การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย

ผู้แต่ง

  • ปวีณา เครือนิล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เบญจพร บริสุทธิ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.234

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, ห้องปฏิบัติการนำร่อง, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นด้าน เศรษฐกิจนั้น ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเผชิญอยู่กับอันตรายจากการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากการขยายขอบข่ายงานห้องปฏิบัติการ กระบวนการทดลองแบบใหม่ และการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยโดยตรง จึงทำให้การดำเนินการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีรูปแบบและกลไกที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมี ที่เป็นตัวอย่างและสามารถนำไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้ โดยการวิจัยและพัฒนาเอกสารคู่มือการจัดการความปลอดภัยและนำไปทดลองปฏิบัติในห้องปฏิบัติการนำร่อง คือ ห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย โครงการเคมี ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบทางเคมี ซึ่งได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 แต่ยังไม่มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม จึงมีความคล้ายคลึงกับห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมีอื่น ๆ ของ วศ. ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมต่อการศึกษาภายใต้ขอบข่ายของการศึกษาวิจัย จากการศึกษาวิจัยได้มีการพัฒนาเอกสารคู่มือการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เหมาะสมกับการทดลองปฏิบัติในห้องปฏิบัติการนำร่องตามสถานภาพปัจจุบัน ผลการทดลองปฏิบัติเอกสารคู่มือฯ ในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย พบว่า ผลการประเมินระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการก่อนการนำเอกสารคู่มือฯ ทดลองปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 29.5 และผลการประเมินระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการภายหลังการนำเอกสารคู่มือฯ ไปทดลองปฏิบัติ ในระยะเวลา 4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 46.2 และ 12 เดือน คิดเป็นร้อยละ 60.2 ซึ่งคิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 16.7 และ 30.7 ตามลำดับ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าห้องปฏิบัติการมีการจัดการความปลอดภัยที่ดีขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยให้กับห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ของ วศ. และหน่วย งานอื่น ๆ ได้

References

U.S. Department of Labor. Occupational Safety & Health Administration. Occupational Exposure to Hazardous Chemicals in the laboratory (29 CFR 1910.1450).

National Research Council, Prudent Practices in the Laboratory for Handling and Disposal of Chemicals, National Academy Press, Washington, D.C., 1995.

American Chemical Society Committee on Chemical Safety, Safety Audit / Inspection Manual (American Chemical Society, Washington, DC, 2000).

กระทรวงแรงงาน, พระราชบัญญัติความ ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา. 17 มกราคม 2554 เล่มที่ 128 ตอนที่ 4 ก.

รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนา มาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยและการ ประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการนำร่อง (ค.55TM11). กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

เครือนิล ป., เชาวน์ศรีหมุด ด., & บริสุทธิ์ เ. (2022). การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2(2), 55–61. https://doi.org/10.60136/bas.v2.2013.234