การศึกษาเบื้องต้นของประสิทธิภาพสารกรองสารหนูจากดินขาวสําหรับน้ำเพื่อบริโภค

ผู้แต่ง

  • อาภาพร สินธุสาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นงลักษณ์ บรรยงวิมลณัฐ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อังสนา ฉั่วสุวรรณ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เมธี ครองพงษ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.204

คำสำคัญ:

สารกรองสารหนู, ดินขาว, น้ำเพื่อบริโภค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นของการนํา “ดินขาว (Kaolin)” ซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่มีจํานวนมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมาประยุกต์ใช้เป็นสาร กรองน้ำสําหรับกําจัดสารหนูทดแทนแอคติเวตเตตอะลูมินาซึ่งมีราคาแพงและต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ดินขาวมีโครงสร้างทางเคมีเป็นอะลูมิโนซิลิเกต (AL203.2SIO2.2H20; 39.5 : 46.5 : 14) มีคุณสมบัติเป็นสีขาวก่อนเผาและหลังเผา มีความทนไฟสูง ความแกร่งหลังเผาสูง เมื่อผ่านกระบวนการกระตุ้นด้วยความร้อนจะมีคุณสมบัติในการจับไอออนลบในน้ำได้ตามสภาพความเป็นกรด-เบส ของน้ำ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของสารกรองจากดินขาวสําหรับดูดซับสารหนูในน้ำ ที่เตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารกรองสูตรที่ 1 (ดินขาว 10096) เผาด้วยเตาไฟฟ้าในสภาวะที่ 1 (ที่อุณหภูมิ 200 °ซ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อุณหภูมิ 400 °ซ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และอุณหภูมิ 600 °ซ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ตามลําดับ) มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารหนูได้ดีที่สุด ซึ่งประสิทธิภาพการดูดซับสารหนูจะขึ้นกับ ปริมาณและระดับความสูงของสารกรอง สารกรองที่ผลิตขึ้นสามารถนํากลับมาใช้งานใหม่ได้โดยการฟื้นฟูสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCI) ความเข้มข้นอย่างละ 0.1 N. ตามลําดับ แต่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ตลอดอายุการใช้งานของสารกรองปริมาตร 3.5 ลิตร สามารถผลิตน้ำบริโภคตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภค (สารหนูไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร) ได้จํานวน 400 ลิตร ดังนั้นการศึกษาเบื้องต้นนี้สามารถใช้เป็น แนวทางในการวิจัยดินขาวเพื่อผลิตเป็นสารกรองสารหนูจากธรรมชาติสําหรับใช้ในเครื่องกรองน้ำเพื่อบริโภคต่อไปได้

References

AWWA RESEARCH FOUNDATION. Adsorbent Treatment Technologies for Arsenic Removal. 2005, 1-3.

NICOMEL, N.R. Technologies for Arsenic Removal from Water: Current Status and Future Perspectives. Int. J. Environ. Res. Public Health. 2016, 13(1), 62.

HAMANO, S., Method for treatment of water containing organic arsenic compounds and agents for precipitation of organic arsenic compounds. Jpn. Kokai Tokkyo Koho. 2008, 9.

GUO, H., Preparation of high-performance arsenic-removing composite adsorbent and its application method in arsenic removal from drinking water. Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu. 2008, 4.

LUAN, Z., et al. Application of iron modified red mud as arsenic-removing adsorbent. Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu. 2008, 5.

LE, B.T., et al. Study on preparation of cerium oxide nanoparticle medified diatomaceous earth material and application for arsenic treatment in water. Tap Chi Phan Tích Hoa, Ly Và Sinh Hoc. 2011, 14(1), 12-17.

ADDO, N.S., et al. Removal of Trace Arsenic To Meet Drinking Water Standards Using Iron Oxide Coated Multiwall Carbon Nanotubes. Journal of Chemical & Engineering Data. 2011, 56(5), 2077-2083.

นวลอนงค์ ศรีพงษ์. 2552. การวิจัยและพัฒนาดินขาวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. มกราคม 2535, 40 (128), 21-23.

Report of the AD HOC working group on the technological assessment of natural mineral water treatments on the evaluation of treatment by aluminium oxide for the removal of fluoride from mineral waters and spring waters. 30 March 2006.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก. 257-2549. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค.

ท่อกรอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

สินธุสาร อ., บรรยงวิมลณัฐ น., ฉั่วสุวรรณ์ อ. ., & ครองพงษ์ เ. . (2022). การศึกษาเบื้องต้นของประสิทธิภาพสารกรองสารหนูจากดินขาวสําหรับน้ำเพื่อบริโภค . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 44–50. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.204