การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารละลายเจือจางต่อการนับจํานวนเชื้อราที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.203คำสำคัญ:
เครื่องเทศ, เชื้อรา, สารละลายเจือจาง, สารทําให้เป็นกลาง, สมบัติต้านการเจริญของเชื้อราบทคัดย่อ
การปนเปื้อนเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศเป็นปัญหาสําคัญของการพัฒนาคุณภาพอาหารไทย เครื่องเทศมีสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อราทําให้การทดสอบเชื้อราได้ผลที่ไม่ถูกต้อง จึงได้พัฒนาวิธีทดสอบหาปริมาณเชื้อราในตัวอย่างเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ โดยการเปรียบเทียบสูตรสารละลายเจือจาง สําหรับเจือจางตัวอย่างที่สามารถทําให้สมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อราของเครื่องเทศเป็นกลางได้ จํานวน 5 สูตร [F1 (Bacteriological peptone 1 g/1, Tween 80 30 mVM, L-00-Phosphatidylcholine : Lecithin 0.7 g/L) , F2 (Bacteriological peptone 1 g/1, Tween 80 5mV1, L-0-Phosphatidylcholine: Lecithin 7 g/1, Sodium thiosulfate 6g/1, Sodium bisulfate 2.5g/), F3 (Fluid casein digest soya lecithin medium เติม polysorbate 20 40 mL), F4 (L-Histidine 1 g/1, Tween 80 30 mVL, LI-Phosphatidylcholine 3 g/L) and E5 (D/E Neutralizing broth (Himedia)] ที่มีต่อการเจริญของโคโลนี เชื้อราบนอาหารเลี้ยงเชื้อ dichloran rose-bengal chloramphenicol agar (DRBC) โดยใช้ตัวอย่างเครื่องเทศ 12 ตัวอย่าง คือ พริกแห้ง (2 ตัวอย่าง) พริกไทย (2 ตัวอย่าง) กานพลู (2 ตัวอย่าง) ขมิ้นชัน (1 ตัวอย่าง) โป๊ยกั๊ก (2 ตัวอย่าง) ลูกผักชี (1 ตัวอย่าง) และอบเชย (2 ตัวอย่าง) และผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ 5 ตัวอย่าง คือ พริกแกงเขียวหวาน พริกแกงมัสมั่น พริกแกงเผ็ด พริกแกงเหลือง และพริกแกงกะหรี่ รวม 17 ตัวอย่าง พบว่าสารละลายเจือจางสูตร F4 หรือ F5 สามารถลดผลกระทบจากสมบัติการยับยั้งการเจริญของเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศได้ดีที่สุด โดยให้ค่าเฉลี่ยจํานวนโคโลนีเชื้อราสูงกว่าสารละลายเจือจาง 0.196 peptone (ตัวควบคุม) อย่างมีนัยสําคัญ ดังนั้นการใช้สารละลายเจือจางสูตร F4 หรือ F5 ร่วมกับอาหารเลี้ยงเชื้อ DRBC agar เป็นวิธีทดสอบที่เหมาะสมในการตรวจนับเชื้อราในเครื่องเทศและผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ
References
เอกรินทร์ ภัทรธนวดี, จิตศิริ ทองสอน, วราภา มหากาญจนกุล และ เพ็ญแข วันไชยธนวงศ์. ประสิทธิภาพสารต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดเครื่องเทศต่อจุลินทรีย์ก่อโรคและจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย. เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ, 2549, 297-307.
Beuchat L.R. and D. A. Golden. Antimicrobials occurring naturally in foods. Food Technology. 1989, 43, 134-142.
ฐิตินันท์ บัวบาน. ชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ในเครื่องเทศและการเหลือรอดของจุลินทรีย์ในระหว่างการแปรรูปน้ำพริกตาแดงและการเก็บรักษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552
ดวงจันทร์ สุขประเสริฐ และ วนิดา ยุรญาติ. สารพิษอะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศ. วารสารสุขาภิบาลอาหาร, 2545, 4(2), 33-37.
อดิพล ดิลกพิม. ราและอะฟลาทอกซินในน้ำพริกแกงและเครื่องเทศที่เป็นองค์ประกอบ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546.
USP. Microbiological Examination of Nonsterile Products: Microbial Enumeration Tests [online]. [viewed 11 February 2017]. Available from: https://hmc.usp.org/sites/default/files/documents/HMC/GCS-Pdfs/c61.pdf
JAYASHREE T. and C. SUBRAMANYAM. Antiaflatoxigenic activity of eugenol is due to inhibition of lipid peroxidation. Letters Applied Microbiology. 1999, 28, 179-183.
CRISTIANE B.S., S.S. GUTERRES, V. WEISHEIMER and E.S. ELFRIDES SCHAPOVAL. Antifungal activity of the lemongrass oil and citral against Candida spp. The Brazilian Journal of Infectious Diseases. 2008, 12(1), 63-66.
DARUGHE F., M. BARZEGAR and M. A. SAHARI. Antioxidant and antifungal activity of Coriander (Coriandrum sativum L.) essential oil in cake. International Food Research Journal. 2012, 19(3), 1253-1260.
BHATT MEHUL K, M.B. SHANJAR, K. SALUJA AJAY, D. KISHOR AND A.D. CAPTAIN. Evaluation of anti-microbial activity of Ocimum sanctum methanolic extract. Journal of Pharmaceutical and Scientific Innovation. 2012, 39-41.
SHIVA RANI S.K., NI SAXENA AND UDAYSREE. Antimicrobial activity of black pepper (Piper nigrum L.) Global Journal of Pharmacology. 2013, 7(1), 87-90.
TAJKARIMI, M.M., S.A. IBRAHIM AND D.O. CLIVER. Review antimicrobial herb and spice compounds in food. Food Control. 2010, 21, 1199-1218.
APISARIYAKUL A., N. VANITTANAKOM AND D. BUDDHASUKH. Antifungal activity of tumeric oil extracted from Curcuma longa (Zingiberaceae). Journal of Ethnopharmacol. 1995, 49, 163-169.
RATTANACHAIKUNSOPON P. AND PHUMKHACHORN P. Shallot (Allium ascalonicum L.) oil: diallyl sulfide content and antimicrobial activity against food-borne pathogenic bacteria. African Journal of Microbiology Research. 2009, 3, 747-750.
SEDEF N.E., N. KARAGOZLU, S. KARAKAYA AND S. SAHIN. Antioxidant and antimicrobial activities of essential oils extracted from Laurus nobilis L. leaves by using solvent-free microwave and hydrodistillation. Food and Nutrition Sciences. 2014, 5, 97-106.
KOCIĆ-TANACKOV S. D. AND G. R. DIMIĆ. Antifungal activity of essential oils in the control of food-borne fungi growth and mycotoxin biosynthesis in food. Microbial pathogens and strategies for combating them: science, technology and education. 2013, 838-849.
SCOTT V.W.S., W.P. DAVID, R. STEPHEN AND K.B. DANIEL. Validation of microbial recovery from disinfectants. Journal of Pharmaceutical Science and Technology. 2002, 56(5), 255-266.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 21149: 2006. Cosmetics - Microbiology of Enumeration and detection of aerobic mesophilic bacteria.
INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 16212: 2008. Cosmetics -- Microbiology - Enumeration of yeast and mould.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.