การสํารวจความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการสีเขียวของผู้ทํางานในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ปวีณา เครือนิล กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนันตณัฐ กันต์ธัญญรัตน์ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ลัดดาวัลย์ เยียดยัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.210

คำสำคัญ:

ห้องปฏิบัติการสีเขียว, ห้องปฏิบัติการที่ยั่งยืน, ห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

ห้องปฏิบัติการสีเขียวเป็นแนวคิดในการจัดทําห้องปฏิบัติการขององค์กรให้มีความปลอดภัยและยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวของบุคลากรภายในองค์กรเป็นองค์ประกอบที่สําคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาห้องปฏิบัติการ สีเขียว กรณีศึกษานี้เป็นการสํารวจบุคลากรที่ทํางานในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในภาพรวมเกี่ยวกับ ห้องปฏิบัติการสีเขียว การใช้สารเคมีและการจัดการทรัพยากรในห้องปฏิบัติการ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาห้องปฏิบัติการสีเขียว ผลการสํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 262 คน พบว่า บุคลากรขององค์กรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในหลักการของห้องปฏิบัติการสีเขียว แต่ผลการประเมินโดยใช้ข้อคําถาม ที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า บุคลากรยังมีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับการจัดการห้องปฏิบัติการสีเขียวในบางด้าน โดยเฉพาะในด้านการจัดการสารเคมีเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การพัฒนาห้องปฏิบัติการสีเขียวขององค์กรดังกล่าว ควรผลักดันให้มีการเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการสีเขียวโดยเริ่มต้นด้วยเรื่องการจัดการสารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจแนวปฏิบัติสีเขียวสําหรับการทํางาน ในห้องปฏิบัติการ และรณรงค์ให้มีการนําแนวปฏิบัติมาใช้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่เป็นสีเขียว ตลอดจนเป็นบุคลากรคุณภาพที่ช่วยในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาห้องปฏิบัติการขององค์กรให้มีความยั่งยืนต่อไป

References

Mercury Poisoning Fatality in Laboratory [online]. 1997 [viewed 7 February 2017]. Available

from: http://www.ehs.ucsb.edu/files/docs/ls/mercury_poisoning.pdf

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4699 (พ.ศ. 2558) เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เล่ม 1: ข้อกําหนด. ราชกิจจานุเบกษา 23 กันยายน 2558. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 229 ง.

International Institute for Sustainable Laboratories [online]. 2017 [viewed 9 February 2017]. Available from: http://www.i2sl.org/

Green Labs @ Penn [Online]. 2012 [viewed 29 July 2015]. Available from: http://www.upenn.edu/sustainability

ENVIR 480 Sustainability Studio. Green Labs, Autumn 2012. GREEN LABS UNIVERSITY OF WASHINGTON [online]. 2012 [viewed 9 February 2017]. Available from: https://green.uw.edu/sites/default/files/green_lab/FINAL%20DRAFT%20NEWSLETTER%20

REDUCED%20SIZE9620(2).pdf

Labs21 Environmental Performance Criteria 3.0 [online]. 2010 [viewed 7 February 2017]. Available

from: http://www.i2sl.org/documents/toolkit/epc_3-0_508.pdf

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. สํานักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ. รายงานโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การสํารวจทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคมี ต่อการจัดการห้องปฏิบัติการสีเขียวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรม, 2559.

ประไพพิศ แจ่มสุกใส เทอร์ใน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร การออกแบบห้องปฏิบัติการเคมีเพื่อความปลอดภัย วันที่ 29 - 30 เมษายน 2557 ณ สํานักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ. กรุงเทพฯ : กรม, 2557.

ศุภวรรณ ตันตยานนท์. Green Chemistry ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เอสทีซี มีเดีย แอนด์ มาเก็ตติ้ง. 2554. 156 หน้า

My green lab [online]. 2017 [viewed 8 February 2017]. Available from: http://www.mygreenlab.org/

ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

เครือนิล ป., ไพบูลย์พานิช อ., กันต์ธัญญรัตน์ อ., เยียดยัด ล., & เชาวน์ศรีหมุด ด. (2022). การสํารวจความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการสีเขียวของผู้ทํางานในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมีของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 73–79. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.210