การศึกษาผลกระทบของเนื้อสารตัวอย่างและประเภทของแบคทีเรียที่มีผลต่อค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบทางจุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • กิจติศักดิ์ ยศอินทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.237

คำสำคัญ:

ความไม่แน่นอนของการทดสอบทางจุลชีววิทยา, เนื้อสารทดสอบ

บทคัดย่อ

การรายงานผลการทดสอบที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยการแสดงค่าผลการทดสอบพร้อมด้วยค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบ ค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบแสดงถึงความแม่นของผลการทดสอบ การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบทางจุลชีววิทยาอาศัยวิธีการแบบ “Top-down approach” โดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการทำซ้ำได้ (Standard deviation of reproducibility, SR) ตามมาตรฐาน ISO/TS 19036:2006/Amd.1:2009(E) จากข้อมูลของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 พบว่า เนื้อสารของตัวอย่างมีผลต่อค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบ หากเป็นตัวอย่างที่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน ค่าความไม่แน่นอนจะมีค่าน้อยกว่าตัวอย่างที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันน้อยกว่า และพบว่าชนิดของแบคทีเรียไม่มีผลต่อค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบทางจุลชีววิทยา

References

ISO/TS 19036:2006/Amd. 1:2009(E): Microbiology of Food and animal feeding stuffs Guidelines for the estimation of measurement uncertainty for quantitative determinations.

EURACHEM/CITAC Guide. Quantifying Uncertainty in Analytical Measurement. 2nd Edition. 2000.

แสดงค่าของผลต่างค่า (logarithm)2/2 โดยแยกประเภทตามชนิดของแบคทีเรียแกรมลบ (E.coli) และแบคทีเรียแกรมบวก (Staphylococcus aureus)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ยศอินทร์ ก. (2022). การศึกษาผลกระทบของเนื้อสารตัวอย่างและประเภทของแบคทีเรียที่มีผลต่อค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบทางจุลชีววิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2(2), 77–83. https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.237