A การพัฒนาแผ่นรองเผาจากวัสดุเหลือทิ้ง

ผู้แต่ง

  • วรรณา ต.แสงจันทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ศันสนีย์ รักไทยเจริญชีพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จุติภา บุญวิเศษ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุทธิมา ศรีประเสริฐสุข กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.209

คำสำคัญ:

เถ้าชานอ้อย, คอร์เดียไรต์, แผ่นรองเผา

บทคัดย่อ

เถ้าชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งของโรงงานน้ำตาล เนื่องจากเถ้าชานอ้อยมี SIO2 สูง และมี AL203 จึงนํามาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นแทนดิน และอะลูมินา เพื่อทํา แผ่นรองเผา โดยการสังเคราะห์คอร์เดียไรต์จากส่วนผสมของเถ้าชานอ้อย ดินขาว อะลูมินา และแมกนีไซด์ เผาที่อุณหภูมิ 1250 °C และ 1300 °C จากนั้นคัดเลือก สูตรที่เกิดคอร์เดียไรต์สูงสุด และไม่มีเฟสอื่นปนมา นํามาเตรียมชิ้นงาน โดยใช้ผงถ่านขนาดหยาบ (-35+50 เมซ) หรือขนาดละเอียด (-200+325 เมช) เป็นตัวช่วยให้เกิดความพรุนตัวในสัดส่วน 5 10 และ15 ตามลําดับ บดส่วนผสมให้เข้ากัน เตรียมเป็นแกรนูลขนาด -35+50 เมช ขึ้นรูปเป็นชิ้นทดสอบ ด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิค ใช้แรงอัด 50 kg/cm2 และ 180 kg/cm2 เผาในเตาไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 1250 °C พบว่าสูตรที่มีเถ้าชานอ้อยร้อยละ 46 ดินขาวร้อยละ11 อะลูมินาร้อยละ 14 และแมกนีไซด์ร้อยละ 29 ผงถ่านละเอียด 10 ส่วน ใช้แรงอัด 50 kg/cm2 ให้ค่าความหนาแน่นบัลค์ 1.94 g/cm3 รูพรุนปรากฏ ร้อยละ 29.9 ความแข็งแรง 22.2 MPa และสัมประสิทธิ์การขยายตัวเมื่อร้อน 4.09 x10 °C ตามลําดับ จึงได้เลือกไปทําผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และนําไปทดสอบสมบัติเปรียบเทียบกับแผ่นรองเผาที่มีจําหน่าย ในท้องตลาด 3 ยี่ห้อ พบว่าแผ่นรองเผาที่มีจําหน่ายในท้องตลาด มีค่าความหนาแน่นระหว่าง 1.84-2.20 g/ cm3 ความพรุนตัวระหว่างร้อยละ 20.0-27.0 ความแข็งแรง ระหว่าง 10.7-15.0 MPa และสัมประสิทธิ์การขยายตัวเมื่อร้อน ระหว่าง 2.50-3.63 x10-6/c

References

TEIXEIRA, S.R., A.E.DE SOUZA, G.T. DE ALMEIDA SANTOS, A. F. VILCHE PEÑA and Á.G. MIGUEL. Sugarcane Bagasse ash as a potential quartz replacement in red ceramic. J. Am. Ceram. Soc. 2008, 916), 1883–1887.

FARIA, K.C.P., R.F. GURGEL and J.N.F. HOLANDA. Recycling of sugarcane bagasse ash waste in the production of clay bricks, Journal of Environmental Management. 2012, 101(30), 7-12.

SOUZA, A.E., S.R. TEIXEIRA, G.T.A. SANTOS, F.B. COSTA and E. LONGO. Reuse of sugarcane bagasse ash (SCBA) to produce ceramic materials. Journal of Environmental Management. 2011, 92(10), 2774-2780.

วรรณา ต.แสงจันทร์ และคณะ. การสังเคราะห์คอร์เดียไรต์จากเถ้าชานอ้อย. Bulletin of Applied Sciences, 2014, 3(3), 9-14.

SCHEFFER, MICHAEL and PAOLO COLOMBO. Cellular ceramics structure, manufacturing, properties and applications. Weinheim: Wiley-VCH, 2005, pp. 158-175.

STUDART, ANDRÉ R., URS T. GONZENBACH, ELENA TERVOORT and LUDWIG J. GAUCKLER. Processing routes to macroporous ceramics: A review. J. Am. Ceram. Soc. 2006, 89(6), 1771-1789.

ZHANG FANG, CHANG-XING QI, SHENGJUN WANG, JIN-HUAI LIU and HONG CAO. A study on preparation of cordierite gradient pores porous ceramics from rectorite. Solid State Sciences. 2011, 13(5), 929-933.

ผลิตภัณฑ์ก่อนเผา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

ต.แสงจันทร์ ว., รักไทยเจริญชีพ ศ., บุญวิเศษ จ., & ศรีประเสริฐสุข ส. (2022). A การพัฒนาแผ่นรองเผาจากวัสดุเหลือทิ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 65–72. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.209