การพัฒนาเครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v9.2020.219คำสำคัญ:
การปรับระดับเมนิสคัส, ความแม่นการวัด, ความเที่ยงการวัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ โดยได้ทำการออกแบบโครงสร้างของชุดควบคุมการปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติ และโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงาน โครงสร้างของเครื่องประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ 3 ส่วนหลัก คือ ชุดจับปิเปตต์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับการจับปิเปตต์ขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 มิลลิลิตร ถึง 100 มิลลิลิตร สามารถควบคุมการปรับระดับ-ขึ้นลงและอัตราเร็วได้ด้วยมอเตอร์ ชุดดูดและปล่อยของเหลวให้เข้าออกปิเปตต์ด้วยมอเตอร์ (Water pump) ที่จะเชื่อมต่อกับโปรแกรมการประมวลภาพแบบ Real time และชุดจับยึดอุปกรณ์ขยายภาพแบบดิจิทัลไมโครสโคปที่เคลื่อนที่ได้ทั้งแนวแกน x, y และ z
ส่วนโปรแกรมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องปรับระดับเมนิสคัสที่นักวิจัยได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเองภายใต้ชื่อ DSS Pipette calibration สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของการควบคุมตำแหน่งของปิเปตต์ด้วยมอเตอร์ การควบคุมการดูดปล่อยของเหลวด้วยปั๊ม การแสดงภาพบนจอคอมพิวเตอร์แบบ Real time เพื่อใช้ตรวจสอบระดับของของเหลว และการควบคุมของเหลวที่ตำแหน่ง Meniscus ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับระดับ Meniscus ให้อยู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้เครื่องปรับระดับเมนิสคัสแบบอัตโนมัติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วิธีการตวงวัดแบบเดิมที่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ พบว่าการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมานี้ให้ผลการวัดปริมาตรของเครื่องแก้วชนิดปิเปตต์ที่มีความแม่นและความเที่ยงของการวัดมากขึ้น (Accuracy and precision) อีกทั้ง ยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากทักษะความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงาน (Human error) ในการปรับระดับเมนิสคัสให้อยู่บนระดับขีดบอกปริมาตร (Meniscus setting) ที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถปรับระดับเมนิสคัสให้อยู่ตำแหน่งขีดบอกปริมาตรได้
References
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก. ราชกิจจานุเบกษา. 21 เมษายน 2547, เล่มที่ 121 ตอนพิเศษที่ 43ง, 40-42.
สุภาณี ดวงธีรปรีชา จิรานุช แจ่มทวีกุล ประภาพรรณ สุขพรรณ์ และปรัชญาพร อินทองแก้ว. การพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมในยาสมุนไพร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, ฉบับพิเศษ, 1 กรกฎาคม–กันยายน , 20-33.
จิตรา ชัยวัฒน์ จิรานุช แจ่มทวีกุล สันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ และปรัชญาพร อินทองแก้ว. ความปลอดภัยของยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2557, กรกฎาคม– กันยายน, 56(3), 123-124.
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง. ราชกิจจานุเบกษา. 14 มิถุนายน 2553, เล่มที่ 127 ตอนพิเศษที่ 74 ง, 46-48.
นิภาภรณ์ ลักษณ์สมยา และจินตนา กิจเจริญวงศ์. การประเมินความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์โปรตีนในผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองโดยการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, ฉบับพิเศษ 1 กรกฎาคม–กันยายน, 54-71.
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุทำจากพลาสติก. ราชกิจจานุเบกษา. 6 มกราคม 2549, เล่มที่ 123 ตอนพิเศษ 1 ง, 10-11, เอกสารแนบท้าย 1-3.
GOETZ, GRETCHEN. BPA Banned from Baby Bottles, Sippy Cups [online]. Food Safety News, 18 July 2012. [viewed 11 June 2016]. Available from: http://www.foodsafetynews.com/2012/07/bpa-banned-from-baby-bottles-sippy-cups/#.V2DPctJ97cs.
อุมา บริบูรณ์, ศศิธร หอมดำรงค์วงศ์ และภัสสะริน สายสุวรรณ. การศึกษาปริมาณ บิสฟีนอล เอ ฟีนอล และ พี-ที-บิวทิลฟีนอล ที่แพร่ออกมาจากขวดนมและภาชนะบรรจุอาหารสำหรับเด็กชนิดพอลิคาร์บอเนตที่สภาวะต่าง ๆ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2558, กรกฎาคม – กันยายน, 57(3), 205-218.
บริษัทตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ. วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลส์ [ออนไลน์]. ฉ.5, พฤษภาคม 2557. [อ้างถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจาก: http://ostc.thaiembdc.org/13th/wp-content/uploads/ 2014/06/05 -May-2014-newsletter_final.pdf
กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร. สิงคโปร์แจ้งเตือนปัญหาสารตกค้างในพืชผักส่งออกจากไทย [ออนไลน์]. 5 กุมภาพันธ์ 2558. [อ้างถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจาก: http://www.doa.go.th/psco/index.php?option=comcontent&view=article&id=234:2015-02-05-13-31-43&catid=42:2010-08-06-04-08-08&Itemid=71.
ผู้จัดการออนไลน์. พบยาฆ่าแมลง-สารเคมีปนเปื้อนสินค้ากว่า 200 รายการ มะกัน-อียูตีกลับ. ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์ [ออนไลน์]. 5 ตุลาคม 2549. [อ้างถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจากhttp://www2.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000124378
BRITISH STANDARD INSTITUTE and EUROPEAN COMMITTEE FOR STANDARDIZATION AND INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. BS EN ISO 4787:2011. Laboratory glassware – volumetric instruments – methods for testing of capacity and for use. 2011.
AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS. ASTM E542-01 (Reapproved 2012). Standard practice for calibration of laboratory volumetric apparatus. 2016.
DEPARTMENT OF SCIENCE SERVICE. CENTER FOR LABORATORY PROFICIENCY TESTING. Final Report 2018 : Calibration of volumetric pipette. 2018.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 648:2008. Laboratory glassware – Single-volume pipettes. 2008.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 835:2007. Laboratory glassware – Graduated pipettes. 2007.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. Technical report ISO/TR 20461:2000. Determination of uncertainty for volume measurements made using the gravimetric method. 2000.
JOINT COMMITTEE FOR GUIDES IN METROLOGY. JCGM 100:2008. Evaluation of measurement Data – Guide to the expression of uncertainty in measurement. 2008.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION/INTERNATIONAL ELECTROTECHNICAL COMMISSION. ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment general requirements for proficiency testing. 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.