The การผลิตกระดาษลูกฟูกเยื่อเวียนทําใหม่จากกล่องกระดาษลูกฟูกเก่า
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.216คำสำคัญ:
เยื่อเวียนทําใหม่, กระดาษกล่องลูกฟูกเก่านําเข้าจากอเมริกา, กระดาษกล่องลูกฟูกเก่าภายในประเทศบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาสภาวะและอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตกระดาษเยื่อเวียนทําใหม่จากกล่องกระดาษลูกฟูกเก่าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสองประเภท คือ American Old Corrugated Container (AOCC) และ Local Old Corrugated Container (LOCC) จากการศึกษาพบว่า เยื่อที่ได้จาก AOCC มี สัดส่วนเส้นใยยาวมากกว่า เยื่อที่ได้จาก LOCC และมีสัดส่วนเส้นใยยาวใกล้เคียงกับเยื่อบริสุทธิ์ Unbleached Softwood Kraft Pulp (UBKP) ส่งผลให้ที่รอบการ บดเท่ากันเยื่อ AOCC ให้ค่าดัชนีความต้านแรงดึง ดัชนีความต้านแรงฉีกขาด และดัชนีความต้านแรงกดวงแหวน สูงกว่าเยื่อ LOCC เมื่อนําเยื่อทั้งสองชนิดมาผสมใน อัตราส่วนที่แตกต่างกันพบว่า อัตราส่วนผสมเยื่อ AOCCLOCC ที่มีอัตราส่วนของเยื่อ AOCC มากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป ให้ค่าดัชนีความต้านแรงดึงสูงกว่า 21.0 kN.m/kg, ดัชนีความต้านแรงฉีกขาดสูงกว่า 10.2 Nm2/kg และความต้านแรงกดวงแหวนสูงกว่า 115 N ดังนั้นจึงสามารถใช้เยื่อจาก AOCC ผสมกับเยื่อจาก LOCC มาผลิตกระดาษเวียนทําใหม่แทนการผสมเยื่อบริสุทธิ์ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต โดยที่สมบัติของกระดาษจากเยื่อเวียนทําใหม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตกล่องกระดาษ สามารถนําผลงานวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อลดต้นทุนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป
References
รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ. ใน: เอกสารการอบรมเรื่องเทคโนโลยีการผลิตเยื่อและกระดาษ รุ่นที่ 2 15-17 มิถุนายน 2542. กรุงเทพฯ ห้องปฏิบัติการเยื่อและกระดาษ กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2542
รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์ และ ธีระชัย รัตนโรจน์มงคล, กระดาษรีไซเคิล. ใน: เอกสารการอบรมเรื่อง เทคโนโลยีการผลิตเยื่อและกระดาษ รุ่นที่ 2 15-17 มิถุนายน 2542. กรุงเทพฯ: ห้องปฏิบัติการเยื่อและกระดาษ กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์
บริการ, 2542
สมชาติ รุ่งอินทร์. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิเคราะห์ทดสอบเบื่อและกระดาษและคําอธิบายศัพท์ที่ใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบ. กรุงเทพฯ: ห้องปฏิบัติการเยื่อและกระดาษ กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2528.
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. T 233 cm-15: Fiber length of pulp by classification.
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. TAPPI T 205 Handsheet forming.
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. T 410 om-08: Grammage of Paper And Paperboard (weight per unit area).
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. T 411 om-10: Thickness (caliper) of Paper, Paperboard, And Combined Board.
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. T 404 cm-92: Tensile Breaking Strength and Elongation of Paper and Paperboard (using Pendulum-type Tester).
TECHNICAL ASSOCIATION OF THE PULP AND PAPER INDUSTRY. Tappi Standard. T 414 om-12: Internal Tearing Resistance of Paper (Elmendorf-Type Method).
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 12192:2011, Paper and board -- Determination of compressive strength -- Ring crush method.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก. 321-2530. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระดาษทําลูกฟูก
CHEN Y., J. WAN, Q. WU, Y. MA and M. HUANG. Effect of recycling on fundamental properties of hardwood and wheat straw pulp fibers, and of handsheets made thereof. Cellulose chemistry and technology, 2016, 50(9-10), 1061-1067.
BIRICIK Y. and C. ATIK. Effect of cellulase treatment of long fiber fraction on strength properties of recycled corrugated medium. African Journal of Biotechnology, 2012, 11(58), 12199-12205.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.