ไนโตรซามีนในถุงมือยางที่ใช้ในงานด้านอาหาร

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ ปิ่นประยูร กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ภัณฑิลา ภูมิระเบียบ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อรสา อ่อนจันทร์ กองเคมีภัณฑ์และอุปภัณฑ์บริโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v9.2020.214

คำสำคัญ:

ไนโตรซามีน, ถุงมือยาง, ยางสัมผัสอาหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารที่ใช้ในการสกัดต่อปริมาณไนโตรซามีนที่เคลื่อนย้ายออกมาจากถุงมือยางมาสัมผัสผู้สวมหรือปนเปื้อนลงในอาหารที่ถูกสัมผัส โดยการวิเคราะห์ไนโตรซามีน 12 ชนิด คือ NDMA, NDEA, NDPA, NDiBA, NDBA, NPIP, NPYR, NMOR, NEPhA, NMPhA, NDiNA, และ NDBzA ในถุงมือยางทางการแพทย์หรือถุงมือยางสำหรับงานบ้านทั่วไปทั้งที่ผลิตจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ไนไตร์ลเพื่อใช้ในงานด้านอาหาร โดยการสกัดด้วยสารละลายน้ำลายเทียม เหงื่อเทียม และสารตัวแทนอาหารที่มีสมบัติเป็นกรดและอัลกอฮอล์ โดยใช้เทคนิค GC-TEA ผลการศึกษาพบว่าเมื่อใช้สารสกัดต่างชนิดกัน ปริมาณไนโตรซามีนที่เคลื่อนย้ายออกจากถุงมือมีปริมาณต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงการพิจารณาว่าถุงมือยางมีปริมาณไนโตซามีนเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดด้านความปลอดภัยของสหภาพยุโรปหรือไม่ และเมื่อสกัดถุงมือในสภาวะจำลองที่คาดว่าไนโตรซามีนจะเคลื่อนย้ายออกมาได้มากที่สุดพบว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของไนโตรซามีนลงในอาหาร ในขณะที่ผู้สวมถุงมือก็มีโอกาสได้รับไนโตรซามีนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่อาจเป็นอันตราย ดังนั้นการใช้ถุงมือยางในงานด้านอาหารควรเลือกใช้ถุงมือชนิดที่ได้รับการทดสอบคุณภาพว่าปลอดภัยสำหรับใช้งานด้านอาหารแล้วเท่านั้น

References

FENG, DI, et al. Detection and toxicity assessment of nitrosamines migration from latex gloves in the Chinese market. Int. J. Hyg. Environ. Health. 2009, 212, 533-540.

FENG, DI, et al. Evaluation of simulant migration of volatile nitrosamines from latex gloves and balloons by HS-SPME–GC–MS. J. Chromatogr. Sci. 2012, 50, 733-738.

FIDDLER W, J.W. PENSABENE and W.I. KIMOTO. Investigation of volatile nitrosamines in disposable protective gloves. Am. Ind. Hyg. Assoc. J. 1985, 46(8), 463-465.

Commission Directive 93/11/EEC [online]. March, 1993. [viewed 4 March 2020]. Available from: https://eurlex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX%3A31993L0011

EUROPEAN COMMITTEE FOR STANDARDIZATION. EN 12868:2017. Child use and care articles-Methods for determining the release of N-nitrosamines and N-nitrosatable substances from elastomer or rubber teats and soothers. 2017.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 29941:2010. Condoms-Determination of nitrosamines migrating from natural rubber latex condoms. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization (ISO). 2010.

EUROPEAN COMMITTEE FOR STANDARDIZATION. EN 71-12:2013. Safety of toys Part 12 : N-nitrosamines and N-nitrosatable substances. 2013.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 105-E04:2013. Textiles - Tests for colour fastness-Part E04 Colour fastness to perspiration. Geneva, Switzerland : International Organization for Standardization (ISO). 2013.

Risk assessment of N-nitrosamines in balloon [online]. April, 2002. [viewed 4 March 2020]. Available from: https://mobil.bfr.bund.de/cm/349/risk_assessment_of_n_nitrosamines_in_balloons.pdf

ปริมาณ NDBA และสารที่สามารถเปลี่ยนรูปเป็น NDBA ได้จากการสกัดด้วยสารละลายชนิดต่าง ๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ปิ่นประยูร อ., ภูมิระเบียบ ภ., & อ่อนจันทร์ อ. . (2022). ไนโตรซามีนในถุงมือยางที่ใช้ในงานด้านอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 9(9), 49–57. https://doi.org/10.60136/bas.v9.2020.214