การหาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนก โดยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี

ผู้แต่ง

  • มโนวิช เรืองดิษฐ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นิภาพร ชนะคช กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วรินกาญจน์ ธรตีกรธวัฒน์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.223

คำสำคัญ:

รังนก, ไนไตรท์, ไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีทดสอบปริมาณสารไนไตรท์ในรังนก โดยการสกัดแยกสารด้วยน้ำแล้วตรวจวัดด้วยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี ซึ่งพบว่าสภาวะแยกสารที่เหมาะสม โดยใช้คอลัมน์ชนิด C18 reverse-phase เป็นเฟสคงที่ และ 0.01 M octylammonium orthophosphate ในเมทานอลร้อยละ 30 โดยปริมาตร มีค่า pH 7.0 เป็นเฟสเคลื่อนที่ ที่อัตรา การไหล 0.8 มิลลิลิตร/นาที ตรวจวัดด้วย Photodiode-array detector ที่ความยาวคลื่น 216 นาโนเมตร จากการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี พบว่ามีค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.5-250 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.9999 ขีดจํากัดของการตรวจพบ 0.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ขีดจํากัดการวัดปริมาณ 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีร้อยละการคืนกลับที่ความเข้มข้น 0.5 125 และ 250 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เท่ากับร้อยละ 107.5 106.6 และ 105.3 ตามลําดับและมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ เท่ากับร้อยละ 1.61 0.43 และ 0.49 ตามลําดับ และมีค่าความไม่ แน่นอนเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับของวิธี ดังนั้นวิธีทดสอบดังกล่าวมีความแม่นและความเที่ยงสามารถนํามาใช้ในการทดสอบ ปริมาณไนไตรท์รังนกได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังได้สุ่มตัวอย่างรังนกเพื่อทดสอบจํานวน 13 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 9 จังหวัดจาก ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ พบว่าตัวอย่างรังนกมีช่วงผลการทดสอบตั้งแต่ไม่พบจนถึงพบปริมาณไนไตรท์ 1652.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. ประเทศจีนห้ามนักท่องเที่ยวนำเข้ารังนกเข้าเขตแดนจีน. [ออนไลน์]. 2555. [อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงจาก: http://www.ditp. go.th/contents_attach/67430/55001278.pdf

พรรณพิสุทธิ์ สันติภราดร. อันตรายจากสารไนเตรตไนไตรท์. [ออนไลน์]. 2559. [อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2560] เข้าถึงจาก: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/ article/326/2858970ansluimso-lh1nant

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 6705-2557: รังนก [ออนไลน์].

[อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงจาก: http://www.acfs. go.th/standard/download/BIRDS_NEST.pdf

EURACHEM. EURACHEM/CITAC Guide CG4. Quantifying Uncertainty in Analytical Measurement. 3rd ed. 2012. 133p.

ISMAIL, M.F., N.A. SABRI and S.N. TAJUDDIN. A study on contamination of nitrile in edible bird's nest (swiftlet). [online]. [viewed 6 December 2017]. Available from: http://www.dvs.gov.my/dvs/resources/user_1/ DVS%20pdf/Aneka%20Haiwan/poster%20papers/8_ Ismail_UTM.pdf

MEEI, CHIENQUEK, NYUK LING CHIN, ANIZA YUSOF, SHEAU WEI TAN and CHUNG LIM LAW. Preliminary nitrite, nitrate and colour analysis of Malaysian edible bird's nest [online]. Information Processing in Agriculture. 2015, 2(1), 1-5. [viewed 6 December 2017]. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S2214317315000025

CHOU, SHIN-SHOU, JEN-CHIEN CHUNG and DENG-FWU HWANG. A High Performance Liquid Chromatography Method for Determining Nitrate and Nitrite Levels in Vegetables [online]. Journal of Food and Drug Analysis. 2003, 11(3), 233-238. [viewed 6 December 2017]. Available from: https://www.fda.gov.tw/tc/includes/ GetFile.ashx?mID=148&id=8437

ลักษณะตัวอย่างรังนกแดงถ้ำจังหวัดชุมพร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

เรืองดิษฐ์ ม., ชนะคช น., & ธรตีกรธวัฒน์ ว. (2022). การหาปริมาณสารไนไตรท์ในรังนก โดยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนส์ลิควิดโครมาโทกราฟี . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 7(7), 89–94. https://doi.org/10.60136/bas.v7.2018.223