การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการพัฒนาฟิล์มอนินทรีย์/อินทรีย์เคลือบผิวอะลูมิเนียมอัลลอย A5083 เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน

ผู้แต่ง

  • อุสุมา นาคนิคาม กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อิสรีย์ ยังถิน กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • กนิษฐ์ ตะปะสา กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v9.2020.206

คำสำคัญ:

ไฮบริดโซล-เจล, การกัดกร่อน, อะลูมิเนียมอัลลอย, ผิวเคลือบอัจฉริยะ

บทคัดย่อ

อะลูมิเนียมอัลลอยเกรด A5083 นิยมใช้ในอุตสาหกรรมนอกชายฝั่งทะเลเนื่องจากมีสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนสูง โดยอะลูมิเนียมอัลลอยสร้างฟิล์มออกไซด์ขึ้นมาปกป้องตัวเองจากการถูกกัดกร่อนได้ อย่างไรก็ตาม การใช้งานภายใต้สภาวะที่ต้องสัมผัสอยู่กับแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นเวลานานและต่อเนื่อง เช่น ในน้ำทะเลที่มีคลอไรด์ ฟลูออไรด์ไอออน และภายใต้สภาวะที่มีความเป็นด่าง สามารถทำให้เกิดความเสียหายของฟิล์มออกไซด์ได้ การเคลือบผิวอะลูมิเนียมอัลลอยด้วยฟิล์มบางชนิดอนินทรีย์/อินทรีย์ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของอะลูมิเนียมอัลลอย ดังนั้นงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาอิทธิพลของชนิดและปริมาณของสารอินทรีย์และปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการเตรียมฟิล์มชนิดอนินทรีย์/อินทรีย์สำหรับเคลือบผิวอะลูมิเนียมอัลลอยต่อสมบัติความทนทานต่อการกัดกร่อนภายใต้สภาวะที่เป็นด่าง ฟิล์มผสมนี้เตรียมด้วยกระบวนการโซล-เจลโดยการผสมสารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ TEOS (Tetraethyl orthosilicate) และสารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ AEAPS (3-(2-Aminoethyl)aminopropyl trimethoxysilane) AMEO (3-Aminopropyl triethoxysilane) GPTMS (3-Glycidoxypropyl trimethoxysilane) MTMS (Methyl trimethoxysilane) และ OTES (Octyltriethoxysilane) ในอัตราส่วนสารอนินทรีย์ต่อสารอินทรีย์ 100:0 90:10 80:20 70:30 และ 60:40 โดยปริมาตร รวมถึงปริมาณโมลของ TEOS ต่อน้ำที่ 1:1 1:2 1:3 1:4 1:5 1:6 1:7 และ 1:8 พบว่าฟิล์มสูตร 806TOT ที่เตรียมจาก TEOS:OTES อัตราส่วน 80:20 และ TEOS ต่อ น้ำ อัตราส่วน 1:6 มีสมบัติความไม่ชอบน้ำเพิ่มขึ้น โดยให้ค่ามุมสัมผัสที่มากที่สุด 103.09±0.35º และผลการทดสอบทดสอบการกัดกร่อนของโลหะด้วยเครื่องวัดอัตราการกัดกร่อนทางไฟฟ้าเคมี (potentiodynamic technique) ในสารละลาย NaCl ความเข้มข้น 3.5 wt% ตัวอย่างสูตร 806TOT มีอัตราการกัดกร่อนน้อยที่สุด คือ 0.78 x 10-3 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งอัตราการทนทานต่อกัดกร่อนนี้ดีกว่าอะลูมิเนียมอัลลอยที่ไม่มีการเคลือบผิวถึง 50 เท่า

References

YUE, J. and Y. CAO. Corrosion prevention by applied coatings on aluminium alloys in corrosive environments. International Journal of Electrochemical Science. 2015, 10, 5222 – 5237.

NAJAFABADI, A. H., R. MOZAFFARINIA, H RAHIMI, R. S. RAZAVI and E. PAIMOZD. Mechanical property evaluation of corrosion protection sol–gel nanocomposite coatings. Journal Surface Engineering. 2013, 29 (4), 249-254.

WANG, D. and G. P. BIERWAGEN. Sol-gel coatings on metals for corrosion protection, progress in organic coatings. Progress in Organic coatings. 2009, 64, 327-338.

SANTANA, I., A. PEPE, E. JIMENEZ-PIQUE, S. PELLICE and S. CERÉ. Silica-based hybrid coatings for corrosion protection of carbon steel.Part I: Effect of pretreatment with phosphoric acid. Surface and Coatings Technology. 2013, 236, 476-484.

PURCAR, V., O. L. CINTEZA, M. GHIUREA, A. BALAN, S. CAPRARESCU and D. DONESCU. Influence of hydrophobic characteristic of organo-modified precursor on wettability of silica film. Bulletin of Materials Science. 2014, 37(1),107-115.

AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS. ASTM G102-89.Standard practice for calculation of corrosion rates and related information from electrochemical measurements. 1989.

AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS. ASTM G1. Standard practice for preparing, cleaning, and evaluating corrosion test specimens.

BI, P., H. LI, G. ZHAO, M. RAN, L. CAO, H. GUO and Y. XUE. Robust super-hydrophobic coating prepared by electrochemical surface engineering for corrosion protection. Coatings, 2019, 9, 452.

MUSGO, J., J. C. ECHEVERRÍA, J. ESTELLA, M. LAGUNA and J. J.GARRIDO. Ammonia-catalyzed silica xerogels: Simultaneous effects of pH, synthesis temperature, and ethanol:TEOS and water:TEOS molar ratios on textural and structural properties. Microporous and Mesoporous Materials, 2009, 118(1–3), 280-287.

WIDATI, A. A., N. NURYONO and I. KARTINI. Water-repellent glass coated with SiO2–TiO2–methyltrimethoxysilane through sol–gel coating. AIMS Materials Science. 2019, 6(1),10–24.

WANG, S. and S. LUO, Fabrication of transparent superhydrophobic silica-based film on a glass substrate. Applied Surface Science. 2012, 258, 5443– 5450.

GEILS, J., G. PATZELT and A. KESEL. The larger the contact angle, the lower the adhesion?. Conference: Bionik: Patente aus der Natur. Innovationspotenziale für Technologieanwendungen 9. Bremer Bionik-Kongress, Bremen, Germany, January 2019.

SUROWSKA, B., M.OSTAPIUK, P.JAKUBCZAK and M. DROŹDZIEL. The durability of an organic–inorganic sol–gel interlayer in Al-GFRP-CFRP laminates in a saline environment. Materials (Basel). 2019, 12(15), 2362.

ลักษณะหยดน้ำบนพื้นผิวอะลูมิเนียมอัลลอย Al A5083 และ อะลูมิเนียมอัลลอยที่เคลือบด้วยฟิล์มเคลือบด้วยฟิล์ม TEOS (100T)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

นาคนิคาม อ., ยังถิน อ., & ตะปะสา ก. (2022). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการพัฒนาฟิล์มอนินทรีย์/อินทรีย์เคลือบผิวอะลูมิเนียมอัลลอย A5083 เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 9(9), 38–48. https://doi.org/10.60136/bas.v9.2020.206