อนกลีเซอรอลดิบ น้ำทิ้งที่ปนเปื้อนกลีเซอรอลดิบ น้ำหมักชีวภาพจาก จ.เชียงใหม่ น้ำหมักมะกรูด น้ำหมักลูกยอ น้ำหมักยี่ห้อพลอยเพชร มาทำการแยกเชื้อจุลินทรีย์โดยเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีกลีเซอรอลดิบจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลเป็นแหล่งคาร์บอนและแคลเซียมคาร์บอเนต จากผลการทดลองพบว่า ตัวอย่างจากน้ำหมัก EM ให้ขนาดวงใสรอบโคโลนี่กว้างที่สุด จึงคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์มา 18 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ EM335 มีขนาดวงใสรอบโคโลนี่กว้างที่สุด เท่ากับ 17.07 มิลลิเมตร และเมื่อทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบ พบว่า สายพันธุ์ EM383 เจริญเติบโตได้ดีที่สุด จากนั้นจึงนำสายพันธุ์ EM335, EM383 และ EM335 ผสมกับ EM383 ทดลองเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบ กลีเซอรอลบริสุทธิ์ร้อยละ 99 และกลีเซอรอลบริสุทธิ์ร้อยละ 99.5 พบว่า เชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ EM335 สามารถผลิตกรดแลคติกได้สูงที่สุด คือ 84.76 ไมโครกรัมต่อลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีกลีเซอรอลดิบเป็นแหล่งคาร์บอน
References
Dasari, M.A., P.P. Kiatsimkul, W.R. Sutterlin, and G.J. Suppes. “Low-pressure hydrogenolysis of glycerol to propylene glycol. Applies Catalysis A.” General., 2005, 281(1-2): 225-231.
Pachauri, N. and B. He. “Value-added utilization of crude glycerol from biodiesel production: a survery of current research activities”. The 2006 ASABE Annual International Meeting, Oregon Convention Center, Portland, Oregon 9-12 July 2006. http://www.webpages.uidaho.edu
Hong, A.A., K.K. Cheng, F. Peng, S. Zhou , Y. Sun, M.M. Liu and D.H. Liu. “Strain isolation and optimization of process parameters for bioconversion of glycerol to lactic acid”. J. Chem. Technol. Biotechnol., 2009, 84: 1576-1581.
Du, W., W. Li, T. Sun, X. Chen and D.H. Liu. “Perspectives for biotechnological production of biodiesel and impacts”. Appl. Microbiol. Biotechnol., 2008, 79: 331-337.
Datta, R., S.P. Tsai, P. Bonsignore, S.H. Moon and J.R. Frank. “Technological and economic potential of poly-lactic acid and lactic acid derivatives”. FEMS. Microbiol. Rev., 1995, 16: 221-231.
Rathin, D. and H. Michael. “Lactic acid: recent advances in products, processes and technologies-a review”. J. Chem. Technol. Biotechnol., 2006, 81: 1119-1129.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.