การยืดอายุการเก็บรักษาฝอยทองสด โดยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.229คำสำคัญ:
ฝอยทอง, สารให้ความหวาน, การยืดอายุบทคัดย่อ
ฝอยทองเป็นของหวานที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประจำชาติ ฝอยทองประกอบด้วยไข่ น้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบ เหล่านี้ทำให้ฝอยทองมีความชื้นสูง เกิดการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ได้ง่ายมีอายุการเก็บรักษาที่สั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาฝอยทองสด โดยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล โดยศึกษาผลของชนิดและปริมาณสารให้ ความหวานทดแทนน้ำตาลร่วมกับการศึกษาอายุการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภค ในการศึกษานี้ได้ใช้สารให้ความ หวานทดแทนน้ำตาลทราย 4 ชนิด คือ ซอร์บิทอล มอลททอล ไอโซมอลท์ และแมนนิทอล ที่ระดับร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 ของแต่ละชนิด ตามลำดับเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม โดยวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan New's Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มทำให้ฝอยทองสดมีปริมาณความชื้นและค่าวอเตอร์แอคทีวิตี้ลดลง ค่าความสว่าง (L*) ไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม ค่าสีแดง (a*) มีค่าเพิ่มขึ้น ค่าสีเหลือง (b*) มีค่าลดลง และยังทำให้ฝอยทองสดมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่มีความแข็งแรง (Tensile strength) ความยืดตัว (Extensibility) และความเหนียว (Toughness) เพิ่มขึ้น จากการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า ผู้บริโภคชอบผลิตภัณฑ์ฝอยทองสดที่มีการใช้ซอร์บิทอลทดแทนน้ำตาลทรายที่ร้อยละ 100 จึงนํามาศึกษาผลของการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ฝอยทองสด พบว่าการใช้ซอร์บิทอลทดแทนน้ำตาลทรายที่ร้อยละ 100 สามารถยืดอายุการเก็บรักษาฝอยทองสดที่อุณหภูมิห้องได้นานขึ้นจากเดิม 4 วัน เป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ โดยที่ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
References
นิดดา หงษ์วิวัฒน์. เส้นทางขนมไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2553. หน้า 110-111.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มผช. 1/2552. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ขนมไทย. หน้า 1-4.
MORR, C. V. and E. Y. W. HA. Whey-protein concentrates and isolates-Processing and functional-properties. CRC Critical Review in Food Science and Nutrition. 1993, 33(6): 431-476.
LOWE, B. Experimental cookery. 4th ed. New York: John Wiley and Sons, 1955, 573 p.
LEE, J. C. and S. N. TIMASHEFF. The stabilization of proteins by sucrose. Journal of Biological Chemistry. 1981, 256(14): 7193-7201.
STADELMAN, W. J. and O. J. COTTERILL. Egg Science and Technology. 4th ed. New York: Food Produce Press, 1990, 591 p.
GHOSH, SANDSUDHA, M. L. A review on polyols: new frontier for health-based bakery products. International. Journal of Food Science and Nutrition. 2012, 63, 1-8.
KINSELLA, J. E. Functional properties of food protein: thermal modification involving denaturation and gelation, In: Research in Food and Nutrition Volume 5. Kinsella, J. E. (editor). Dublin: Book Press, 1983, pp. 226-246.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.