การพัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ต้นทุนต่ำ เพื่อการประยุกต์ใช้ในงานพลังงานทดแทน

ผู้แต่ง

  • กรธรรม สถิรกุล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อภิญญา บุญประกอบ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.239

คำสำคัญ:

ระบบติดตามดวงอาทิตย์ต้นทุนต่ำ, สมการคำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์, พลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

ระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้พัฒนาขึ้น เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้รับงบประมาณให้ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2554 ถึง 2556 เพื่อนำไปใช้ในระดับครัวเรือน หรือชุมชนเล็ก ซึ่งระบบผลิตกระแสไฟฟ้านี้ใช้หลักการของการรวมแสงอาทิตย์ด้วยจานรูปทรงพาราโบลา ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ เพื่อให้จานรวมแสงรับรังสีตรงของดวงอาทิตย์และรวมแสงที่จุดโฟกัสได้อย่างแม่นยำ ระบบการติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้นใช้หลักการของคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ด้วยสมการเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่โดยเบื้องต้นและใช้เซนเซอร์วัดความเข้มแสงเพื่อปรับแต่งตำแหน่งละเอียดเพื่อให้สามารถชี้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ได้อย่างแม่นยำ ผิดพลาดไม่เกิน 1 องศา เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาระบบนี้คือความประหยัด ใช้ต้นทุนในการสร้างที่ต่ำ โดยในโครงการวิจัยนี้ได้ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ราคาประหยัด อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถหาได้ในประเทศ ความเรียบง่ายในการออกแบบสร้าง ทำให้ระบบโดยรวมไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับระบบแบบเดียวกันที่นำเข้ามาจำหน่ายในราคาที่แพงกว่ากันมาก

References

Andy Ross. “Making Stirling Engines”, Model Engineer, January 10th, 2011.

William B. Stine and Michael Geyer. “Power From The Sun”, http://www.powerfromthesun.net

Artin Der Minassians and Seth R. Sanders. “Stirling Engines for Distributed Low-Cost SolarThermal-Electric Power Generation” Journal of Solar Energy Engineering, February 2011, Vol. 133.

Philips Semiconductors. “LPC213x User Manual”, http://www.semiconductors.philips.com

แสดงเครื่องต้นแบบที่ได้พัฒนาขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

สถิรกุล ก., & บุญประกอบ อ. (2022). การพัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ต้นทุนต่ำ เพื่อการประยุกต์ใช้ในงานพลังงานทดแทน. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2(2), 90–99. https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.239