การสังเคราะห์สีผงเซรามิกสีน้ำเงินสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้ Co1-x Mgx AI2O4
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.230คำสำคัญ:
ผงสีสีน้ำเงิน, ผงสีสะท้อนรังสีอาทิตย์, ผงสีสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้, สารประกอบอนินทรีย์เชิงซ้อนบทคัดย่อ
บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์สีผงเซรามิกสีน้ำเงินด้วยปฏิกิริยาของเซรามิกจากความร้อน (solid state reaction) จากโคบอลต์อลูมิเนต (Cobalt aluminate) ที่เจือด้วยแมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium oxide) เพื่อเกิดเป็นสารประกอบ อนินทรีย์เชิงซ้อน (Complex inorganic Compound pigment, CICP) Co1-x Mgx AI2O4 ที่ให้สีน้ำเงินและมีความสามารถในการ สะท้อนรังสีอาทิตย์ช่วงอินฟราเรดใกล้ (Near infrared) ผงสีที่สังเคราะห์ได้สามารถใช้ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สีทาอาคารเพื่อสะท้อนรังสีอาทิตย์ และลดปริมาณความร้อนที่สะสมบนแผ่นหลังคา ส่งผลต่อการประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศ และ ช่วยเพิ่มสภาพสบายเชิงอุณหภาพ (Thermal comfort) ภายในอาคาร การสังเคราะห์ผงสีทำโดยการบดผสม C00 MgO และ AI2 03 ที่สัดส่วนต่าง ๆ เพื่อเกิดปฏิกิริยาเป็นสารประกอบอนินทรีย์ Co1-x Mgx AI2O4 โดยมีการแปรค่า x ระหว่าง 0 ถึง 1 และถูก เผาที่อุณหภูมิ 1,200 1,300 และ 1,400 องศาเซลเซียส แล้วนํามาล้าง อบ และบดจนได้เป็นผงสีเซรามิกสีน้ำเงิน สีของผงสี ซึ่ง คํานวณจากระบบ CIE L* a* b* ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่ออุณหภูมิเผาเปลี่ยนแปลง แต่แปรเปลี่ยนมากตามค่า X หรือ ตามปริมาณ MgO ที่เจือ และพบว่า สีจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีฟ้า เมื่อ X มีค่าเพิ่มขึ้น และจะเป็นสีขาวเมื่อ X มีค่าเท่ากับ 1 เมื่อทำการวิเคราะห์ค่าการสะท้อนรังสีอาทิตย์ พบว่าผงสีเซรามิกสีน้ำเงินที่มีสูตรสารประกอบ Co1-x Mgx AI2O4 มีความสามารถ ในการสะท้อนรังสีอาทิตย์ช่วงอินฟราเรดใกล้ได้ดี โดยค่าการสะท้อนมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ x มีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจากชุดตัวอย่างทั้งหมดพบว่า Co0.2 Mg0.8 AI2O4 เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 1,300 °C จะได้ผงสีน้ำเงินที่มีค่าการสะท้อนรังสีอินฟราเรดใกล้สูงสุด เท่ากับ 66.8%
References
LOMBARD, LUIS PEREZ. JOSE ORTIZ and ISMAEL R. MAESTRE. The map of energy flow in HVAC system. Applied Energy. 2011, 88, 5020–5031.
SYNNEFA, A., M. SANTAMOURIS and K. APOSTOLAKIS. On the development, optical properties and thermal performance of cool colored coatings for the urban environment. Solar Energy. 2007, 81, 488-497.
TAKEBAYASHI, H. and M. MORIYAMA. Surface heat budget on green roof and high reflection roof for mitigation of urban heat island. Build Environ. 2007, 42, 2971-2979.
LEVINSON, R., H. AKBARI and JC. Reilly. Cooler tile-roofed buildings with near-infrared-reflective non-white coatings. Build Environ. 2007, 42, 2591-2605.
GANGULY, ARNA, DEBASHISH CHOWDHURY and SUBHASIS NEOGI. Performance of building roofs on energy efficiency-a review. Energy Procedia. 2016, 90, 200-208.
LEVINSON, RONNEN, PAUL BERDAHL and HASHEM AKBARI. Solar spectral optical properties of pigments—part II: survey of common colorants. Solar Energy Materials & Solar Cells. 2005, 89, 351-389.
BENDIGANAVALE, ASHWINI K. and VINOD C. MALSHE. Infrared reflective inorganic pigments, Recent Patents on Chemical Engineering. 2008, 1, 67-79.
MILLER, WILLIAM A., KENNETH T. LOYE, ANDRÉ O. DESJARLAIS and ROBERT P. BLONSKI. Color roofs with complex inorganic color pigments. Residential Buildings: Technologies, Design, Performance Analysis, and Building Industry Trends. pp.1.195-1.206.
YONEDA, M., I. GOTOH, M. NAKANISHI, T. FUJIL and T. NOMURA. Influence of aluminum source on the color tone of cobalt blue pigment. Powder Technology. 2018, 323, 574-580.
GILABERT, J. Characteristics reproducibility of (Fe,Co)(Cr, Al) O pigments obtained by solution combustion synthesis. Ceramics International. 2016, 42, 12880-12887.
ARANZABE, E. Preparation and characterization of high NIR reflective pigments based in ultramarine blue. Energy and Buildings. 2016, 126, 170-176.
FERRO CORPORATION. Ferro pigments for coating; Product information [online]. [viewed 25 June 2018]. Available from: https://www.ferro.com/-/media/files/ resources/pigments-and-dispersions/technical/ferropigments-for-coatings-2018-asia.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.