การพัฒนาวัตถุดิบแก้วกึ่งสําเร็จรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหลอมแก้ว

ผู้แต่ง

  • กนิษฐ์ ตะปะสา กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เอกรัฐ มีชูวาศ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.213

คำสำคัญ:

แกรนูล, วัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูป, การหลอมแก้ว

บทคัดย่อ

การลดพลังงานในการหลอมแก้วสามารถทําได้โดยการการปรับปรุงวัตถุดิบแก้วให้มีความสามารถในการหลอมตัวเป็นเนื้อแก้วที่เร็วขึ้น โดยการแทนที่ด้วย วัตถุดิบที่มีค่าเอนทัลปีต่ํา (Low-enthalpy batch) หรือการใช้วัตถุดิบเดิมแต่เปลี่ยนสภาพโดยการผสมวัตถุดิบให้จับตัวเป็นเม็ดและให้ความร้อนขั้นต้นแก่วัตถุดิบ (pre-heating) ในที่นี้จะขอเรียกว่า “วัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูป” ซึ่งสามารถลดพลังงานในการหลอมได้เนื่องจากไม่ต้องใช้พลังงานในปฏิกิริยาขั้นต้น (pre-reaction) เพื่อ ไล่ความชื้นและ ก๊าซ CO2 ในวัตถุดิบออก นอกจากนั้นระยะเวลาที่ใช้หลอมลดลง เนื่องจากผิวสัมผัสของวัตถุดิบเพิ่มขึ้นและสมบัติการนําความร้อน (heat conductivity) ของวัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูปดีกว่าการใช้วัตถุดิบแก้วที่เป็นผง (loose powder) ทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาระหว่างวัตถุดิบจึงเร็วขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การผลิตวัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูป โดยนําวัตถุดิบที่ผ่านการบดมาขึ้นรูปเป็นเม็ดแกรนูลโดยใช้ตัวประสาน (binder) ชนิด Na-CMC โดยหาความหนืดของตัวประสานที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของ Na-CMC ที่เหมาะสมในการขึ้นรูป Na-CMC 25 กรัม ต่อน้ำ 1000 มิลลิลิตร และจากการทดลองเปรียบเทียบความสามารถ ในการหลอม พบว่าวัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูปหลอมได้เร็วกว่าวัตถุดิบแก้วแบบผง โดยขนาดเม็ดวัตถุดิบกึ่งสําเร็จรูปที่ใหญ่มีแนวโน้มหลอมได้เร็วกว่าเม็ดเล็ก

References

PINCUS, A. G. and D. H. DAVIES. Batching in the glass industry. New York: Books for Industry and the Glass Industry Magazine, 1981, pp.67-70.

BEERKENS, R. Analysis of elementary process steps in industrial glass melting tanks - Some ideas on innovations in industrial glass melting. Ceramics - Silikaty. 2008, 52(4), 206-217.

ENGELLEITNER, W.H. Pellets cut cost, improve quality. In: A.G. PINCUS and D. H. DAVIES. Batching in the glass industry. New York: Books for Industry and the Glass Industry Magazine, 1981, pp.67-70.

BALL CORPORATION. Rapid strength development in compacting glass batch materials. S.A. BYERS, J.R. MCKEE and M.C. GRIDLEY. Int.Cl. C03C 3/04. US Pat. 4,236,929. 1980-12-02.

CHENG, J, and Z, DENG. Decomposition kinetics of granulated glass batch. Journal of Non-Crystalline Solids. 2012, 358(23), 3294-3298.

การหลอมวัตถุดิบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ตะปะสา ก., & มีชูวาศ เ. (2022). การพัฒนาวัตถุดิบแก้วกึ่งสําเร็จรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหลอมแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 97–100. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.213