The การพัฒนาเทคนิคสีและลวดลายบนกระดาษสาเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.231คำสำคัญ:
กระดาษสา, สีและลวดลาย, อีบรู เทคนิค, เจลเซลลูโลสบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาเทคนิคการลงสีและสร้างลวดลายบนกระดาษสา โดยประยุกต์ใช้ศิลปะ Ebru paper ซึ่งเป็นเทคนิคการลงสีและสร้างลวดลายในผลิตภัณฑ์ผ้าและกระดาษแข็งผิวเรียบ เพื่อให้ได้วิธีการและเทคนิคการสร้างสีสัน และลวดลายบนตัวกระดาษสาให้มีความหลากหลาย สวยงาม ตรงกับความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษหัตถกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน ผลจากการศึกษาพบว่าน้ำเจล Methyl cellulose ที่สามารถ ลงสีและสร้างลวดลายบนกระดาษสาได้ดีควรมีความหนืดอยู่ ในช่วง 260-1,880 cP โดยในช่วงความหนืดดังกล่าวเมื่อหยุด สีแล้วสีไม่จมลงในน้ำเจล Methyl cellulose เมื่อทำการวาดเพื่อ สร้างลวดลายสีจะหยุดทันทีเมื่อหยุดการวาดและน้ำเจล Methyl cellulose ไม่ซึมทะลุเข้าไปในกระดาษสา ความเข้มข้นของน้ำ เจล Methyl cellulose ที่เหมาะสมคือร้อยละ 1 ซึ่งจะสามารถใช้งานน้ำเจลได้ไม่เกิน 10 วัน เพราะ Methyl cellulose เสื่อมสภาพลงส่งผลทำให้การกระจายตัวของสีไม่ดี และยังทำให้ควบคุมลวดลายได้ยากขึ้นตามระยะเวลาใช้งานที่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับการใช้งานเพียงวันเดียวสามารถเตรียมน้ำเจล Methyl cellulose ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ได้เพราะนําเจลยังมีความ หนืดอยู่ในช่วงที่สามารถใช้งานได้ สีที่มีความเหมาะสมสำหรับการลงสีและสร้างลวดลายบน กระดาษสา คือ สีอะคริลิกเกรดงาน Art สีอะคริลิกเกรดทาบ้าน และสีโปสเตอร์ โดยสีดังกล่าวมีการกระจายที่ดี มีความเข้มข้น สม่ำเสมอบนน้ำเจล Methyl cellulose สามารถสร้างลวดลายได้ตามต้องการ และสีติดบนผิวกระดาษสาได้ทั้งหมด
References
ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุน จังหวัดเชียงใหม่. ฐานข้อมูลสินค้าหัตถกรรมที่มีศักยภาพ:กระดาษสา [ออนไลน์] 2553. [อ้างถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงจาก: http://tisc. feu.ac.th/input/file_upload/กระดาษสา บทวิเคราะห์_2010_12_21_22_31_23.pdf
ศิริพร ตรีพรไพรัช. สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน ประจำประเทศไทย (GIZ) จับมือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พัฒนาอุตสาหกรรมกระดาษสาไทย [ออนไลน์]. 2550. [อ้างถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงจาก: https://www.ryt9.com/s/prg/107726
น้ำผิง ไชยกุล. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระดาษสาของชุมชนเทศบาลตำบลต้นเปา อำเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรชุมชนและสิ่งแวดล้อม บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2556. 138 หน้า.
THE EDITORIAL TEAM. Ebru: The Art of Paper - Marbling [online]. 2548. [อ้างถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก: http://www.muslimheritage.com/article/ebruart-paper-marbling
AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS. ASTM D2196-10.2015. Standard test methods for rheological properties of non-newtonian materials by rotational viscometer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.